คำกล่าวถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 108
หน้าที่ 108 / 270

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายคำต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เช่น พระศาสดา, พระพิชิตมาร, พระอรหันตอนันตชินะ, และความหมายของคำว่า 'นิพพาน' ซึ่งแสดงถึงการชนะกิเลสในการเข้าถึงความเป็นอรหันต์ เรื่องราวนี้มีความสำคัญในการเข้าใจแนวทางและหลักการของพระพุทธศาสนาและการปฏิบัติธรรมของพระองค์ที่ชี้นำให้ผู้คนสามารถทำความเข้าใจถึงธรรมชาติของการหลุดพ้น

หัวข้อประเด็น

-คำกล่าวถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
-การตีความชื่อและนามของพระองค์
-ความสำคัญของนิพพานในการพุทธศาสนา
-คำว่าพรหมกายและธรรมกาย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

“เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ” เมื่อกล่าวคำนี้จึงเป็นการแสดงความเคารพต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง (4) พระศาสดา คำว่า ศาสดา แปลว่า ผู้อบรมสั่งสอน ในปัจจุบันใช้เรียกผู้ตั้งศาสนา (5) พระพิชิตมาร คำว่า พิชิตมาร แปลว่า ผู้ชนะมาร เหตุที่ได้ชื่อนี้เพราะว่าก่อนตรัสรู้ทรง เอาชนะเหล่ามารต่าง ๆ ที่มาขัดขวางพระองค์ได้ (6) พระอรหันตอนันตชินะ พระนามนี้นักบวชชื่ออุปกาชีวกเคยถามพระองค์ว่า “เหตุใดท่านจึง ปฏิญาณว่าเป็น “อรหันตอนันตชินะ” พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า “ผู้ที่ถึงอาสวักขัยเช่นเรา ย่อมเป็นผู้มีนามว่า ชินะ เพราะเราชนะบาปธรรมทั้งหลายแล้ว ** ส่วน คำว่า“นิพพาน เรียกว่า อนันตะ” กล่าวคือ เมื่อชนะ กิเลสก็ได้ถึงนิพพานนั่นเอง (7) พระชินเจ้า คือ ผู้พึงชนะมาร อีกนัยหนึ่งคือ ผู้ชนะบาปธรรม (8) พระชินสีห์ คือ ผู้มีชัยชนะดุจราชสีห์ ราชสีห์เป็นราชาแห่งสัตว์ทั้งหลายฉันใด พระสัมมา สัมพุทธเจ้าก็เป็นราชาแห่งมนุษย์และเทวดาทั้งปวง ฉันนั้น (9) พระสัพพัญญูพุทธเจ้า คำว่า สัพพัญญู แปลว่า ผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง หมายความว่า พระสัมมา สัมพุทธเจ้าเป็นผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่างนั่นเอง แต่ไม่ได้รู้ทุกอย่างตลอดเวลา กล่าวคือ เมื่อทรงประสงค์จะรู้ เรื่องใด ก็ตรวจดูเรื่องนั้นเป็นเรื่อง ๆ ไป (10) พระพุทธองค์ เป็นสรรพนามบุรุษที่ 3 คือเป็นคำแทนชื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (11) พรหมกาย อรรถกถากล่าวไว้ว่า “ชื่อว่าพรหมกายเพราะมีธรรมเป็นกายนั่นเอง แท้จริง พระ ธรรมท่านเรียกว่าพรหม เพราะเป็นของประเสริฐ” (12) ธรรมภูต อรรถกถากล่าวไว้ว่า ธรรมภูต ได้แก่ ทรงมีธรรมเป็นสภาพ (13) ธรรมกาย คือ พุทธรัตนะภายในตัว พระโพธิสัตว์ทั้งหลายตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เพราะได้เจริญสมาธิภาวนาจนเข้าถึงธรรมกายในตัว (14) พรหมภูต อรรถกถากล่าวไว้ว่า พรหมภูต ได้แก่ ทรงเป็นผู้ประเสริฐสุดเป็นสภาพ (15) ตถาคต เรียกว่า “ตถาคต เพราะว่า ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรมอันแท้ตามเป็นจริง, เรียกว่า ตถาคต เพราะทรงเห็นแท้จริง, เรียกว่า ตถาคต เพราะตรัสวาจาจริง, เรียกว่า ตถาคต เพราะทรงทำ จริง ...” 358 2 3 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส, มจร. เล่ม 29 ข้อ 84 หน้า 248. *พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์, ปาสารสิสูตร, มก. เล่ม 18 ข้อ 325 หน้า 424. 4 วิสุทธชนวิลาสินี อรรถกถาขุททกนิกาย อปทาน, มก. เล่ม 71 หน้า 203. อปรทุติยคาถาสังคณิก วัณณนา, อรรถกถาพระวินัยปิฎก, มก. เล่ม 10 หน้า 935. 5 สุมังคลวิลาสินี อรรถกถาทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค, มก. เล่ม 15 หน้า 176. 6 อรรถกถาอังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต, อรรถกถาตติยอธรรมสูตร, มก. เล่ม 38 หน้า 370. 8 อรรถกถาอังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต, อรรถกถาตติยอธรรมสูตร, มก. เล่ม 38 หน้า 370. ปปัญจสูทนี อรรถกถามัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์, อรรถกถาปริยายสูตร, มก. เล่ม 17 หน้า 105. 98 DOU บทที่ 5 พ ร ะ พุ ท ธ : พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุท ธเจ้า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More