ข้อความต้นฉบับในหน้า
ด้วยเหตุนี้พระสาวกที่ได้ตรัสรู้ตามพระพุทธองค์จึงมีคำเรียกว่า สาวกพุทธเจ้าบ้าง อนุพุทธเจ้าบ้าง
สุตพุทธเจ้าบ้าง พหุสุตตพุทธเจ้าบ้าง หมายถึง ผู้ได้เข้าถึงพระพุทธเจ้าในตัวหรือเข้าถึงพระธรรมกายในตัว
นั่นเอง
4) ธรรมกายนั้นเป็นบ่อเกิดของรัตนะทั้งหลาย ดังที่พระอัตถสันทัสสกเถระกล่าวไว้ว่า “อนึ่ง
พระพุทธเจ้าผู้ทรงแสดงธรรมกาย ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะทั้งสิ้น” คำว่ารัตนะในที่นี้ตามทัศนะของหลวงปู่
วัดปากน้ำนั้นหมายเอาพระรัตนตรัย เมื่อผู้ใดได้เข้าถึงพระธรรมกายซึ่งเป็น “พุทธรัตนะ” แล้ว ก็จะได้
เข้าถึง “ธรรมรัตนะ” และ “สังฆรัตนะ” ด้วย เพราะรัตนะทั้งสามนี้อาศัยซึ่งกันและกันและรวมเป็นอันหนึ่ง
อันเดียวกัน
4.4.2 พระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ ธรรมกาย
ๆ
ประเด็นที่ว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือธรรมกายในตัว ไม่ได้หมายถึงกายเนื้อของเจ้าชายสิทธัตถะ
นั้น มีหลักฐานอื่น ๆ อีกมาก เช่น ครั้งหนึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสกับพระวักกลิผู้มีศรัทธาจริตนิยมชม
ชอบในลักษณะมหาบุรุษของพระองค์ว่า “อย่าเลย วักกลิ ร่างกายอันเปื่อยเน่าที่เธอเห็นนี้ จะมีประโยชน์
อะไร ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นธรรม” ใน
อรรถกถาวักกลิสูตรอธิบายไว้ว่า “ธรรมกายแลคือพระตถาคต...” หมายถึงเมื่อพระวักกลิได้เข้าถึงธรรม
คือ พระธรรมกายในตัวก็ย่อมได้เห็นพระตถาคตเจ้า ส่วนร่างกายภายนอกอันเปื่อยเน่านั้นไม่ใช่พระตถาคต
ในสังฆาฏิสูตรพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ทำนองเดียวกันว่า
ๆ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ภิกษุจับชายสังฆาฏิแล้วจึงเป็นผู้ติดตามไปข้างหลัง ๆ เดินไปตามรอย
เท้าของเราอยู่ไซร้ แต่ภิกษุนั้นเป็นผู้มีอภิชฌาเป็นปกติ มีความกำหนัดแรงกล้าในกามทั้งหลาย มีจิตพยาบาท
. โดยที่แท้ ภิกษุนั้นอยู่ห่างไกลเราทีเดียว และเราก็อยู่ห่างไกลภิกษุนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้น
ย่อมไม่เห็นธรรม เมื่อไม่เห็นธรรมย่อมชื่อว่าไม่เห็นเรา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ภิกษุนั้นจึงอยู่ในที่ประมาณ 100 โยชน์ไซร้ แต่ภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่มีอภิชฌา
ไม่มีความกำหนัดอันแรงกล้าในกามทั้งหลาย ไม่มีจิตพยาบาท... มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว สำรวม
อินทรีย์โดยที่แท้ ภิกษุนั้นอยู่ใกล้ชิดเราทีเดียว และเราก็อยู่ใกล้ชิดภิกษุนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
ภิกษุนั้นย่อมเห็นธรรม เมื่อเห็นธรรมย่อมชื่อว่าเห็นเรา
ในอรรถกถาสังฆาฏิสูตรอธิบายไว้ว่า “โลกุตรธรรม 9 อย่าง ชื่อว่า ธรรม ก็เธอไม่อาจจะเห็นโลกุตร
ธรรมนั้นได้ด้วยจิตที่ถูกอภิชฌา เป็นต้น ประทุษร้าย เพราะไม่เห็นธรรมนั้นเธอจึงชื่อว่าไม่เห็นธรรมกาย” และ
3
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค มก., เล่ม 27 ข้อ 216 หน้า 276.
* สารัตถปกาสินี อรรถกถาสังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค, อรรถกถาวักกลิสูตร, มก., เล่ม 27 หน้า 283,
*พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ, สังฆาฏิสูตร, มก., เล่ม 45 ข้อ 272 หน้า 581.
* ปรมัตถทีปนี อรรถกถาขุททกนิกาย อิติวุตตกะ, อรรถกถาสังฆาฏิสูตร, มก., เล่ม 45 หน้า 583.
76 DOU บ ท ที่ 4 พ ร ะ รั ต น ต ร ย : แก่ น ข อ ง พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า