ข้อความต้นฉบับในหน้า
จากภาพข้างต้นจะเห็นว่า ทานมัย สีลมัย และ ทานบารมี ศีลบารมี สงเคราะห์เข้ากันได้โดยตรง
เพราะมีชื่อเหมือนกัน
ส่วนเนมขัมมบารมีก็จัดอยู่ในสีลมัย เพราะเนกขัมมบารมีคือ การออกจากกาม ได้แก่การ
ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยการออกบวช เป็นต้น เมื่อออกบวชแล้วหากเป็นสามเณรก็ถือศีล 10 หากเป็น
พระภิกษุก็ถือศีล 227 ข้อ ส่วนผู้ที่ไม่ออกบวชก็ประพฤติพรหมจรรย์ได้โดยรักษาศีล 8
จะเห็นว่า ความเป็นเนกขัมมะอยู่ที่การประพฤติพรหมจรรย์ด้วยรักษาศีล 8 ศีล 10 และศีล 227
ซึ่งต่างจากศีล 5 ของผู้ที่ยังข้องอยู่ในกาม
สำหรับปัญญาบารมีจัดอยู่ในภาวนามัยเพราะการเจริญภาวนาถือเป็นการสร้างปัญญาบารมีที่ดีที่สุด
เป็นปัญญาที่สามารถกำจัดอวิชชาคือความไม่รู้ได้ ส่วนปัญญาอื่นนอกนี้ไม่อาจจะกำจัดอวิชชาที่เป็นต้นเหตุ
แห่งการเวียนว่ายตายเกิดได้ เป็นเพียงความรู้เบื้องต้นสำหรับสนับสนุนการสร้างบารมีและเป็นแนวทาง
แห่งการเจริญภาวนาเท่านั้น
ส่วนวิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี และอธิษฐานบารมี เป็นบารมีที่สนับสนุนการสร้างทาน
ศีล และภาวนา หากมีวิริยะคือความเพียร ขันติคือความอดทน สัจจะคือความเอาจริงเอาจัง และอธิษฐาน
คือการตอกย้ำปักใจมั่นต่อเป้าหมายแล้ว จะทำให้การสร้างทาน ศีล ภาวนาสำเร็จได้อย่างสมบูรณ์บริบูรณ์
แต่ถ้าไม่มีบารมีทั้ง 4 ประการคอยสนับสนุนแล้ว ไม่มีทางที่จะสร้างบุญกิริยาวัตถุประการต่าง ๆ ได้สำเร็จ
สำหรับ เมตตาบารมี และ อุเบกขาบารมี จัดอยู่ใน ทานมัย และ ภาวนามัย ได้ กล่าวคือ บุคคล
เมื่อให้ทาน ได้ชื่อว่ามีจิตเมตตาต่อผู้รับด้วยเพื่อหวังบุญกุศลด้วย และต้องยอมรับว่าตามปกติมนุษย์คนหนึ่ง
ไม่อาจจะให้ทานแก่ใครต่อใครได้ทั้งโลก ดังนั้น ใครก็ตามที่เราไม่ได้ให้ทานเพราะกำลังทรัพย์ไม่พอหรือ
เพราะเหตุอื่นใด เราก็ต้องวางอุเบกขาต่อคนเหล่านั้น
ส่วนที่จัดเมตตาบารมี และ อุเบกขาบารมีอยู่ในภาวมัยนั้น เพราะว่าในขั้นตอนของการเจริญ
สมาธิภาวนาจะมีการแผ่เมตตาอยู่ด้วย ปกติแล้วจะแผ่เมตตาในช่วงท้ายของการทำสมาธิ อีกทั้งผู้ที่
เจริญสมาธิภาวนาอย่างสม่ำเสมอจะทำให้มีจิตที่หนักแน่นมั่นคง ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งใดที่มากระทบ วางเฉย
ต่อนินทาและสรรเสริญได้ จึงได้ชื่อว่าเป็นการสร้างอุเบกขาบารมีไปด้วย
เพราะฉะนั้นการสร้างทาน ศีล ภาวนาเป็นประจำทุกวันอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ก็เท่ากับว่า
ได้สร้างบารมีทั้ง 10 ทัศไปในตัว และบารมี 10 ทัศเหล่านี้เมื่อมีมากเข้าก็จะกลั่นตัวไปเป็นอุปบารมี 10 ทัศ
และปรมัตถบารมี 10 ทัศตามลำดับ รวมทั้งหมดเป็น 30 ทัศ
3) ความสัมพันธ์ของมรรคมีองค์แปดกับบารมี 10 ทัศ
จากที่กล่าวแล้วว่ามรรคมีองค์ 8 แบ่งออกเป็น 2 ระดับคือ ระดับโลกิยะหรือโลกิยมรรค และ ระดับ
โลกุตระหรือโลกุตรมรรค ระดับโลกิยะคือมรรคที่เป็นส่วนแห่งบุญ ส่วนระดับโลกุตระ เป็นองค์มรรคที่
เกิดจากการเจริญสมาธิภาวนาจนเข้าถึงธรรมในระดับโลกุตตระ นั่นคือ ตั้งแต่พระธรรมกายโสดาบันเป็นต้นไป
เมื่อโลกิยมรรคเป็นมรรคที่เป็นส่วนแห่งบุญ กล่าวคือ เมื่อปฏิบัติมรรคเหล่านี้แล้วก็จะได้บุญ
160 DOU บ ท ที่ 6 พระ ธ ร ร ม : คำสั่ง ส อ น ข อ ง พ ร ะ สัมมา สัมพุทธเจ้า