การรู้แจ้งในธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 155
หน้าที่ 155 / 270

สรุปเนื้อหา

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อธิบายว่า วิญญูชนจะรู้แจ้งในธรรมได้เฉพาะตนเท่านั้น โดยไม่สามารถให้ผู้อื่นเข้าใจในสิ่งที่ตนไม่เคยสัมผัสได้ เช่น การเปรียบเทียบการรับประทานอาหารหรือผลไม้ จากนั้นได้ตรัสว่า ธรรมที่พระองค์บอกนั้นมีจุดประสงค์เพื่อให้รู้แจ้งในทุกข์และหนทางสู่การตรัสรู้และนิพพาน การปฏิบัติตามธรรมของพระองค์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่ทุกคนควรทำความเพียรเพื่อรู้แจ้งตามความเป็นจริง

หัวข้อประเด็น

-การรู้แจ้งในธรรม
-การปฏิบัติธรรม
-ประโยชน์ของการเข้าใจในธรรม
-พระธรรมทั้งหมดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ข้อความต้นฉบับในหน้า

คือยิ่งถือปฏิบัติเรื่อยไปไม่ละวางเสีย 6) อธิบายธรรมคุณบทว่า ปจฺจตฺต์ เวทิตพฺโพ วิญญูหิ ปญฺจตฺต์ เวทิตพฺโพ วิญญูหิ แปลว่า อันวิญญูพึงรู้เฉพาะตน คำว่า วิญญูชน คือ ผู้รู้แจ้ง หมายถึง ธรรมของพระองค์นั้นวิญญูชนจะพึงรู้แจ้งได้เฉพาะตน ข้อนี้คล้ายกับสันทิฏฐิโกที่กล่าวข้างต้น ต่างแต่ว่า ข้อนั้นกล่าวถึงอาการเห็น ส่วนข้อนี้กล่าวถึงอาการรู้ กล่าวคือ ผู้ปฏิบัติตามธรรมของพระองค์ จะรู้ได้ด้วย ตนเองว่าธรรมนั้นดีจริงอย่างไร ผู้อื่นจะพลอยรู้ด้วยไม่ได้ เปรียบเหมือนกับที่เรารับประทานอาหาร เราอิ่มก็อิ่มด้วยตัวเราเอง คนอื่นที่ไม่ได้รับประทานจะ อิ่มด้วยไม่ได้ คนที่ไม่เคยกิน “มะม่วงมัน” เลย ถามเพื่อนว่า มะม่วงมันแบบไหน เพื่อนบอกว่า มันแบบมะม่วง เขาถามต่อว่ามันแบบมะม่วงมันอย่างไร มันเหมือนมันแกวไหม เพื่อนบอกว่า ไม่เหมือน มันเหมือนกินถั่วไหม เพื่อนตอบว่าไม่เหมือน แล้วคนถามก็ถามว่า แล้วมันเหมือนอะไร คนที่เคยกินก็ตอบว่า มันเหมือนมะม่วงมัน คนถามก็ถามอีกว่า แล้วจะรู้ได้อย่างไร คนที่เคยกินก็ตอบว่า ก็ต้องลองกินดูเอง 6.3 ภาพรวมพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้งหนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ สีสปาวัน เขตกรุงโกสัมพี ครั้งนั้นพระองค์ทรงหยิบ ใบประดู่ลาย 2-3 ใบขึ้นมา แล้วตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า “ใบประดู่ลาย 2-3 ใบที่เราหยิบขึ้นมากับใบที่อยู่ บนต้น อย่างไหนจะมากกว่ากัน” ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ใบที่อยู่บนต้นไม้นั้นแลมากกว่า ใบประดู่ลาย 2-3 ใบที่พระองค์ทรง หยิบขึ้นมามีเพียงเล็กน้อย พระพุทธเจ้าข้า” พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เรารู้แล้วแต่มิได้บอกเธอทั้งหลายก็มีมากเหมือนกัน เพราะเหตุไรเราจึงมิได้บอก เพราะสิ่งนี้ไม่มีประโยชน์ ... ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน ... เราจึงมิได้บอก สิ่งอะไรเล่าที่เราบอกแล้ว คือ เราได้บอกว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เพราะเหตุไร เราจึงบอก เพราะสิ่งนี้มีประโยชน์... เป็นไปเพื่อตรัสรู้ เป็นไปเพื่อนิพพาน.... เราจึงบอก ภิกษุทั้งหลาย เพราะ เหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” จากพระดำรัสนี้ทำให้เราทราบว่า “พระธรรมทั้งหมด” ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือ “ทุกข์ - พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต, อธิปไตยสูตร, มก., เล่ม 34 ข้อ 479 หน้า 186. * พ.สถิตวรรณ (พิจิตร ฐิตวณฺโณ) (2547), ความสำคัญของพระรัตนตรัย, หน้า 164. * พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค สีสปาวนวรรค, สีสปาวนสูตร, มจร., เล่ม 19 ข้อ 1101 หน้า 613. บทที่ 6 พระ ธ ร ร ม : คำสั่ง ส อ น ข อ ง พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เจ้า DOU 145
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More