การเปรียบเทียบในพระพุทธศาสนา GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 14
หน้าที่ 14 / 270

สรุปเนื้อหา

การเปรียบเทียบช่วยให้เราเข้าใจคุณค่าและหลักการของพระพุทธศาสนาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับที่เราเข้าใจความสูงต่ำของตัวเองได้จากการเปรียบเทียบกับคนอื่น ในการศึกษาพระพุทธศาสนา การเปรียบเทียบกับศาสนาอื่นจะทำให้เราเห็นคุณค่าสาระสำคัญของพุทธธรรม โดยในวิชานี้มีการศึกษาภาพกว้างของพระพุทธศาสนา สิ่งที่ควรเรียนรู้ และหลักธรรมทั้งหลายที่ช่วยให้มนุษย์พ้นทุกข์ รวมถึงผู้สนับสนุนศาสนาอย่างอุบาสก อุบาสิกา

หัวข้อประเด็น

-หลักการพื้นฐานของพระพุทธศาสนา
-การเปรียบเทียบและความเข้าใจในศาสนา
-การใช้ชีวิตตามหลักธรรม
-ภาพกว้างของพระพุทธศาสนา
-บทบาทของพระรัตนตรัย
-ศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เปรียบเทียบนี้ยังเป็นหลักการพื้นฐานแห่งทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ ซึ่งนำไปสู่การปฏิวัติวงการ วิทยาศาสตร์จากหน้ามือเป็นหลังมือมาแล้ว เราไม่อาจทราบว่าตัวของเราสูงหรือต่ำหากเราไม่ได้เปรียบเทียบกับคนอื่นถ้าเราเกิดและเติบโตในป่า โดยไม่ได้เจอคนอื่นเลย เราจะขาดความรู้ต่าง ๆ มากมาย คำว่า ตัวเราสูง ต่ำ หล่อ สวย ขี้เหร่ เป็นต้น จะไม่มีอยู่ในความคิดเรา เพราะในความรู้สึกของเรานั้นโลกทั้งโลกมีเราอยู่คนเดียว เราไม่ได้เห็นคนที่ ต่างจากเรา ทำให้ความรู้เกี่ยวกับตัวเราเองบางประการไม่แจ่มชัด เวลาที่นักศึกษามองดูกระจกหลายท่านอาจจะเคยคิดว่าตัวเองดูดีแล้ว แต่เมื่อใครก็ตามมายืนอยู่ ข้างหลังเรา ความคิดเราอาจจะเปลี่ยนไป บางคนอาจจะรู้สึกว่า ตัวเองดูดียิ่งขึ้น บางคนอาจจะเฉย ๆ แต่ บางคนอาจจะรู้สึกแย่ลงเนื่องจากได้เห็นความจริงอย่างชัดเจน เพราะในกระจกไม่ได้มีภาพเราคนเดียว แต่ มีภาพ 2 คนให้เปรียบเทียบกัน จริง ๆ แล้วหน้าตาเราก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากเดิม แต่ความรู้สึกของเราเปลี่ยน เพราะได้รู้ตำแหน่งที่แท้จริงว่า “หน้าตาของเราอยู่ตำแหน่งไหน” คือ ดีกว่าเขา เท่าเขา หรือด้อยกว่าเขา การศึกษาพระพุทธศาสนาก็เช่นกัน หากไม่ได้เปรียบเทียบกับศาสนาอื่นหรือศาสตร์อื่นบ้าง เราไม่อาจจะเข้าใจพระพุทธศาสนาได้อย่างแจ่มชัด และอาจจะไม่เห็นคุณค่าของพระธรรมคำสอนอีกด้วย เพราะไม่รู้ว่าพุทธธรรมดีอย่างไร เนื่องจากไม่มีคำสอนอื่นมาเทียบเคียง สำหรับการเปรียบเทียบและเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ปัจจุบันนั้น จะทำให้นักศึกษาเห็นว่า หลัก พุทธธรรมเป็นเรื่องใกล้ตัว และนำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ เนื้อหาหลักของวิชานี้มี 8 บท คือ บทที่ 2 ถึงบทที่ 9 ในบทที่ 2 กล่าวถึงภาพกว้าง ๆ ของ พระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธศาสนาคืออะไร ทำไมต้องศึกษาพระพุทธศาสนา และวิธีการศึกษา พระพุทธศาสนา เป็นต้น บทที่ 3 ว่าด้วยเรื่องธรรมชาติของชีวิตทางพระพุทธศาสนา กล่าวถึงร่างกายจิตใจและการ เวียนว่ายตายเกิดของมวลมนุษย์ บทที่ 4 ว่าด้วยเรื่องพระรัตนตรัยอันเป็นที่พึ่งที่ระลึกสูงสุดของมนุษย์ เป็นสรณะที่ช่วยให้มนุษย์พ้นทุกข์ได้ บทที่ 5, 6 และ บทที่ 7 เป็นการขยายความเรื่องพระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธคือพระสัมมา สัมพุทธเจ้า พระธรรมคือคำสอนของพระองค์ และพระสงฆ์คือสาวกของพระองค์ บทที่ 8 ว่าด้วยเรื่องอุบาสก อุบาสิกา คือผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย หรือผู้ให้การสนับสนุน พระพุทธศาสนา บทที่ 9 ว่าด้วยศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาแห่งโลก อันเป็นพุทธวิธีที่สร้างเอกภาพให้เกิดขึ้น แก่พุทธบริษัท และสร้างความแข็งแกร่งให้พระพุทธศาสนามากว่า 2,500 ปี 4 DOU บ ท ที่ 1 บทนำ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More