ข้อความต้นฉบับในหน้า
จากตารางดังกล่าวจะเห็นความแตกต่างของเวลาในการสร้างบารมีลดหลั่นลงมาตามภูมิที่ปรารถนา
หากปรารถนาภูมิใหญ่คือเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ต้องใช้เวลาสร้างบารมีนานมาก ส่วนภูมิที่ต่ำลงมา
เวลาที่ต้องสร้างบารมีก็จะลดลงตามส่วน เปรียบเสมือนผู้ปรารถนาจะจบปริญญาตรีก็จะใช้เวลาเรียนน้อย
กว่าปริญญาโทและปริญญาเอก
และมีข้อสังเกตว่า ไม่ว่าจะปรารถนาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระปัจจเจกพุทธเจ้า เป็น
พระอัครสาวก เป็นพระสาวกและอุบาสกอุบาสิกเอตทัคคะด้านต่าง ๆ ก็จะได้รับพุทธพยากรณ์ทั้งสิ้น โดย
นายสุมนมาลาการนั้นพระสมณโคดมพุทธเจ้าพยากรณ์ไว้ว่า ในอีก 1 แสนกัปจากนี้ไปจะได้สำเร็จเป็น
พระปัจเจกพุทธเจ้าพระนามว่าสุมนิสสระ ส่วนพระเทวทัตอรรถกถาบันทึกไว้ว่าเหลือเวลาสร้างบารมีอีกเพียง
1 แสนกัปเช่นกัน ก็จะได้สำเร็จเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าพระนามว่า อัฏฐิสสระ” สำหรับพระอัครสาวกทั้งสอง
ได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรกจากพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า ส่วนพระสาวกและอุบาสกอุบาสิกาเอตทัคคะได้รับ
พุทธพยากรณ์ครั้งแรกจากพระปทุมุตรพุทธเจ้า
พระไตรปิฎกและอรรถกถาไม่ได้บันทึกไว้ว่า ก่อนได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรกนั้นพระอัครสาวก
และพระสาวกทั้งหลายสร้างบารมีมาอย่างไร แต่เมื่อเทียบกับการสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายแล้ว
ทำให้ทราบว่าพระสาวกเหล่านี้ได้สร้างบารมีเพื่อปรารถนาตำแหน่งนั้น ๆ มาก่อน จนบารมีเพิ่มพูนมา
พอแล้วจึงได้รับพุทธพยากรณ์
ในชาติที่พระสารีบุตรได้รับการพยากรณ์นั้นท่านบวชเป็นดาบสชื่อสุรุจิเป็นผู้ทรงอภิญญา เหาะเหิน
เดินอากาศได้ มีลูกศิษย์ทรงอภิญญาดุจเดียวกัน 24,000 รูป ท่านสุรุจิดาบสได้บูชาพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า
ด้วยดอกไม้ 8 ดอก และสรรเสริญพระพุทธคุณ พระอโนมทัสสีพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ว่า “ในกัปอัน
ประมาณมิได้แต่กัปนี้ไป พระศาสดาทรงพระนามว่า โคตมะ.... จักมีขึ้นในโลก ผู้นี้จักเป็นโอรสทายาทใน
ธรรมของพระศาสดาพระองค์นั้น.... จักได้เป็นพระอัครสาวกมีนามว่า สารีบุตร” พุทธดำรัสที่ว่า “ในกัป
อันประมาณมิได้แต่กัปนี้ไป” จากมาจากภาษาบาลีว่า “อปริเมยเย อิโต กปเป” อรรถกถาบันทึกไว้ว่า คือ
1 อสงไขยแสนกัป
ส่วนลูกศิษย์ทั้งหมดของท่านเมื่อได้ฟังพระธรรมจากพระอโนมทัสสีพุทธเจ้าแล้ว ก็ได้สำเร็จเป็น
พระอรหันต์กันทั้งหมด เนื่องจากสุรุจิดาบสปรารถนาภูมิใหญ่กว่าการเป็นพระอรหันต์ธรรมดาจึงต้อง
สร้างบารมีต่อไปอีก ประเด็นนี้จึงชี้ให้เห็นว่า การที่ใครก็ตามจะเป็นอาจารย์ของผู้ที่มีบารมีมากถึงระดับที่
- ปรมัตถโชติกา อรรถกถาขุททกนิกาย สุตตนิบาต, มก.เล่ม 47 หน้า 153.
ธัมมปทัฏฐกถา อรรถกถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท, มก. เล่ม 40 หน้า 199.
*พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน, มก. เล่ม 70 ข้อ 3 หน้า 399-425.
4 สุตฺตนฺตปิฎก ขุททกนิกายสฺส อปทาน, ภาษาบาลี ฉบับสยามรัฐ เล่ม 32 ข้อ 3 หน้า 33.
* วิสุทธชนวิลาสินี อรรถกถาขุททกนิกาย อปทาน, มก. เล่ม 70 หน้า 463.
วิสุทธชนวิลาสินี อรรถกถาขุททกนิกาย อปทาน, มก. เล่ม 70 หน้า 430.
บทที่ 7 พระสงฆ์ : ส า ว ก ข อ ง พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เจ้า
DOU 205