ลักษณะพิเศษของพระพุทธศาสนา GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 29
หน้าที่ 29 / 270

สรุปเนื้อหา

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งปัญญา นำเสนอความรู้ที่ครอบคลุมและยึดหลักกรรมเป็นสำคัญ โดยไม่ทำร้ายผู้อื่นหรือก่อสงคราม ศาสนานี้ยกย่องปัญญาว่าเป็นธรรมสูงสุด รวมถึงหลักธรรมหลายหมวดที่เน้นไปที่ปัญญาเป็นหลักในการกำจัดกิเลส ทั้งนี้ พระไตรปิฎกยังยกย่องปัญญาไว้ว่าเป็นแสงสว่างที่สำคัญ เหมือนดวงจันทร์ที่โดดเด่นกว่าดวงดาวอื่น ทั้งนี้ ความรู้ถูกต้องได้รับการยอมรับหลังจากการตั้งคำถามและความอิสระในการคิด

หัวข้อประเด็น

-ลักษณะพิเศษของพระพุทธศาสนา
-พระพุทธคุณ
-ศาสนาแห่งปัญญา
-ความเชื่อและศรัทธาในศาสนาอื่น
-การมีปัญญาในการดำรงชีวิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

กล่าวถึงเท่านั้น เปรียบเสมือนนักข่าวผู้มีจรรยาบรรณนำเสนอข้อมูลไปตามเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้น ลักษณะพิเศษของพระพุทธศาสนามีดังนี้คือ เป็นศาสนาแห่งปัญญา, องค์ความรู้ครอบคลุม สรรพศาสตร์, คำสอนยึดหลักกรรมลิขิตไม่ใช่พรหมลิขิต และเป็นศาสนาที่ไม่ว่าร้าย ไม่ทำร้ายศาสนิกอื่น และไม่ก่อสงคราม ลักษณะพิเศษที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือเรื่องพระศาสดา แต่จะกล่าวในหัวข้อ พระพุทธคุณของบทที่ 5 2.5.1 เป็นศาสนาแห่งปัญญา ศาสนาโดยส่วนใหญ่ในโลกโดยเฉพาะศาสนาเทววิทยานั้นเน้นเรื่องศรัทธา เช่น ศาสนาอิสลาม ซึ่งเน้นศรัทธาหรือความเชื่อเป็นเรื่องสำคัญที่สุด คือ จะต้องเชื่อทุกอย่างตามที่ปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอาน เช่น เชื่อว่าพระอัลเลาะห์มีจริง ทรงสร้างโลกและสรรพสิ่ง ต้องเชื่อว่า คัมภีร์อัลกุรอานเป็นคัมภีร์ที่สมบูรณ์ที่สุด ศาสนาคริสต์ก็เช่นเดียวกัน ชาวคริสต์ต้องมีศรัทธาแรงกล้า ต้องเชื่อโดยไม่สงสัย การตั้งคำถาม ต่าง ๆ เป็นการแสดงความไม่เชื่อหรือย่อหย่อนในศรัทธา โดยเฉพาะพระคัมภีร์ไบเบิลนั้น ผู้ใดจะสงสัยหรือ ตั้งคำถามมิได้ ในยุโรปถึงกับมีการตั้งศาลไต่สวนศรัทธา (Inquistion) ขึ้น เพื่อลงโทษผู้ที่ไม่เชื่อในพระคัมภีร์ โทษร้ายแรงที่สุดคือจับเผาทั้งเป็น ในประเทศสเปนศาลไต่สวนศรัทธาถูกสถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. 2026 นักคิดทางวิทยาศาสตร์ถูกจับเผาทั้งเป็นตายราว 30,000 คน ข้อหาคือเสนอแนวคิดขัดแย้งกับพระคัมภีร์ แม้ต่อมาไม่นานชาวโลกและนักการศาสนาต่าง ๆ จะยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าความรู้นั้น ๆ ถูกต้องก็ตาม สำหรับพระพุทธศาสนานั้นเป็นศาสนาแห่งปัญญา ยกย่องปัญญาว่าเป็นธรรมสูงสุด สังเกตได้ว่า หลักธรรมหลายหมวดจะลงท้ายด้วยปัญญา เช่น ไตรสิกขา ประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา, อินทรีย์ 5 ประกอบด้วย ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา การจะกำจัดกิเลสอาสวะจนหมดสิ้นได้ก็ต้องอาศัยปัญญา เป็นหลัก ส่วนศีลกับสมาธิเป็นเพียงฐานที่ทำเกิดปัญญาเท่านั้น ในพระไตรปิฎกมีคำกล่าวยกย่องปัญญาไว้จำนวนมาก เช่น นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา แสงสว่าง เสมอด้วยปัญญาไม่มี บุคคลผู้มีปัญญาถึงจะสิ้นทรัพย์ ก็ยังมีชีวิตอยู่ได้เป็นแน่แท้ ส่วนบุคคลผู้ไม่มีปัญญา ถึงจะมีทรัพย์ก็เป็นอยู่ไม่ได้ ปัญญาเป็นเครื่องตัดสินสิ่งที่ตนฟังมาแล้ว เป็นเครื่องเจริญชื่อเสียงและความ สรรเสริญ ผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวว่า ปัญญาแลประเสริฐที่สุด เหมือนดวงจันทร์ประเสริฐกว่าดวงดาวทั้งหลาย 3 1 รศ. ฟื้น ดอกบัว (2539), ศาสนาเปรียบเทียบ, หน้า 207-208. - เสถียร โพธินันทะ (2539), ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ฉบับมุขปาฐะ ภาค1, หน้า 34. สารัตถปกาสินี อรรถกถาสังยุตตนิกาย สคาถวรรค มก. เล่ม 24 หน้า 82 * พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหากัปปินเถรคาถา มก. เล่ม 52 หน้า 348. 5 ชาตกัฏฐกถา อรรถกถาชาดก สัตตกนิบาตชาดก มก. เล่ม 59 หน้า 279. เ ม รู้ ทั่ ว ไ ป ท า ง พระ พุ ท ธ ศ า ส น า DOU 19 บ ท ที่ 2 ค ว า ม
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More