ข้อความต้นฉบับในหน้า
(Crusade)” จึงเกิดขึ้นและถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
สงครามครูเสดเป็นสงครามที่รบกันระหว่างชาวคริสต์กับมุสลิม เกิดขึ้นในระหว่าง ค.ศ.1639-1813
(พ.ศ.2182-2356) นักประวัติศาสตร์ชื่อ แอนเน เฟรแมนเทิล (Anne Fremantle) กล่าวไว้ว่า “จาก
สงครามทั้งหมดที่มนุษย์เคยรบ ไม่มีครั้งใดที่กระทำไปด้วยจดจ่อยิ่งไปกว่าสงครามที่มีศรัทธาเป็นที่ตั้ง และ
จากสงครามศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมด ไม่มีครั้งใดที่จะมีการสูญเสียเลือดเนื้อและมีความยืดเยื้อมากไปกว่าสงคราม
ครูเสดในยุคกลาง ครูเสดซึ่งได้มีอิทธิพลเหนือคนในยุคกลางเป็นเวลา 200 ปี... พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ
กล่าวว่า การไปรบครั้งนี้ก็โดยการขอร้องของพระสังฆราชกรุงโรม ชาวยุโรปเสียชีวิตไปในสงครามครูเสดราว
7,000,000 คน แม้ในทุกวันนี้ศาสนาเดียวกันแต่ต่างนิกายกันก็ยังมีข่าวฆ่ากันตายอยู่เป็นประจำ
คำว่า Crusade มาจากคำว่า Cross แปลว่า ไม้กางเขน นักรบชาวคริสต์จะมีไม้กางเขนเป็นตรา
ติดที่หน้าอกเสื้อทุกคน ซึ่งเป็นตราที่สำคัญมาก ใครติดตรานี้แล้วจะต้องออกรบทุกคน เปลี่ยนใจไม่ได้ ถ้า
เปลี่ยนใจแล้วจะต้องถูกขับออกจากศาสนาทันที เท่ากับเป็นการประหารชีวิตทางศาสนา
สำหรับพุทธศาสนิกชนนั้น มีข้อที่น่าภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมานั้น พุทธศาสนิกชนไม่ว่า
จะอยู่ในส่วนใดของโลกก็ตาม ไม่เคยใช้เงื่อนไขทางศาสนามาทำสงครามกันเอง หรือกับเพื่อนต่างศาสนิก จะมี
ก็แต่เพียงถูกกระทำจากศาสนาอื่น ดังเช่นที่เคยเกิดในประเทศอินเดีย ศาสตราจารย์ รีส เดวิดส์ ผู้ก่อตั้ง
สมาคมบาลีปกรณ์ กล่าวไว้ว่า “เท่าที่ข้าพเจ้าทราบมา ไม่มีบันทึกตลอดประวัติศาสตร์ที่ยาวนานหลาย
ศตวรรษของพระพุทธศาสนา ที่บอกว่า พุทธศาสนิกชนเมื่อได้ครองความเป็นใหญ่ในช่วงเวลายาวนานเพียงนั้น
ได้ทำการประหัตประหารศาสนิกชนของลัทธิศาสนาอื่นใดเลย”
ศาสตราจารย์ ดร.พี.วี.พาปัต กล่าวไว้ว่า พระพุทธศาสนาใช้ดาบเพียงเล่มเดียวคือ ดาบแห่งปัญญา
ยอมรับว่ามีศัตรูอยู่หนึ่งเดียว คือ อวิชชา ความไม่รู้ ที่กล่าวมานี้เป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เป็น
บทพิสูจน์ที่ใครๆ ก็คัดค้านไม่ได้
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ในโอวาทปาฏิโมกข์ซึ่งถือเป็นนโยบายการเผยแผ่พระศาสนา
ว่าชาวพุทธต้อง “มีความอดทน จะต้องไม่ว่าร้าย และไม่ทำร้ายผู้อื่น ฯลฯ” และยังเคยตรัสอีกว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย หากมีพวกโจรเอาเลื่อย เลื่อยอวัยวะของพวกเธอ ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดมีใจคิดร้ายต่อโจร
เหล่านั้น ชื่อว่าไม่ทำตามคำสั่งสอนของเรา เพราะอดกลั้นไม่ได้ ภิกษุทั้งหลาย เธอพึงศึกษาว่า จิตของเรา
-Ann Fremantle (1966), Age of faith, page 53.
2 พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ (2551), ประวัติศาสตร์สากล, หน้า 405
* พระศรีปริยัติโมลี (2542), พระพุทธเจ้าในสายตานักปราชญ์โลก, หน้า 63.
4 Prof. Dr. P.V.Bapat (1987), In 2500 years of Buddhism, page 125.
24 DOU บ ท ที่ 2
บ ท ท 2 ค ว า ม รู้ทั่วไ
ทั่ ว ไ ป ท า ง พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า