สัมมาสัมพุทธเจ้าในพุทธวงศ์ GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 249
หน้าที่ 249 / 270

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาชีวิตและบารมีของอุบาสก อุบาสิกาที่เป็นเอตทัคคะในศาสนาพุทธ รวมถึงการที่พวกเขาได้เรียนรู้และปฏิบัติตามหลักธรรมต่างๆ ในการสวนแสงสว่างทางจิตวิญญาณ โดยมีการเน้นที่การสร้างบารมีผ่านการปฏิบัติทาน ศีล ภาวนา ซึ่งเป็นแม่บทสำคัญในการดำเนินชีวิตของชาวพุทธ นอกจากนี้ยังมีการแนะแนวการเรียนรู้วิชาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ เช่น SB 101 และ SB 202 เพื่อเสริมความเข้าใจในหลักธรรมและกิจวัตรของชาวพุทธ พร้อมทั้งเสนอกิจกรรมการประเมินหลังการเรียนการสอน.

หัวข้อประเด็น

-ชีวิตพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
-สร้างบารมีของอุบาสก อุบาสิกา
-หลักธรรมในการปฏิบัติ
-วิชาเกี่ยวกับพุทธศาสนา
-กิจกรรมการเรียนการสอน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ที่ 10 ใน 25 พุทธวงศ์ โดยสรุปคือ อุบาสก อุบาสิกาผู้เป็นเอตทัคคะด้านต่าง ๆ ในศาสนาของพระสมณโคดมสัมมา สัมพุทธเจ้านั้นจะได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรกในสมัยพระปทุมุตรสัมมาสัมพุทธเจ้าเหมือนกันทุกคน หลัง จากนั้นต้องสร้างบารมีอีก 1 แสนกัปความปรารถนาจึงสำเร็จ ซึ่งระหว่าง 1 แสนกัปนี้มีพระโพธิสัตว์มา ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 14 พระองค์ คือ พระสุเมธสัมมาสัมพุทธเจ้า จนถึงพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า หากชาติใดอุบาสก อุบาสิกาเหล่านี้ได้เจอพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น และมีโอกาสได้สั่งสมบุญอย่างใด อย่างหนึ่งกับพระองค์ ก็จะได้รับพุทธพยากรณ์สืบต่อกันเรื่อยมาว่า ความปรารถนาของอุบาสก อุบาสิกา ท่านนั้น ๆ จะสำเร็จในสมัยของพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า สำหรับอุบาสก อุบาสิกาทั่วไปที่ไม่ได้เป็น เอตทัคคะนั้นก็ต้องสร้างบารมีลักษณะเดียวกัน แต่ไม่พบข้อมูลว่า อุบาสก อุบาสิกาเหล่านี้ได้รับพุทธพยากรณ์ แต่อย่างใด สำหรับหลักธรรมที่ใช้เป็นแม่บทในการสร้างบารมีของอุบาสก อุบาสิกานั้นคือ อนุปุพพิกถา และ อริยสัจ 4 ซึ่งเป็นธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแก่อุบาสก อุบาสิกาอยู่เสมอ แต่ในเชิงปฏิบัติดัง ได้กล่าวแล้วในบทที่ 6 ว่า หากได้ปฏิบัติตามหลักบุญกิริยาวัตถุ 3 คือ ทาน ศีล ภาวนา ก็เท่ากับว่าได้ ปฏิบัติอนุปุพพิกถา อริยสัจ 4 รวมทั้งบารมี 10 ทัศไปในตัว ด้วยเหตุนี้ทาน ศีล ภาวนา จึงเป็นแม่บทที่ง่าย ที่สุดในการสร้างบารมีของอุบาสก อุบาสิกา แม่บทในการสร้างบารมีของอุบาสกอุบาสิกาหรืออีกนัยหนึ่งคือแม่บทในการฝึกตนของชาวพุทธนั้น นักศึกษาจะได้เรียนอย่างละเอียดในวิชา SB 101 วิถีชาวพุทธ อันเป็นวิชาที่ขยายความเรื่องทาน ศีล ภาวนา โดยตรง, วิชา SB 202 วัฒนธรรมชาวพุทธ ว่าด้วยรูปแบบหลักการ และวิธีการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน เพื่อการพัฒนานิสัยของชาวพุทธ, นอกจากนี้ยังมีวิชา GB 102 สูตรสำเร็จการพัฒนาตนเอง ซึ่งกล่าวถึง มงคลชีวิต 38 ประการ ตั้งแต่มงคลที่ 1 คือ ไม่คบคนพาล ถึง มงคลที่ 38 คือ จิตเกษม วิชานี้ได้ขยาย ความการฝึกตนของอุบาสก อุบาสิกาไว้อย่างละเอียด กิจกรรม หลังจากนักศึกษาได้ศึกษา บทที่ 8 อุบาสก อุบาสิกา : ผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย จบโดยสมบูรณ์แล้ว โปรดทำแบบประเมินตนเองหลังเรียนบทที่ 8 ในแบบฝึกปฏิบัติบทที่ 8 แล้วจึงศึกษาบทที่ 9 ต่อไป ท ที่ บ ท ที่ 8 อุ บ า ส ก อุบาสิกา : ผู้นั่ง ใกล้ พระรัตนตรัย DOU 239
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More