ปาราชิกและสังฆาทิเสสในพระวินัย GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 207
หน้าที่ 207 / 270

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับปาราชิกที่มี 4 สิกขาบท และสังฆาทิเสสที่มี 13 สิกขาบท โดยระบุความผิดและโทษที่เกิดขึ้นกับพระภิกษุที่ทำผิดพระวินัย นอกจากนี้ยังเน้นเรื่องการควบคุมและตรวจสอบตนเอง ซึ่งแตกต่างจากกฎหมายทางโลกที่ต้องได้รับการพิสูจน์ถึงจะถูกลงโทษ นับว่าเป็นหลักคำสอนที่สำคัญในพระพุทธศาสนา.

หัวข้อประเด็น

-ปาราชิก
-สังฆาทิเสส
-พระวินัย
-ความผิด
-โทษ
-การควบคุมตนเอง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ปาราชิก มี 4 สิกขาบทดังนี้ 1) ภิกษุใดเสพเมถุนธรรมโดยที่สุดแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ต้องอาบัติปาราชิก 2) ภิกษุใดลักขโมยทรัพย์ที่มีราคาตั้งแต่ 5 มาสก ขึ้นไป ต้องอาบัติปาราชิก 3) ภิกษุใดจงใจฆ่ามนุษย์ตายหรือพรรณนาคุณแห่งความตายจนผู้อื่นคล้อยตามแล้วฆ่าตัวตายต้อง อาบัติปาราชิก 4) ภิกษุใดกล่าวอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตนหากผู้ฟังเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิกยกเว้นภิกษุนั้น สำคัญผิดว่าตนมีคุณวิเศษ สังฆาทิเสส มี 13 สิกขาบทดังนี้ 1) ภิกษุใดจงใจทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส 2) ภิกษุใดมีจิตกำหนัดแล้วจับต้องร่างกายสตรี ต้องอาบัติสังฆาทิเสส 3) ภิกษุใดมีจิตกำหนัดแล้วพูดกับสตรีพาดพิงเมถุนธรรม ต้องอาบัติสังฆาทิเสส 4) ภิกษุใดมีจิตกำหนัดแล้วพูดกับสตรีให้บำเรอตนด้วยกาม ต้องอาบัติสังฆาทิเสส 5) ภิกษุใดชักสื่อให้ชายและหญิงเป็นสามีภรรยากันหรือเพื่ออยู่ร่วมกันชั่วคราวต้องอาบัติสังฆาทิเสส 6) ภิกษุใดสร้างกุฏิส่วนตัว โดยไม่ปฏิบัติตามระเบียบการสร้างกุฏิ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส 7) ภิกษุใดให้สร้างวิหารใหญ่เพื่อตัวเองโดยไม่ปฏิบัติตามระเบียบการสร้างวิหารที่วางไว้ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส 8) ภิกษุใดใส่ความภิกษุอื่นด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล ต้องอาบัติสังฆาทิเสส 9) ภิกษุใดอ้างเลศแล้วใส่ความภิกษุอื่นด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูลต้องอาบัติสังฆาทิเสส 10) ภิกษุใดพยายามทำให้สงฆ์แตกกัน แม้ภิกษุทั้งหลายตักเตือนในที่ประชุมสงฆ์ถึง 3 ครั้งแล้ว ยังไม่เลิกพฤติกรรมนั้น ต้องอาบัติสังฆาทิเสส 11) ภิกษุใดสนับสนุนภิกษุรูปที่พยายามทำให้สงฆ์แตกกัน แม้ภิกษุทั้งหลายตักเตือนในที่ประชุม สงฆ์ถึง 3 ครั้งแล้ว ยังไม่เลิกพฤติกรรมนั้น ต้องอาบัติสังฆาทิเสส 12) ภิกษุใดว่ายากสอนยาก แม้ภิกษุทั้งหลายตักเตือนในที่ประชุมสงฆ์ถึง 3 ครั้งแล้ว ยังไม่เลิก พฤติกรรมนั้น ต้องอาบัติสังฆาทิเสส 13) ภิกษุใดประจบคฤหัสถ์ แม้ภิกษุทั้งหลายเตือนในที่ประชุมสงฆ์ถึง 3 ครั้งแล้ว ยังไม่เลิก พฤติกรรมนั้นต้องอาบัติสังฆาทิเสส จุดเด่นประการหนึ่งของพระวินัยคือ เน้นการควบคุมและตรวจสอบตนเอง กล่าวคือ พระภิกษุที่ ไปทำผิดพระวินัยเข้าถือว่ามีความผิดต้องโทษนับตั้งแต่กระทำความผิด เช่น ไปเสพเมถุนเข้าก็จะอาบัติ ปาราชิกขาดจากความเป็นพระภิกษุทันที ไม่ว่าจะมีผู้อื่นรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ในขณะที่กฎหมายทางโลกจะต้อง โทษก็ต่อเมื่อผู้ทำผิดถูกจับได้และถูกพิจารณาลงโทษแล้ว บทที่ 7 พระสงฆ์ : ส า ว ก ข อ ง พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เจ้า DOU 197
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More