ข้อความต้นฉบับในหน้า
พระยสะ
ดังนี้
วันหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้ามีท่านพระยสะเป็นปัจฉาสมณะ เสด็จพระพุทธดำเนินไปสู่บ้านของ
วันนั้นพระพุทธองค์ได้แสดงธรรมคืออนุปุพพิกถาแก่นางสุชาดาและอดีตภรรยาของท่านพระยสะ
1) ทานกถา คือ เรื่องการให้ทาน
2) สีลกถา คือ เรื่องการรักษาศีล
3) สัคคกถา คือ เรื่องทิพยสมบัติบนสวรรค์ อันเป็นผลจากการให้ทานและรักษาศีล
4) โทษความต่ำทราม ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย
5) อานิสงส์ในความออกจากกาม
จากนั้นพระพุทธองค์ก็ตรัสเรื่องอริยสัจ 4 ขณะที่ทรงแสดงอริยสัจ 4 อยู่นั้น ดวงตาเห็นธรรม
ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็น
ธรรมดาได้เกิดแก่นางทั้งสอง
เมื่อมารดาและภรรยาเก่าของท่านพระยสะได้เห็นธรรม คือบรรลุเป็นพระโสดาบันแล้ว ได้ทูล
คำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ภาษิตของพระองค์
ไพเราะนัก พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่าคนมีจักษุเห็นรูป
หม่อมฉันทั้งสองนี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์
จงทรงจำหม่อมฉันทั้งสองว่า เป็นอุบาสิกา ผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป”
มารดาและภรรยาเก่าของท่านพระยสะจึงได้เป็นอุบาสิกา ผู้ขอถึงและเข้าถึงพระรัตนตรัยเป็น
ชุดแรกในโลก คำว่าเข้าถึงพระรัตนตรัยคือการได้เข้าถึงพระธรรมกายโสดาบันนั่นเอง
8.2.3 วิธีการเป็นอุบาสก อุบาสิกาในปัจจุบัน
การเป็นอุบาสก อุบาสิกาผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งในปัจจุบันเรียกว่า “การแสดงตนเป็น
พุทธมามกะ” คำว่า “พุทธมามกะ” ได้แก่ “ผู้นับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์” จะเห็นว่ามีความหมาย
อย่างเดียวกันกับคำว่าอุบาสก อุบาสิกา ธรรมเนียมการแสดงตนเป็นพุทธมามกะมีขั้นตอนการปฏิบัติ
โดยย่อดังนี้
1) แจ้งความประสงค์ของตนแก่พระสงฆ์ ณ วัดในวัดหนึ่ง นัดหมายวันเวลาที่จะมาแสดงตนเป็น
พุทธมามกะ แล้วให้จัดเตรียมสิ่งของตามที่พระสงฆ์แนะนำ
2) เมื่อถึงวันที่นัดหมายกันไว้ ให้ผู้จะแสดงตนเป็นพุทธมามกะ นุ่งขาว ห่มขาว หรือแต่งเครื่อง
แบบของตนให้เรียบร้อยแล้วไปยังบริเวณพิธี
3) ให้ผู้แสดงตนเข้าไปคุกเข่าหน้าโต๊ะหมู่บูชา จุดธูปเทียน และวางดอกไม้บูชาพระ ส่งใจระลึก
- พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส, มก. เล่ม 65 ข้อ 195 หน้า 612-614.
222 DOU บ ท ที่ 8 อุ บ า ส ก อุบาสิกา : ผู้นั่งใกล้ พระรัตนตรัย