ข้อความต้นฉบับในหน้า
-ทานมัย หมายถึง บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน เช่น ตักบาตร ถวายปัจจัยไทยธรรม
หมายรวมถึงการให้อภัยทาน และให้ความรู้ที่เรียกว่า วิทยาทาน หรือ ธรรมทานด้วย
-สีลมัย หมายถึง บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล เช่น การรักษาศีล 5 ได้แก่ ไม่ฆ่าสัตว์
ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดโกหก และไม่ดื่มสุรา รวมทั้งศีลในดับสูงขึ้นไปคือ ศีล 8 และศีล
ของนักบวชด้วย
-ภาวนามัย หมายถึง บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา คำว่า “ภาวนา” แปลว่า “เจริญ”
หมายถึง การเจริญ “สมาธิ” หรือ การนั่งสมาธินั่นเอง
กุศลธรรมทั้ง 2 หมวดคือ กุศลกรรมบถและบุญกิริยาวัตถุสามารถสงเคราะห์กันได้ดังนี้
กายสุจริต และ วจีสุจริต สงเคราะห์เข้ากับ “ทาน” และ “ศีล” ในบุญกิริยาวัตถุ ในส่วน
ของศีลนั้นนักศึกษาคงเข้าใจดีเพราะมีเนื้อหาตรงกัน แต่สำหรับทานนั้นนักศึกษาหลายท่านอาจจะสงสัยว่า
จัดให้อยู่ตรงนี้ได้อย่างไร
จริง ๆ แล้วศีลนั้นก็จัดเป็นทานประเภทหนึ่ง กล่าวคือ การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ถือเป็นการ
ให้ความปลอดภัยในชีวิตแก่สัตว์ทั้งหลาย การงดเว้นจากการลักขโมยของที่ผู้อื่นถือเป็นการให้ความ
ปลอดภัยในทรัพย์สินแก่ผู้อื่น และการงดเว้นจากการประพฤติผิดในกามถือเป็นการให้ความปลอดภัยแก่
คู่ครองของผู้อื่น เป็นต้น นอกจากนี้บุคคลที่ให้ทานบ่อย ๆ ใจของเขาจะยิ่งใหญ่และจะไม่คิดขโมยทรัพย์สิน
ของคนอื่น เพราะแม้แต่ของตัวเองก็ยังสละให้คนอื่นได้ ดังนั้นการให้ทานก็จะช่วยส่งเสริมการรักษาศีลได้
เป็นอย่างดี
แต่ทั้งนี้บุญกิริยาวัตถุนั้นมีความหมายกว้างกว่ากุศลกรรมบถ 10 ตรงที่มีการกล่าวถึงการ
ให้วัตถุสิ่งของเป็นทานด้วย ได้แก่ การถวายปัจจัยไทยธรรมแก่พระภิกษุ เป็นต้น
มโนสุจริต สงเคราะห์เข้ากับ “ภาวนา” ในบุญกิริยาวัตถุ เพราะภาวนานั้นเป็นการบำเพ็ญ
เพียรเพื่อกำจัดกิเลสในใจ
และที่สำคัญคือ คู่ปรับของโลภะคือทาน คู่ปรับของโทสะคือศีล และคู่ปรับของโมหะคือภาวนา
หากได้ให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนาอยู่สม่ำเสมอ ก็จะช่วยลดกิเลสทั้ง 3 ตระกูลคือ โลภะ โทสะ และ
โมหะ ไปเรื่อย ๆ จนหมดในที่สุด
(2) ฝ่ายอกุศลกรรม หมายถึง กรรมฝ่ายชั่ว เป็นการกระทำที่บุคคลทำด้วยโลภะ โทสะ
โมหะ เป็นการกระทำที่มีโทษ เดือดร้อนในภายหลัง มีทุกข์เป็นผล
พฤติกรรมที่จัดเป็นอกุศลกรรม คืออกุศลกรรมบถ 10 สามารถแบ่งออก 3 ทาง ตามการ
กระทำที่เกิดขึ้นทางกาย วาจา และใจ ดังนี้คือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มจร. เล่ม 31 ข้อ 2 หน้า 414.
* สัทธัมมปกาสินี อรรถกถาขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มก. เล่ม 68 หน้า 48.
บ ท ที่ 3 ธ ร ร ม ช า ติ ข อ ง ชี วิ ต ท า ง พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า DOU 55