การพิจารณาธรรมคุณในพระพุทธศาสนา GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 154
หน้าที่ 154 / 270

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงธรรมคุณในพระพุทธศาสนาที่สำคัญ รวมถึงความหมายและความสำคัญของแต่ละธรรมคุณ เช่น สนฺทิฏฐิโก ที่หมายถึงการที่ผู้ปฏิบัติสามารถเห็นได้เองว่าเป็นเรื่องจริง หรือ อกาลิโก ที่แสดงถึงผลของการปฏิบัติที่ไม่จำกัดเวลา นอกจากนี้ยังมีการพูดถึง เอหิปสฺสิโก ที่เชิญชวนให้คนมาเห็นและลองพิสูจน์เอง และ โอปนยิโก ที่ชี้ชวนให้แต่ละคนเข้าถึงและนำเอาความดีเข้ามาในชีวิตของตน ทั้งหมดนี้ช่วยให้เข้าใจถึงการปฏิบัติตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ดียิ่งขึ้น การรู้จักและเข้าใจธรรมคุณเหล่านี้จึงนำไปสู่ชีวิตที่ดีขึ้นแต่ละด้าน

หัวข้อประเด็น

-ธรรมคุณ
-สนฺทิฏฐิโก
-อกาลิโก
-เอหิปสฺสิโก
-โอปนยิโก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พิจารณาดูให้ดีจะเห็นว่า ธรรมเหล่านี้ ผู้ใดประพฤติได้จะให้ผลดีไม่เฉพาะแต่ทางธรรม แม้ในทางโลกก็ อำนวยผลดีให้แก่ผู้ปฏิบัติเหมือนกัน 2) อธิบายธรรมคุณบทว่า สนฺทิฏฐิโก สนฺทิฏฐิโก แปลว่า ผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง เรื่องธรรมนั้นใครที่ปฏิบัติ คนนั้นจะเห็นได้เอง เหมือน กับนักวิทยาศาสตร์ทดลองเรื่องอะไร เขาก็เห็นได้ด้วยตัวเขาเอง เมื่อเราใช้กล้องจุลทรรศน์ดูเชื้อโรค เราก็ เห็นได้ด้วยตาเราเอง คนที่ไม่ได้ดูก็ไม่อาจเห็นได้ แต่ สนฺทิฏฐิโก ในที่นี้หมายเอาการเห็นด้วยธรรมจักษุของ พระธรรมกายเป็นหลัก 3) อธิบายธรรมคุณบทว่า อกาลิโก อกาลิโก แปลว่า ไม่ประกอบด้วยกาล ผู้ใดปฏิบัติ ผู้นั้นย่อมได้รับผลเสมอโดยไม่มีจำกัดเวลาว่า มีเขตเพียงนั้นเพียงนี้ ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้แลจึงอยู่โดยชอบ โลกไม่พึง ว่างเปล่าจากพระอรหันต์ทั้งหลาย นอกจากนี้พระธรรมนั้นเป็นสัจธรรมที่เป็นจริงทุกสมัยต่างกับความรู้ทางโลกที่มักเปลี่ยนไปตาม กาลเวลา เพราะเป็นความรู้ที่ไม่สมบูรณ์ เช่น ชาวโลกเคยเชื่อกันว่า ของเบาจะตกถึงพื้นช้ากว่าของหนัก แต่เมื่อเห็นก้อนตะกั่วหนัก 20 ปอนด์ และ 10 ปอนด์ของกาลิเลโอตกถึงพื้นพร้อมกัน ณ หอเอนแห่งเมือง ปิซา ความเชื่อเดิมจึงถูกยกเลิกไป เป็นต้น 4) อธิบายธรรมคุณบทว่า เอหิปสฺสิโก เอหิปสฺสิโก แปลว่า ควรเรียกให้มาดู เพราะเหตุว่าเป็นของดี ของจริง เมื่อผู้ใดปฏิบัติได้แล้ว จึง เป็นเสมือนสิ่งของที่น่าจะเรียกบอกคนอื่นมาดูว่า นี่ดีจริงอย่างนี้ ภาษาอังกฤษใช้คำว่า come and see พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้บังคับหรือเรียกร้องให้ใครเชื่อ ในคำสอนของพระองค์ แต่ทรงใช้คำว่า ควรเรียกให้มาดู เท่ากับเป็นการให้มาทดลองพิสูจน์ดูด้วยตนเองว่า คำสอนนี้เป็นอย่างไร ดีหรือไม่ดีผู้ศึกษาเป็นฝ่ายตัดสินด้วยตัวเอง 5) อธิบายธรรมคุณบทว่า โอปนยิโก โอปนยิโก แปลว่า ควรน้อมเข้ามา คือ น้อมเข้ามาไว้ในตน เพราะเหตุว่าการปฏิบัติตามคำสอน ของพระองค์พบของดีของจริงดังกล่าวมาแล้วนั้น ควรจะน้อมนำเอาของดีจริงที่พบแล้วนั้นเข้ามาไว้ในตน 1 2 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต, อธิปไตยสูตร, มก., เล่ม 34 ข้อ 479 หน้า 186 * พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค มก., เล่ม 13 ข้อ 138 หน้า 318. พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต, อธิปไตยสูตร, มก., เล่ม 34 ข้อ 479 หน้า 186 4 ทวี มุขธระโกษา (2548), นักวิทยาศาสตร์เอกของโลก, หน้า 132 5 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต, อธิปไตยสูตร, มก., เล่ม 34 ข้อ 479 หน้า 186 6 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต, อธิปไตยสูตร, มก., เล่ม 34 ข้อ 479 หน้า 186 ท 144 DOU บ ท ที่ 6 พระ ธ ร ร ม : คำสั่ง ส อ น ข อ ง พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุทธเจ้า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More