ข้อความต้นฉบับในหน้า
คือกิเลสน้อย สัตว์มีธุลีคือกิเลสมาก สัตว์มีอินทรีย์กล้า สัตว์มีอินทรีย์อ่อน....”
จริตอัธยาศัยนี้เป็นสิ่งที่สัตว์โลกสั่งสมอยู่ในใจมาข้ามภพข้ามชาติ ดังนั้น โดยสรุปแล้ว
สัตวโลกจึงหมายเอาการหยั่งรู้ใจของสัตว์โลกว่ามีความแตกต่างกันไปนั่นเอง เมื่อจะสอนธรรมก็ต้องสอน
ให้ตรงกับจริตอัธยาศัยของเขาเหล่านั้น
โอกาสโลก หมายถึง สถานที่อยู่ของสัตว์ทั้งหลาย ได้แก่ โลกมนุษย์ที่เราอาศัยอยู่รวมทั้ง
จักรวาลด้วย ดังที่บันทึกไว้ว่า “จักรวาล ชื่อว่าโอกาสโลก” คำว่า จักรวาล ภาษาในปัจจุบันเรียกว่า กาแล็กซี
ซึ่งเป็นความรู้ที่นักดาราศาสตร์เพิ่งค้นพบเมื่อประมาณ 400 ปีที่ผ่านมา แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเรื่อง
จักรวาลและอนันตจักรวาลมากว่า 2,500 ปีแล้ว ดังพระดำรัสที่ว่า “สิ่งที่นับไม่ได้ มีที่สุดที่บุคคลรู้ไม่ได้ 4
อย่าง คือ หมู่สัตว์, อากาศ, อนันตจักรวาล, พระพุทธญาณที่หาประมาณมิได้...” ด้วยเหตุนี้พระองค์จึง
ได้ชื่อว่ารู้แจ้งโลก
6) อธิบายพุทธคุณบทว่า อนุตฺตโร ปุริสทมุมสาร
คำว่า อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถ แปลว่า เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่พอจะฝึกได้ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
กล่าวคือ พระองค์มีพระปรีชาญาณเฉลียวฉลาดในอันที่จะฝึกสอนคนให้เป็นคนดีได้ หรือ ให้สามารถบรรลุ
มรรคผลนิพพานได้ พระองค์มีกุศโลบายสอนต่าง ๆ นานา สุดแล้วแต่จะทรงพิจารณาเห็นว่า บุคคลจำพวกใด
มีนิสัยอย่างไร ก็ทรงใช้กุศโลบายสอนให้ตรงกับนิสัย
ตัวอย่างเช่น ชฎิลสามพี่น้องและบริวารซึ่งเคยบูชาไฟมาก่อน พระองค์จึงทรงเทศน์
อาทิตตปริยายสูตรว่าด้วยธรรมที่แสดงถึงของร้อนแก่ชฎิลเหล่านั้น จนบรรลุเป็นพระอรหันต์กันทั้งหมด
หรือกรณีพระนันทะ ผู้มีราคะจริต พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนำท่านไปสู่ภพดาวดึงส์ เพื่อไปดูเทพนารีทั้งหลาย
และทรงรับประกันว่าหากพระนันทะตั้งใจบำเพ็ญสมณธรรม ถ้าละโลกขณะที่ยังไม่หมดกิเลสก็จะได้นางฟ้า
เป็นภรรยา ท่านพระนันทะจึงตั้งใจบำเพ็ญสมณธรรม และสุดท้ายก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ หมดความต้องการ
ด้วยนางฟ้าไปโดยปริยาย
7) อธิบายพุทธคุณบทว่า สตฺถา เทวมนุสสาน
สตฺถา เทวมนุสสาน แปลว่า เป็นพระศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พระสัมมา
สัมพุทธเจ้าไม่ได้เป็นศาสดาของมนุษย์เท่านั้น แต่ยังเป็นศาสดาของเทวดาด้วย ดังที่ปรากฏในพุทธกิจ
- ปรมัตถโชติกา อรรถกถาขุททกนิกาย สุตตนิบาต มก. เล่ม 47 หน้า 531.
“มธุรัตถวิลาสินี อรรถกถาขุททกนิกาย พุทธวงศ์ มก. เล่ม 73 หน้า 213.
* ปรมัตถทีปนี อรรถกถาขุททกนิกาย อุทาน มก. เล่ม 44 หน้า 362,
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ รตนจังกมนกัณฑ์ มจร. เล่ม 33 ข้อ 64 หน้า 564.
* ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล อรรถกถาพระวินัยปิฎก มก. เล่ม 1 หน้า 201-203.
*พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต, เวนาคสูตร, มก.เล่ม 34 ข้อ 503 หน้า 300.
บทที่ 5 พ ร ะ พุ ท ธ : พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุทธเจ้า DOU 105