ข้อความต้นฉบับในหน้า
รุดหน้าได้อย่างรวดเร็ว สามารถชำระใจให้สะอาดบริสุทธิ์จากสิ่งที่เป็นมลทินของใจคือกิเลสได้มากขึ้น
อันจะส่งผลให้บรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ในที่สุด
7.6.2 ความสัมพันธ์ของไตรสิกขากับคุณกโมคคัลลานสูตร
จริง ๆ แล้วขั้นตอนการฝึกตนของพระสงฆ์ในคุณกโมคคัลลานสูตรก็คือ ไตรสิกขาหรืออริยมรรค
แต่เป็นการขยายความและจัดลำดับขั้นตอนเพื่อให้ง่ายต่อการปฏิบัติมากขึ้น ในที่นี้จะ
มีองค์แปดนั่นเอง
เชื่อมโยงขั้นตอนทั้ง 6 เข้ากับหลักไตรสิกขาคือ ศีล สมาธิ ปัญญา ดังนี้
1) สำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์
2) คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
ศีล
3) รู้จักประมาณในโภชนะ
4) ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่
5) ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ
สมาธิ
6) เสพเสนาสนะอันสงัด
ปัญญา
ขั้นตอนที่ 1, 2 และ 3 จัดอยู่ในหมวด “ศีล” ของไตรสิกขา เพราะมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการ
รักษาศีล ส่วนขั้นตอนที่ 4, 5 และ 6 จัดอยู่ในหมวด “สมาธิ” ของไตรสิกขา เพราะมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับ
การเจริญสมาธิภาวนาโดยตรง ส่วน “ปัญญา” นั้นก็เป็นผลมาจากการเจริญสมาธิภาวนานั่นเอง
ขั้นตอนการฝึกตนของพระสงฆ์นั้นจะขยายความอย่างละเอียดใน “วิชา SB 303 แม่บทการฝึก
อบรมในพระพุทธศาสนา” ซึ่งจะมีการเชื่อมโยงคุณกโมคคัลลานสูตรอันเป็น “ขั้นตอนการฝึกตน” เข้ากับ
“ธัมมัญญูสูตร” ว่าด้วย “วิธีการฝึกตน” ในแต่ละขั้นตอนด้วย
7.6.3 การสร้างบารมีในอดีตชาติของพระอริยสงฆ์
การที่พระสมมติสงฆ์แต่ละรูปได้ปฏิบัติตามขั้นตอนการฝึกตนทั้ง 6 ประการดังที่กล่าวแล้ว แต่จะ
ได้บรรลุธรรมจนก้าวขึ้นเป็นพระอริยสงฆ์ในระดับต่าง ๆ ได้หรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับบารมีที่ได้สั่งสมมาใน
อดีตชาติเช่นเดียวกับพระโพธิสัตว์ทั้งหลายคือ หากบารมีมากพอที่จะเป็นพระอริยสงฆ์ในระดับใดได้ก็จะได้
บรรลุอริยภูมิในระดับนั้น ๆ เพราะบารมีเป็นฐานในการปฏิบัติธรรม หากบารมียังอ่อนอยู่ก็ไม่อาจจะก้าวขึ้น
เป็นพระอริยสงฆ์ได้ อย่างสูงก็ได้เป็นโคตรภูสงฆ์คือ ได้เข้าถึงพระธรรมกายโคตรภู่ซึ่งเป็นขั้นที่อยู่ใกล้
ความเป็นพระโสดาบัน
การสร้างบารมีเพื่อจะได้เป็นพระอริยสงฆ์นั้นจะใช้เวลาน้อยกว่าการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
กล่าวคือ หากปรารถนาตำแหน่ง “พระอัครสาวก” เช่น พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานเถระแล้ว ก็ต้อง
บทที่ 7 พระสงฆ์ : ส า ว ก ข อ ง พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เจ้า
DOU 203