ข้อความต้นฉบับในหน้า
จิต มีชื่อเรียกหลายอย่างอาจจะเรียกว่า ใจ ก็ได้ หรือ มีชื่ออื่น ๆ อีกดังนี้
ๆ
“คำว่า ใจ ได้แก่ จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณ
ขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่เกิดจากวิญญาณขันธ์นั้น”
ดังนั้นตามข้อมูลที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎกหากกล่าวถึงจิต, ใจ, มโน หรือ มานัส เป็นต้น ก็ให้
ทราบว่าเป็นอย่างเดียวกัน
สรุปมนุษย์ประกอบขึ้นจากขันธ์ 5 โดยย่อแบ่งเป็น 2 กองคือ รูปขันธ์ หมายถึง ร่างกาย และ
นามขันธ์ หมายถึง จิต หรือ ใจ และใจนั้นไม่ได้เป็นอย่างเดียวกับสมองอย่างที่หลายคนเข้าใจกัน เพราะ
สมองเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย ส่วนใจเป็นอีกอย่างหนึ่งคนละส่วนกัน
ลำดับต่อไปจะได้อธิบายขยายความองค์ประกอบของรูปขันธ์และนามขันธ์ดังนี้
1) รูปขันธ์
คำว่า รูป แปลว่า สิ่งที่ต้องสลายไปเพราะปัจจัยต่าง ๆ อันขัดแย้ง
ๆ
ในเกวัฏฏสูตรและอรรถกถาติตถายตนสูตรกล่าวไว้ว่า “รูป” ประกอบด้วย ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ
เตโชธาตุ วาโยธาตุ และอากาศธาตุ
ธาตุ แปลว่า ทรงไว้” หมายถึง สิ่งที่ทรงสภาวะของมันอยู่เองตามธรรมดาของเหตุปัจจัย
ปฐวีธาตุ หมายถึง ธาตุดิน ได้แก่ สิ่งที่แขนแข็ง คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อ
ในกระดูกม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ฯลฯ
อาโปธาตุ หมายถึง ธาตุน้ำ ได้แก่ สิ่งที่เอิบอาบ ซึมซาบไป คือ ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ
มันข้นน้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ฯลฯ
เตโชธาตุ หมายถึง ธาตุไฟ ได้แก่ สิ่งที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อน คือ ธาตุที่เป็นเครื่องยังกายให้
อบอุ่น ยังกายให้ทรุดโทรม และธาตุที่เป็นเหตุให้ของที่กินย่อยไปด้วยดี ฯลฯ
วาโยธาตุ หมายถึง ธาตุลม ได้แก่ สิ่งที่พัดผันไป คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมใน
ท้องลมในลำไส้ ลมแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจเข้าออก ฯลฯ
อากาศธาตุ หมายถึง ช่องว่าง ได้แก่ สิ่งที่ว่าง ปรุโปร่ง คือ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปากซึ่งเป็นทาง
ให้กลืนของที่กินที่ดื่ม เป็นที่ตั้งของที่กิน และเป็นทางระบายของที่กิน ฯลฯ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส ขัคควิสาณสุตตนิทเทส, มจร. เล่ม 30 ข้อ 136 หน้า 442.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส สารีปุตตสุตตนิทเทส, มก. เล่ม 66 ข้อ 946 หน้า 597.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส กามสุตตนิทเทส, มก. เล่ม 65 ข้อ4 หน้า 3
- พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค, เกวัฏฏสูตร, มก. เล่ม 12 ข้อ 343 หน้า 231,
มโนรถบูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย ติกนิบาต, อรรถกถาติตถายตนสูตร, มก. เล่ม 34 หน้า 284.
* พระธรรมกิตติวงศ์ (2550), ศัพท์วิเคราะห์, หน้า 337.
บ ท ที่
บ ท ที่ 3 ธ ร ร ม ช า ติ ข อ ง ชี วิ ต ท า ง พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า
DOU 37