สามัญญผลเบื้องสูงและการสร้างบารมี GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 210
หน้าที่ 210 / 270

สรุปเนื้อหา

สามัญญผลเบื้องสูงคือผลอันสูงสุดของการบวชในพระพุทธศาสนา ที่สามารถเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัวและบรรลุวิชชา 8 ซึ่งรวมถึงวิปัสสนาญาณและเจโตปริยญาณ การฝึกตนของพระสงฆ์จะต้องผ่าน 6 ขั้นตอนตามหลักในคุณกโมคคัลลานสูตร เช่น สำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์ และคุ้มครองทวารในอินทรีย์ การสร้างบารมีจำเป็นต้องขัดเกลาอุปนิสัยและละอาการโกหก, โลภะ, โทสะ และโมหะ เพื่อที่จะเพิ่มบารมีให้สูงขึ้น เนื้อหาเหล่านี้ได้ถูกกล่าวถึงในบทที่ 5 และมีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้ในพระพุทธศาสนา

หัวข้อประเด็น

-สามัญญผลเบื้องสูง
-วิชชา 8
-การสร้างบารมี
-ขั้นตอนการฝึกตนของพระสงฆ์
-พระอริยสงฆ์
-คุณกโมคคัลลานสูตร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

3) สามัญญผลเบื้องสูง สามัญญผลเบื้องสูงเป็นผลขั้นสูงสุดของการบวชในพระพุทธศาสนาคือการได้เข้าถึงพระ รัตนตรัยในตัว และได้บรรลุวิชชา 8 อันเป็นคุณวิเศษต่าง ๆ ได้แก่ วิปัสสนาญาณคือญาณที่ใช้ในการเจริญ วิปัสสนา, มโนมยิทธิคือมีฤทธิ์ทางใจ, อิทธิวิธีคือแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้, ทิพพโสตคือมีหูทิพย์, ทิพพจักขุคือ มีตาทิพย์, เจโตปริยญาณคือกำหนดรู้ใจผู้อื่นได้, ปุพเพนิวาสานุสติญาณคือระลึกชาติได้ และ อาสวักยญาณ คือกำจัดกิเลสให้หมดสิ้นได้ 7.6 การสร้างบารมีเพื่อเป็นพระอริยสงฆ์ ในหัวข้อนี้จะกล่าว 3 ประเด็นคือ ขั้นตอนการฝึกตนของพระสงฆ์ตามหลักในคุณกโมคคัลลานสูตร ความสัมพันธ์ของไตรสิกขากับคุณกโมคคัลลานสูตร และการสร้างบารมีในอดีตชาติของพระอริยสงฆ์สมัย พุทธกาล 7.6.1 ขั้นตอนการฝึกตนของพระสงฆ์ ได้กล่าวแล้วในบทที่ 5 ว่าการสร้างบารมีนั้นหากกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการฝึกฝนอบรมตนเองขัดเกลา นิสัยไม่ดีออกไป หมั่นสั่งบุญเพื่อละกิเลสทั้ง 3 ตระกูลคือ โลภะ โทสะ และโมหะให้ค่อย ๆ หมดไปจากใจ อันเป็นผลให้เกิดบุญและบารมีเพิ่มพูนมากขึ้นเรื่อย ๆ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสขั้นตอนการฝึกตนของพระสงฆ์เอาไว้ในคุณกโมคคัลลานสูตรอันเป็น พระสูตรที่ว่าด้วยการทูลถามปัญหาของคุณกโมคคัลลานพราหมณ์ว่า ในพระพุทธศาสนามีการศึกษาหรือ การฝึกตนที่เป็นลำดับขั้นตอนเช่นเดียวกับทางโลกหรือไม่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสตอบว่า ในพระพุทธ ศาสนาก็มีการศึกษาหรือฝึกตนอย่างเป็นลำดับขั้นตอนเช่นกันและได้ตรัสถึงขั้นตอนการฝึกฝนตนของ พระสงฆ์ไว้ 6 ขั้นดังนี้ 1) สำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์ 2) คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย 3) รู้จักประมาณในโภชนะ 4) ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่ 5) ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ 6) เสพเสนาสนะอันสงัด ขั้นตอนที่ 1 - 3 จัดอยู่ในหมวดปาริสุทธิศีล 4 ซึ่งได้อธิบายไว้แล้วในหัวข้อ 7.5.5 ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 สำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์ จัดเข้าในปาริสุทธิศีลข้อ 1) คือ ปาฏิโมกขสังวรศีล ได้แก่ ศีล 227 สิกขาบท ขั้นตอนที่ 2 คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย จัดเข้าในปาริสุทธิศีลข้อ 2) คือ อินทรียสังวรศีล ได้แก่ การสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ 200 DOU บ ท ที่ 7 พระสงฆ์ : ส า ว ก ข อ ง พ ร ะ สัมมา สัมพุทธเจ้า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More