การสร้างบารมีและประเภทของบารมี GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 124
หน้าที่ 124 / 270

สรุปเนื้อหา

การสร้างบารมีคือการสร้างบุญที่เข้มข้นมาก ซึ่งแตกต่างจากการสร้างบุญทั่วไปโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน และการสร้างบารมีทำให้เราเป็นพระพุทธเจ้าผ่านการสั่งสม 10 ประการที่สำคัญ เช่น ทาน ศีลและปัญญา โดยการให้ทานแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ อามิสทาน (การบริจาคของ), ธรรมทาน (การให้ความรู้) และอภัยทาน (การยกโทษ) ถือเป็นหลักการสำคัญในพุทธศาสนา สิ่งเหล่านี้ช่วยทำให้ผู้คนกลายเป็นคนที่มีจิตใจดีและมีบารมีติดตัวไป

หัวข้อประเด็น

-การสร้างบารมี
-ประเภทของบารมี
-ทานบารมี
-ธรรมทาน
-อภัยทาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

มีความเข้มข้นมาก เมื่อกลั่นเป็นดวงบารมีแล้ว ก็จะได้ขนาดโตกว่าการสร้างบุญแบบปกติของชาวโลก ทั่ว ๆ ไป และจะทำให้บารมีที่สั่งสมนั้นเต็มเปี่ยมได้เร็วขึ้น ด้วยเหตุที่เวลาสร้างบุญแต่ละครั้งนั้น ทำแบบ สุดชีวิต ทำโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพันนี้เอง จึงเรียกการสร้างบุญแบบนี้ว่า “เป็นการสร้างบารมี” เพราะว่า ต่างจากการสร้างบุญแบบธรรมดา อีกนัยหนึ่งการสร้างบารมีคือการฝึกฝนอบรมตนเอง ขัดเกลาแก้ไขนิสัยที่ไม่ดีออกไป หมั่นสั่งสม บุญทั้งทาน ศีล ภาวนา เพื่อขจัดความโลภ ความโกรธ ความหลงอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ผลก็คือได้ บารมีติดตัวไป สรุปบารมีคือ บุญที่มีความเข้มเข้นมากเพราะได้จากการกลั่นตัวของบุญปริมาณมาก และได้จาก การสร้างบุญโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพันจนติดเป็นนิสัย 2) ประเภทของบารมี ครั้งหนึ่งพระสารีบุตรทูลถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอันทำให้เป็น พระพุทธเจ้ามีเท่าไรพระเจ้าข้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า “ดูก่อนสารีบุตร ธรรมอันทำให้เป็นพระพุทธเจ้ามี 10 ประการแล ธรรม 10 ประการคืออะไรบ้าง ดูก่อนสารีบุตร ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วีริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐานะ เมตตา อุเบกขา เป็นธรรมทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ดูก่อนสารีบุตร ธรรม 10 ประการเหล่านี้แล เป็นพุทธ การกธรรม” พุทธการกธรรมหรือธรรมอันทำให้เป็นพระพุทธเจ้า 10 ประการนี้ก็คือ บารมี 10 ประเภท นั่นเอง ทานบารมี คำว่า “ทาน” มาจากบทว่า “ทาน” ในภาษาบาลี แปลว่า “สิ่งที่พึ่งให้ ทานนั้นแบ่ง ออกเป็น 3 ประเภทคือ อามิสทาน ธรรมทาน และอภัยทาน” อามิสทาน คือ การบริจาควัตถุสิ่งของเป็นทาน ได้แก่ ปัจจัย 4 คือ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค หรือการบริจาคทรัพย์สมบัติต่าง ๆ ให้แก่ผู้อื่น เช่น บริจาคแก่พระภิกษุ บริจาค แก่คนยากจน เป็นต้น ธรรมทาน คือ การให้ธรรมะเป็นทาน กล่าวคือ ให้ความรู้เรื่องความจริงของชีวิต เช่น เรื่องกฎ แห่งกรรม เรื่องบุญบาป เรื่องวิธีการให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา เป็นต้น อภัยทาน คือ การยกโทษความผิดที่บุคคลอื่นกระทำต่อเรา ไม่เอาความ สละอารมณ์ขุ่นข้อง หมองใจอันเกิดจากที่คนอื่นกระทำผิดต่อเราออกไป ทานบารมีนั้นเน้นเรื่องอามิสทานเป็นหลัก ส่วนธรรมทานถือว่าเป็นการสร้างปัญญาบารมีให้แก่ ตนเอง เพราะผู้ที่จะได้ธรรมทานได้จำเป็นต้องศึกษาเรื่องนั้น ๆ จนแตกฉานก่อน การศึกษาจึงทำให้ตนเอง * ปรมัตถทีปนี อรรถกถาขุททกนิกาย จริยาปิฎก, มก. เล่ม 74 หน้า 572. * ปรมัตถทีปนี อรรถกถาขุททกนิกาย อิติวุตตกะ, อรรถกถาทานสูตร, มก. เล่ม 45 หน้า 616-617. 114 DOU บ ท ที่ 5 พ ร ะ พุ ท ธ : พ ร ะ สัมมา สัมพุทธเจ้า 5
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More