ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ 9
ศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลก
9.1 ศูนย์กลางของศาสนาคืออะไร
ศูนย์กลางของศาสนา หมายถึง องค์กร หรือ วัด ที่มีความพร้อมทั้งเรื่องสถานที่ บุคลากร และ
ระบบบริหารจัดการเพื่อรองรับการมาประชุมกันในโอกาสต่าง ๆ ของศาสนิกในศาสนานั้น ๆ หรือบาง
ศาสนาก็ใช้เป็นศูนย์กลางในการบริหารงานเป็นหลักเพราะสถานที่ไม่ใหญ่โตพอจะรองรับศาสนิกจำนวนมากได้
เช่น นครรัฐวาติกันของศาสนาคริสต์ เป็นต้น
ปกติองค์กร หรือ วัด ที่จะเป็นศูนย์กลางของศาสนาต่าง ๆ ควรจะต้องมีสถานที่ที่กว้างขวางพอ
สมควรเพื่อให้สามารถรองรับศาสนิกจำนวนมากจากทั่วทุกมุมโลกได้ อีกทั้งยังต้องมีบุคลากรที่มีความรู้
ความสามารถในการบริหารจัดการองค์กรนั้น ๆ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางทางศาสนาได้อย่างสมบูรณ์
ศูนย์กลางของศาสนามีความสำคัญในฐานะช่วยสร้างเอกภาพให้เกิดขึ้นแก่ศาสนิกในศาสนานั้น ๆ
เป็นศูนย์แห่งการประชุม การจัดกิจกรรม ตลอดจนการติดต่อประสานงานโครงงานต่าง ๆ เป็นฐานทัพใหญ่
สำหรับขับเคลื่อนงานพระศาสนาให้เจริญก้าวหน้า
ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลายยังจักประชุมกันเนืองๆ จักพร้อมเพรียงกันประชุม
จักพร้อมเพรียงกันเลิกประชุม จักพร้อมเพรียงกันทำกิจที่สงฆ์พึงทำ ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึง
หวังความเจริญอย่างเดียวหาความเสื่อมมิได้”
พุทธดำรัสนี้ไม่ได้หมายถึงการประชุมเฉพาะพระภิกษุวัดใดวันหนึ่งเพียงอย่างเดียว แต่หมายรวม
ถึงการประชุมพุทธบริษัททั่วโลกอีกด้วย แต่จะทำเช่นนี้ได้จำเป็นจะต้องมีสถานที่อันเป็นศูนย์กลางทาง
ศาสนารองรับ
หากไม่มีศูนย์กลางของศาสนาแล้ว ศาสนิกทั่วโลกจะไม่เป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่รู้จักคุ้นเคยกันเพราะ
ไม่ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ต่างคนต่างอยู่ และอาจจะนำไปสู่การขัดแย้งกันเองอันเนื่องมาจากความไม่เข้าใจ
กันได้ เมื่อมีปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้น ทั้งปัญหาโดยรวมและปัญหาของแต่ละองค์กรหรือแต่ละหน่วยงาน ก็จะ
ไม่เกิดการร่วมแรงร่วมใจกันแก้ไขให้ลุล่วง ทำให้ศาสนานั้น ๆ เสื่อมสลายไปในเวลาอันรวดเร็ว
9.2 ศูนย์กลางของต่างศาสนาในปัจจุบัน
มีข้อสังเกตว่าศาสนาสำคัญ ๆ ในโลกต่างก็มีศูนย์กลางทางศาสนาทั้งสิ้น เช่น ศาสนาคริสต์ ศาสนา
อิสลาม และศาสนาฮินดู เป็นต้น ในที่นี้จะยกตัวอย่างเพียง 2 ศาสนาคือ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม
ดังนี้
244 DOU บ ท ที่ 9 ศูนย์ ก ล า ง พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า ข อ ง โ ล ก