ข้อความต้นฉบับในหน้า
ส่วนสาเหตุที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเลือกกรุงสาวัตถีเป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
มีอย่างน้อย 2 ประการ ดังนี้
ประการแรก คือ กรุงสาวัตถีมีอุปัฏฐากสำคัญอยู่ 2 ท่าน คือ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีและมหา
อุบาสิกาวิสาขา ทั้งสองท่านนี้ได้บริจาคทรัพย์จำนวนมากเพื่อสร้างวัดพระเชตวันและวัดบุพพาราม โดย
เฉพาะวัดพระเชตวันนั้นต้องใช้เงินปูเรียงเคียงกันเต็มพื้นที่เพื่อซื้อที่ดินสร้างเป็นวัด จึงแสดงให้เห็นว่าวัด
พระเชตวันนี้ต้องมีความสำคัญมาก และไม่มีปรากฏว่าเมื่อครั้งพุทธกาลมีการทุ่มทุนสร้างวัดอื่นใดมากเท่านี้
ประการที่สอง คือ สถานการณ์ทางการเมืองเปลี่ยนไป กล่าวคือ แต่เดิมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เริ่มต้นประกาศพระศาสนาที่กรุงราชคฤห์ อันมีพระเจ้าพิมพิสารเป็นองค์อุปภัมภ์สำคัญ และเป็นพระราชา
มหาอำนาจสูงสุดในยุคนั้น แต่เมื่อพระองค์สวรรคตด้วยการทำปิตุฆาตของพระเจ้าอชาตศัตรูแล้ว ทำให้
สถานะทางการเมืองของกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ อ่อนแอลง จึงส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของพระพุทธ
ศาสนาด้วย
ส่วนกรุงสาวัตถีนั้นมีพระเจ้าปเสนทิโกศลซึ่งถือเป็นพระราชาระดับมหาอำนาจเช่นกัน และ
พระองค์ก็มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างเปี่ยมล้น ทรงมีพระชนมายุเท่ากับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
นั่นคือ
อยู่ในวัยเดียวกัน และสถานะทางการเมืองตอนนั้นมั่นคงกว่ากรุงราชคฤห์มาก จึงทำหน้าที่อุปภัมภ์
พระพุทธศาสนาได้ดีกว่า แม้ภายหลังพระเจ้าอชาตศัตรูจะหันมาศรัทธาในพระพุทธศาสนา แต่เพราะความ
ระส่ำระส่ายจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทำให้การสนับสนุนพระพุทธศาสนาไม่ดีเท่าเดิม นี้จึงเป็น
เหตุผลสำคัญในการใช้กรุงสาวัตถีเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาในช่วง 25 พรรษาสุดท้ายของ
พระพุทธองค์
จุดประสงค์ในการมีศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาคือ เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพให้เกิดขึ้นแก่
พระพุทธศาสนา เพราะเป็นแหล่งแห่งการประชุมรวมกันของพุทธบริษัททั้ง 4 และที่สำคัญยังช่วยให้การ
สื่อสารข้อมูลมีประสิทธิภาพอีกด้วย โดยกรุงสาวัตถีนั้นเป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดข้อมูลไปสู่ส่วนภูมิภาค
พุทธวิธีนี้เป็นหัวใจสำคัญยิ่งต่อการรักษาและสืบทอดพระธรรมวินัยมาได้จนถึงยุคปัจจุบัน
เนื่องจากในช่วงปฐมโพธิกาลนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและคณะสงฆ์รุ่นบุกเบิกได้เผยแผ่พระ
ธรรมคำสอนไปตามหัวเมืองต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง มีกุลบุตรศรัทธาออกบวชกันจำนวนมาก เมื่อบวช
แล้วก็ถูกส่งออกไปประกาศพระศาสนายังท้องถิ่นต่าง ๆ ในระหว่างนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็แสดงธรรม
และบัญญัติพระวินัยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อีกทั้งระบบการสื่อสารยุคนั้นก็ไม่ทันสมัย ไม่มีโทรทัศน์ ไม่มีอินเตอร์เน็ต
ไม่มีโทรศัพท์มือถืออย่างในปัจจุบัน หากไม่มีศูนย์กลางในการถ่ายทอดข้อมูลแล้ว จะทำให้เกิดปัญหาตาม
มามากมาย เช่น พระภิกษุผู้ออกไปเผยแผ่จะไม่รู้ว่าพุทธบัญญัติข้อใหม่ ๆ มีอะไรบ้าง เมื่อไม่รู้ก็มีโอกาส
ทำผิดศีลได้ง่าย และที่สำคัญถ้าภิกษุถือศีลไม่เท่ากัน และมีทิฏฐิในธรรมะไม่ตรงกัน ก็จะสร้างความ
แตกแยกให้เกิดขึ้นได้
แต่เมื่อมีวัดที่เป็นศูนย์กลางอย่างพระเชตวันแล้ว ทำให้ปัญหาดังกล่าวลดน้อยลง กล่าวคือ ภิกษุ
250 DOU บ ท ที่ 9 ศูนย์ ก ล า ง พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า ข อ ง โ ล ก