การตั้งความปรารถนาของพระโพธิสัตว์ GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 135
หน้าที่ 135 / 270

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ที่แสดงถึงความกตัญญูต่อมารดา และการตั้งความปรารถนาที่จะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขณะที่ท่านต้องเผชิญหน้ากับมหาสมุทรและความทุกข์ ท่านได้เห็นผู้ที่มีพระคุณจมหาย และจึงมีความตั้งใจสร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือผู้ทุกข์ทรมานในวัฏสงสาร โดยตั้งใจไว้ว่าจะให้ผู้อื่นตรัสรู้และพ้นจากทุกข์เช่นเดียวกับตน

หัวข้อประเด็น

-ความกตัญญู
-การสร้างบารมี
-การตั้งความปรารถนาพุทธภูมิ
-พระโพธิสัตว์
-การช่วยเหลือผู้อื่น

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อยู่ในเมืองคันธาระ เก็บผักหักฟื้นจากป่ามาขายเลี้ยงมารดา วันหนึ่งขณะแบกของหนักมาจากป่า ถูกแดด แผดเผา กระหายน้ำ จึงนั่งพักที่โคนต้นไทรแห่งหนึ่ง รำพึงว่า ขณะนี้เรายังมีเรี่ยวแรงอยู่ก็พอทนทุกข์ร้อน นี้ได้ เมื่อเวลาแก่เฒ่าลงไปแล้ว หรือในเวลาเจ็บไข้เราจะไม่อาจทนความทุกข์ร้อนได้ อย่ากระนั้นเลย เรา ควรไปเมืองสุวรรณภูมิขนเอาทองมาเลี้ยงมารดาให้มีความสุขเถิด เมื่อคิดดังนี้แล้ว จึงพามารดาไปลงเรือ สำเภาและขอเป็นลูกจ้างประจำเรือ เพื่อไปสุวรรณภูมิพร้อมกับพ่อค้าทั้งหลาย แต่เรือสำเภาได้อัปปางลงในวันที่ 7 ครั้งนั้นพวกพ่อค้าได้ถึงมหาวินาศกันสิ้น ส่วนท่านได้แบก มารดาของตนไว้แล้วว่ายน้ำเพื่อข้ามมหาสมุทร ครั้งนั้น ท้าวมหาพรหมชั้นสุทธาวาสได้เล็งแลดูสัตว์โลก แล้วคิดว่า ล่วง 1 อสงไขยมาแล้วบุรุษใดที่จะบังเกิดเป็นพระพุทธแม้สักองค์หนึ่ง สามารถตรัสรู้เป็น พระพุทธจะมีไหม จึงเห็นท่านกำลังสละชีวิตพามารดาของตนว่ายน้ำข้ามมหาสมุทร อันลึกล้ำกว้างใหญ่ หาที่สุดมิได้ ก็รู้ว่า มหาบุรุษผู้นี้ มีความเพียรมั่นคงนัก มีอัธยาศัยช่วยเหลือผู้อื่น ในระหว่างที่ท่านแบกมารดาและแวกว่ายอยู่ท่ามกลางมหาสมุทรนั้น ท่านเกิดความคิดที่จะสร้าง บารมีเพื่อเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้น และตั้งความปรารถนาไว้ในใจว่า “ พุทโธ โพเธย์ มุตโต โมเจย์ ติณโณ ตาเรยยนติ ” แปลว่า เราตรัสรู้แล้วจะให้ผู้อื่นตรัสรู้ด้วย เราพ้นแล้วจะให้ผู้อื่นพ้นด้วย เราข้ามได้ แล้วจะให้ผู้อื่นข้ามได้ด้วย ดังนี้ หลังจากท่านตั้งความปรารถนาพุทธภูมิแล้ว ก็แบกมารดาว่ายน้ำต่อไปอีก 2-3 วัน ก็ถึงฝั่ง จาก นั้นก็เลี้ยงดูมารดาจนสิ้นชีพ ละโลกแล้วก็ไปเกิดในเทวโลก ในชาตินี้เรียกว่า ปฐมจิตตุบาทกาล คือ กาลที่ ตั้งความปรารถนาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นในใจเป็นครั้งแรก เพราะการตั้งความปรารถนาพุทธภูมินี้เอง ท่านจึงได้เนมิตกนามว่า “พระโพธิสัตว์” หลังจากชาตินั้นแล้ว ท่านก็สร้างบารมีรุดหน้าเรื่อยไปอีกนับ ภพนับชาติไม่ถ้วน ซึ่งการสร้างบารมี 7 อสงไขยกัปนับจากชาตินี้ไปถือเป็นช่วงการดำริในใจ พระภาวนาวิริยคุณ (หลวงพ่อทัตตชีไว) ได้วิเคราะห์เนื้อหาในชินกาลมาลีปกรณ์นี้ไว้ว่า สาเหตุ สำคัญที่พระโพธิสัตว์ท่านนี้ตั้งความปรารถนาพุทธภูมิมี 4 ประการ คือ ตระหนักในความทุกข์ที่เผชิญอยู่ เฉพาะหน้า, มีความเข้าใจถูกตามความเป็นจริงของโลกและชีวิต, มีจิตใจเด็ดเดี่ยวต่อการเผชิญปัญหา และ มีความกตัญญูกตเวทีคิดจะตอบแทนคุณมารดาและผู้มีพระคุณ เพราะในระหว่างที่ท่านแบกมารดาแหวกว่ายอยู่ในมหาสมุทรนั้น สองข้างทางที่ว่ายผ่านไป ก็ได้ เห็นผู้ที่เคยมีพระคุณมากมายพากันทยอยจมหายสู่ก้นมหาสมุทรไปต่อหน้าต่อตา เหตุการณ์นั้นได้กระตุ้น เตือนให้ท่านคิดสู้กับความทุกข์ในวัฏสงสาร ท่านจึงคิดหาทางกลางท้องทะเลว่า มีหนทางใดบ้างหรือไม่ ที่จะย้อนกลับมาช่วยเหลือผู้มีพระคุณทุกคนให้รอดพ้นจากห้วงแห่งความทุกข์ไปได้ตลอดกาล ในที่สุดก็พบว่า มีอยู่หนึ่งหนทาง ที่จะย้อนกลับมาช่วยทุกคนให้รอดพ้นจากความทุกข์ได้ นั่นคือการ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยเหตุนี้ท่านจึงตัดสินใจอธิษฐานสร้างบารมีไปเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า * พระรัตนปัญญาเถระ (2540), ชินกาลมาลีปกรณ์, แปลโดย ศาสตราจารย ร.ต.ท.แสง มนวิทูร หน้า 156-157 บ ท ที่ 5 5 พ ร ะ พุ ท ธ : พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เจ้า DOU 125
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More