นครรัฐวาติกันและนครเมกกะในศาสนา GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 257
หน้าที่ 257 / 270

สรุปเนื้อหา

นครรัฐวาติกันทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการบริหารงานของคริสตจักรโรมันคาทอลิก ด้วยรายได้จากการสนับสนุนทางการเงินและการลงทุนต่าง ๆ มีพลเมืองประมาณ 900 คน ขณะที่นครเมกกะในซาอุดีอาระเบียเป็นเมืองสำคัญของศาสนาอิสลาม โดยเป็นสถานที่บำเพ็ญฮัจญ์ที่มีมัสยิดใหญ่และกะอฺบะฮฺที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ทั้งสองเมืองนี้มีส่วนสำคัญในประวัติศาสตร์ศาสนาโลก เช่นเดียวกับระบบการบริหารและการสนับสนุนของชุมชนทางศาสนา

หัวข้อประเด็น

-นครรัฐวาติกัน
-นครเมกกะ
-ศาสนาคริสต์
-ศาสนาอิสลาม
-การบริหารงานวาติกัน
-พิธีฮัจญ์
-กะอฺบะฮฺ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เนื่องจากนครรัฐวาติกันมีขนาดเล็กจึงไม่เน้นใช้เป็นศูนย์รวมของศาสนิกแต่ใช้เป็นศูนย์กลางการ บริหารงานของคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั่วโลกเป็นหลัก เศรษฐกิจ ศาสนจักรวาติกันมีรายได้หลักจากการสนับสนุนทางการเงินขององค์กรคริสตศาสนา นิกายโรมันคาทอลิกทั่วโลก รายได้นี้เรียกว่า “Peter S Pence” นอกจากนี้ยังมีรายได้จากการลงทุน ภายใต้การบริหารของหน่วยงาน The Patrimony of the Holy See, ค่าธรรมเนียมการเข้าชมพิพิธภัณฑ์, รายได้จากการจำหน่ายหนังสือ สิ่งพิมพ์ ดวงตราไปรษณียากร และของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยว เป็นต้น ประชากร นครรัฐวาติกันมีพลเมืองประมาณ 900 คน พลเมืองประกอบด้วยองค์สันตะปาปา คาร์ดินัล เจ้าหน้าที่ประจำวาติกัน สตรีประมาณ 200 คน และทหารสวิสซึ่งเป็นองครักษ์ของพระสันตะปาปา ประมาณ 100 คน นอกจากนี้ยังมีเจ้าหน้าที่ทูตวาติกันที่ประจำอยู่ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้ง ประเทศไทยด้วย พลเมืองเหล่านี้จะมีสัญชาติวาติกันเฉพาะในขณะดำรงตำแหน่งต่าง ๆ หรือเป็นภรรยา ของพลเมืองวาติกัน หรือเป็นบุตรของพลเมืองวาติกันที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี ส่วนบุตรคนใดอายุถึง 25 ปีแล้ว ต้องกลับคืนสัญชาติเดิม 9.2.2 นครเมกกะของศาสนาอิสลาม นครเมกกะ (MECCA) หรือที่ชาวมุสลิมเรียกว่า มักกะฮฺ (MAKKAH) เป็นเมืองสำคัญในศาสนา อิสลาม ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศซาอุดีอาระเบีย นครเมกกะนี้เป็นบ้านเกิดของท่านนบีมุฮัมมัด ศาสดาใน ศาสนาอิสลาม ชาวมุสลิมไปบำเพ็ญ “ฮัจญ์” ที่เมืองนี้ปีละหลายล้านคน เพราะที่นี่มีมัสยิดใหญ่ชื่อว่า “หะรอม” จุคนที่มา “นมาซ” หรือ ละหมาด คราวเดียวได้ประมาณ 1,000,000 คน และบริเวณตรงกลางของมัสยิด นี้มี “กะอฺบะฮฺ” กะอฺบะฮฺ มีชื่ออย่างอื่นอีก เช่น บัยตุลลอฮฺ แปลว่า บ้านของอัลลอฮฺ ซึ่งอัลลอฮฺนั้นเป็นพระเจ้า ของศาสนาอิสลาม มุสลิมถือว่ากะอฺบะฮฺไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์แต่เป็น “กิบละฮฺ” คือจุดที่มุสลิมทุกคนฝันหน้าไปทางนั้น เวลาละหมาดและเป็นจุดศูนย์กลางในการเดินเวียนของผู้ไปบำเพ็ญฮัจญ์ ประวัติศาสตร์อิสลามระบุว่ากะอฺบะฮฺสร้างมานานแล้ว แต่รูปทรงที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้สร้างใน ฮ.ศ. 1039 (พ.ศ. 2161) สมัยรัฐบาลวงศ์อุษมานแห่งตุรกี สร้างเป็นอาคารรูปทรงสี่เหลี่ยม ไม่มีหน้าต่าง มีเพียงประตูด้านเดียว อาคารสูง 15.25 เมตร ขนาดกว้าง x ยาวโดยประมาณคือ 10 x 12 เมตร อาคารกะอฺบะฮฺจะมีผ้าคลุมปิดไว้อีกทีหนึ่งเรียกผ้านี้ว่า “กิสวะฮฺ” เดิมกะอฺบะฮฺไม่มีการคลุมผ้า เพิ่งมีประเพณีนี้ครั้งแรกก่อน ฮ.ศ. 220 ป และที่สำคัญใน ฮ.ศ. 10 (พ.ศ. 1132) ท่านนบีมุฮัมมัด ได้นำ ชาวมุสลิมทั่วคาบสมุทรอาระเบียประมาณ 100,000 คน บำเพ็ญพิธีฮัจญ์ที่นี่ ในครั้งนั้นนบีมุฮัมมัด ได้ 2 ฮัจญ์ แปลว่า การไปเยือน คือ เดินทางไปประกอบศาสนกิจ ณ นครเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ฮ.ศ. หมายถึง ฮิจญ์เราะหฺศักราช เป็นปฏิทินในศาสนาอิสลาม โดยปัจจุบัน พ.ศ. 2553 ตรงกับ ฮ.ศ. 1431 บทที่ 9 ศูนย์ ก ล า ง พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า ข อ ง โ ล ก DOU 247
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More