ข้อความต้นฉบับในหน้า
6.7 กฎแห่งกรรมในพระพุทธศาสนา
ในหัวข้อนี้จะกล่าวเพิ่มเติมจากหัวข้อ 3.2.3 ของบทที่ 3 อีก 5 ประเด็นคือ วิบากแห่งกรรมเป็น
เรื่องอจินไตย ระดับการให้ผลของกรรม สัตว์โลกแตกต่างกันเพราะกรรม ตัวอย่างผลของกรรมในปัจจุบัน
และกฎแห่งกรรมกับหลักวิทยาศาสตร์
6.7.1 วิบากแห่งกรรมเป็นเรื่องอจินไตย
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในอจินติตสูตรว่า “วิบากแห่งกรรม เป็นอจินไตยไม่ควรคิด ผู้ที่คิด ก็
จะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า” การรู้แจ้งในวิบากกรรมนั้นเป็นวิสัยของผู้เข้าถึง
พระธรรมกายในตัวด้วยการเจริญสมาธิภาวนา แล้วใช้จักษุและญาณทัสสนะของพระธรรมกายตรวจดู
ความเป็นไปแห่งเหตุและผลของกรรมและวิบากต่างๆ บุคคลทั่วไปที่ไม่เข้าถึงพระธรรมกายไม่อาจจะรู้แจ้งได้
เปรียบเสมือนเด็กอนุบาลไม่อาจจะเข้าใจความรู้ในขั้นสูงอย่างฟิสิกส์และแคลคูลัสได้
แม้บางเรื่องอาจจะพอตรองดูได้ เช่น เด็กที่ทำกรรมคือขยันเรียนหนังสือ ย่อมได้วิบากคือเรียน
หนังสือได้ดีขึ้น อันนี้เป็นเรื่องพื้นฐานที่พอตรองได้ แต่บางกรณีเกินวิสัยของชาวโลกทั่วไป ได้แก่ วิบาก
กรรมจากอดีตชาติ เป็นต้น ไม่ว่าจะคิดอย่างไรก็ไม่อาจจะทราบชัดว่า กรรมใดบ้างที่ส่งผลให้เรามีสภาพ
ชีวิตอย่างนี้ในปัจจุบัน ถึงแม้พอจะเทียบเคียงกับกรรมและวิบากบางอย่างในพระไตรปิฎกก็ยังไม่ชัดแจ้งอยู่ดี
เพราะกรรมที่มนุษย์แต่ละคนประกอบไว้ในอดีตชาติมีแตกต่างหลากหลาย และวิบากอย่างเดียวกันอาจมี
สาเหตุหลายประการ จึงไม่อาจรู้ได้อย่างแน่ชัดว่า กรรมใดเป็นต้นเหตุแห่งวิบากนั้น ๆ อุปมาเหมือนเวลา
เรารับประทานอาหาร จะมีกับข้าวหลายอย่าง อาหารเหล่านั้นก็จะแปรเปลี่ยนไปเป็นเลือดเป็นเนื้อ เราไม่
อาจจะระบุได้ว่า เนื้อส่วนไหนมาจากอาหารชนิดใด แต่รู้โดยรวม ๆ ว่ามาจากอาหารที่เรากินแต่ละมื้อ
ง
6.7.2 ระดับการให้ผลของกรรม
ระดับของวิบากหรือผลของกรรมที่กล่าวแล้วในบทที่ 3 นั้นกล่าวไว้ 2 ระดับ ได้แก่ ระดับแรก คือ
การเกิดขึ้นของบุญและบาปหลังจากได้ประกอบกุศลกรรมและอกุศลกรรม ระดับที่สอง คือ ผลของบุญ
และบาปนั้นจะส่งผลให้ผู้เป็นเจ้าของมีวิถีชีวิตไปตามกรรมต่าง ๆ ที่ทำเอาไว้
สำหรับในหัวข้อนี้จะขยายความระดับของวิบากกรรมออกเป็น 4 ระดับ คือ ระดับจิตใจ ระดับ
บุคลิกภาพ ระดับวิถีชีวิต และ ระดับปรโลก ดังนี้
1) ระดับจิตใจ ถ้าเป็นบุญก็จะทำให้สุขภาพใจดีขึ้นคือ เป็นสุขใจ มีใจเยือกเย็น ตั้งมั่น และ
สมรรถภาพของใจก็จะดีขึ้นด้วย คือ ใจจะสะอาดผ่องใส ใช้คิดเรื่องราวต่าง ๆ ได้รวดเร็ว ว่องไว ลึกซึ้ง กว้าง
ไกล รอบคอบ เป็นระเบียบ และตัดสินใจได้ฉับพลันถูกต้องไม่ลังเล ผลดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นเมื่อได้ทำกุศลกรรม
ได้แก่ ให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนาอย่างต่อเนื่อง
1
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิกาต, อจินติตสูตร, มก., เล่ม 35 ข้อ 77 หน้า 235,
บ ท ที่ 6 พระ ธ ร ร ม : คำสั่ง ส อ น ข อ ง พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เจ้า
DOU 167