พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและการกล่าวถึงพระรัตนตรัย GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 111
หน้าที่ 111 / 270

สรุปเนื้อหา

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสให้ภิกษุทั้งหลายพิจารณาความจริงในคำสรรเสริญและการติเตียน โดยไม่ให้เกิดความดีใจหรือโกรธ. พระองค์ยังได้ตรัสถึงประวัติในอดีตของพระโพธิสัตว์ เพื่อเตือนใจว่าทุกคนสามารถทำผิดได้. การเรียนรู้เกี่ยวกับคุณของพระพุทธเจ้านี้มีความสำคัญเพื่อเสริมสร้างความจริงใจในตัวเองและผู้อื่น. คำสวดที่เกี่ยวข้องเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ชาวพุทธ.

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของพระรัตนตรัย
-การรับฟังคำติชม
-การเป็นจริงใจในการแสดงคุณธรรม
-ประวัติของพระโพธิสัตว์
-บทสวดที่รู้จักกันในหมู่ชาวพุทธ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงบุคคลที่สรรเสริญและติเตียนพระรัตนตรัยไว้ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเหล่าอื่นพึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม หรือ ชมพระสงฆ์ ก็ตาม เธอทั้งหลายไม่ควรทำความเพลิดเพลิน ดีใจ เบิกบานใจในคำชมนั้น” แต่ให้พิจารณาว่า “ในคำที่เขากล่าวชมนั้น คำที่จริง เธอทั้งหลายควรปฏิญาณ ให้เห็นโดยความเป็นจริงว่า นั่นจริงแม้เพราะเหตุนี้ แม้ข้อนั้นก็มีในเราทั้งหลาย และในเราทั้งหลายก็มีข้อนั้น” “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเหล่าอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม พระสงฆ์ ก็ตาม เธอทั้งหลาย ไม่ควรทำความอาฆาต โทมนัส แค้นใจในคนเหล่านั้น แต่ให้พิจารณาว่า ในคำที่เขากล่าวตินั้น คำที่ไม่จริง เธอทั้งหลายควรแก้ให้เห็นโดยความเป็นจริงว่า นั่นไม่จริงแม้เพราะเหตุนี้ นั้นไม่แท้แม้เพราะเหตุนี้ แม้ข้อนั้นก็ไม่มีในเราทั้งหลาย และในเราทั้งหลายก็ไม่มีข้อนั้น” จากพระดำรัสนี้ชี้ให้เห็นพุทธประสงค์ว่า การกล่าวถึงคุณของพระรัตนตรัยนั้นต้องกล่าวให้ ตรงกับความเป็นจริง แม้มีคนมาชมมาสรรเสริญก็ไม่พึงดีใจ ลิงโลดใจ แต่ให้พิจารณาว่าเขากล่าวถูกต้อง หรือเป็นจริงตามนั้นหรือไม่ ถ้าจริงก็ชี้แจงให้เขาเข้าใจด้วยเหตุผลว่าจริงเพราะอะไร หากมีคนมาติเตียน ก็ ไม่พึงโกรธแต่รับฟังไว้ หากเขากล่าวคำที่ไม่จริงก็ชี้แจ้งให้เขาเข้าใจ จริง ๆ แล้วพระองค์ไม่ได้ตรัสถึงพุทธคุณเพียงอย่างเดียว แต่ยังตรัสถึงข้อผิดพลาดของพระองค์ เองในขณะที่ยังเป็นพระโพธิสัตว์ดังที่ปรากฏอยู่ในชาดกต่าง ๆ อีกด้วย มีอยู่หลายชาติที่พระโพธิสัตว์ได้ไป เกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน เช่น เป็นสุนัข ช้าง ม้า ลิง ราชสีห์ นก กระต่าย โค กระบือ กวาง เป็นต้น และมี หลายชาติที่ทรงผิดพลาดหนักถึงกับตกนรกหมกไหม้อยู่ยาวนาน ความจริงข้อผิดพลาดเหล่านี้หากพระองค์ ไม่ตรัสถึงก็ไม่มีใครทราบเพราะเป็นเรื่องในอดีตชาติ เหตุที่พระองค์ตรัสไว้ก็เพื่อเป็นข้อคิดเตือนใจแก่ พุทธบริษัททั้งหลายว่า แม้พระองค์เองก็ยังเคยทำผิดเพราะฉะนั้นอย่าได้ประมาทเป็นอันขาด หากไม่มองถึงประเด็นที่ว่า ผู้หมดกิเลสแล้วย่อมไม่กล่าวคำเท็จ การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งกล่าว ถึงทั้งด้านดีและไม่ดีของตนเองอย่างเปิดเผย มีส่วนดีอะไรบ้าง ก็กล่าวถึง และแม้มีข้อไม่ดีที่เคยทำผิด พลาดหนักมากเพียงใดก็ตาม ก็กล้ากล่าวถึงโดยไม่ปิดบัง คำกล่าวของบุคคลนี้จึงน่าเชื่อถือมากทีเดียว เพราะ ถ้าต้องการให้ผู้ฟังนิยมชมชอบตนก็พูดแต่เรื่องดี ๆ ก็ได้ สิ่งไม่ดีก็ปิด ๆ เอาไว้ ซึ่งปุถุชนคนที่ยังมีกิเลสอยู่ จำนวนไม่น้อยที่ทำอย่างนี้ 5.2.3 พระพุทธคุณ เนื่องจากคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีมากจะสุดพรรณนาได้หมดในที่นี้จึงกล่าวถึงโดยย่อคือเพียง 9 ประการ ซึ่งชาวพุทธที่หมั่นสวดมนต์อยู่เป็นประจำจะคุ้นเคยกันดี จนอาจกล่าวได้ว่าท่องจนคล่องปาก จำจนขึ้นใจทีเดียว แต่ถึงกระนั้นก็คงมีหลายท่านที่ไม่รู้ความหมาย เพราะบทสวดเหล่านั้นบันทึกด้วยภาษาบาลี การเรียนวิชานี้จึงช่วยให้นักศึกษาทุกท่านทราบว่าบท “อรห์ สมมาสัมพุทโธ วิชชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค, พรหมชาลสูตร, มก. เล่ม 11 ข้อ 1 หน้า 3-4 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค, พรหมชาลสูตร, มก. เล่ม 11 ข้อ 1 หน้า 3-4 บ า ที่ 5 พ ร ะ พุ ท ธ : พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เจ้า DOU 101
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More