การปฏิบัติธรรมตามแนวทางพระพุทธเจ้า GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 212
หน้าที่ 212 / 270

สรุปเนื้อหา

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนการแบ่งเวลาทำภาวนาเป็นอย่างดี โดยเน้นให้พระภิกษุมีความเพียรในการเอาชนะกิเลส ซึ่งการปฏิบัติธรรมในขั้นตอนที่ 5 และ 6 จะเน้นไปที่การมีสติสัมปชัญญะและการเสพเสนาสนะอันสงัด เพื่อปฏิบัติธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ การฝึกสติเพื่อรักษาธรรมให้คงที่ และหลีกเร้นสู่สถานที่สงบเพื่อนำไปสู่การบรรลุฌานสูงขึ้น ผ่านการปฏิบัติที่ต่อเนื่องและเข้มข้น หากท่านสนใจรายละเอียดเยี่ยมชมได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-การแบ่งเวลาในการทำภาวนา
-ความเพียรในการปฏิบัติธรรม
-สติสัมปชัญญะในชีวิตประจำวัน
-การเสพเสนาสนะอันสงัด
-พระพุทธเจ้าและคำสอนที่เกี่ยวข้อง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงการแบ่งเวลาทำภาวนาไว้อย่างชัดเจน พระภิกษุจึงต้องอาศัย ความเพียรที่บากบั่น กลั่นกล้าอย่างยิ่ง เพื่อเอาชนะอำนาจกิเลสภายในใจตนเองให้ได้ ไม่ให้เห็นแก่การนอน แต่ให้ใช้เวลาไปกับการทำสมาธิภาวนา ชำระจิตของตนให้ผ่องใสอยู่เสมอ ขั้นตอนที่ 5 ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เมื่อพระภิกษุสามารถฝึกฝนอบรมตนเองจนเป็นผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่ได้ดีแล้ว พระพุทธองค์จะทรงแนะนำให้ยิ่งขึ้นไปว่า เมื่อภิกษุเป็นผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่ได้ ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูก่อนภิกษุ มาเถิดเธอจงเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ คือ ทำความรู้สึกตัวในเวลาก้าวไปและถอยกลับ ในเวลาแลดูและเหลียวดู ในเวลางอแขนและเหยียดแขน ในเวลาทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ในเวลาฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้มรส ในเวลาถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ในเวลาเดิน ยืน นั่ง นอนหลับ ตื่น พูดและนิ่งเถิด คำว่า “สติ” หมายถึง ความระลึกได้ นึกได้ อาการที่จิตฉุกคิด คำว่า “สัมปชัญญะ” หมายถึง ความรู้สึกตัว หรืออาการรู้ตัวในขณะที่ทำอยู่ โดย “สติ” เกิดก่อนคิด พูด และทำ ส่วน “สัมปชัญญะ” เกิด ในขณะกำลังคิด พูด และทำ แต่ธรรมทั้งสองนี้จะเกิดควบคู่กันเสมอ สติสัมปชัญญะหากมุ่งกล่าวในความหมายของผู้ปฏิบัติธรรมแล้วหมายถึง “การตรึกธรรมะ” นั่นเอง ตรึก แปลว่า นึก กล่าวคือ หลังจากที่พระภิกษุปฏิบัติขั้นตอนที่ 4 มาแล้ว คือ ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความ เป็นผู้ตื่นอยู่ ได้แก่ การเดินจงกรม และการนั่งสมาธิเจริญภาวนา เมื่อถึงขั้นตอนที่ 5 คือ ประกอบด้วย สติสัมปชัญญะในทุกอิริยาบถที่อยู่นอกเหนือจากขั้นตอนที่ 4 นั่นคือการ “นึกถึงธรรมะที่ปฏิบัติได้ในขั้นตอน ที่ 4” เพื่อประคองรักษาธรรมนั้นให้คงอยู่ไม่ให้เลือนหายไปและทำให้ก้าวหน้ายิ่งกว่าเดิมนั่นเอง ขั้นตอนที่ 6 เสพเสนาสนะอันสงัด เมื่อพระภิกษุสามารถฝึกฝนอบรมตนเองจนเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะได้ดีแล้ว พระพุทธองค์จะทรง แนะนำให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูก่อนภิกษุ มาเถิดเธอจงเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟางเถิด... เธอกลับจากบิณฑบาตภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งขัดสมาธิตั้งกายตรง ดำรง สติมั่นเฉพาะหน้า... ละนิวรณ์ 5 อย่าง อันเป็นเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง ทำปัญญาให้ถอยกำลังนี้ได้แล้ว จึงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมเข้าปฐมฌาน.... ทุติยฌาน... ตติยฌาน... จตุตถฌาน ภูเขา คำว่า “การเสพเสนาสนะอันสงัด” หมายถึง การอยู่อาศัยในสถานที่อันสงบ เช่น ป่า ถ้ำ เป็นต้น ขั้นตอนนี้ต่างจากขั้นตอนที่ 4 คือ เป็นการหลีกเร้นออกไปจากวัดหรือที่อยู่ซึ่งมากไปด้วยภิกษุ สามเณรตลอดจนสาธุชนผู้มาแสวงบุญ จะมีเวลาเจริญภาวนาได้ต่อเนื่องยาวนาน ทำให้ผลการปฏิบัติธรรม - พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, มก. เล่ม 22 ข้อ 98 หน้า 145. 2 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, มก. เล่ม 22 ข้อ 99-100 หน้า 146. 202 DOU บทที่ 7 พระสงฆ์ : ส า ว ก ข อ ง พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เจ้า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More