ข้อความต้นฉบับในหน้า
โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมุมสารถี สตฺถา เทวมนุสสานํ พุทโธ ภควา” ซึ่งเราท่องจนจำได้ขึ้นใจนั้นมี
ความหมายว่าอย่างไรบ้าง
1) อธิบายพุทธคุณบทว่า อรห์
คำว่า อรห์ ก็คือ พระอรหันต์ หมายถึง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นพระอรหันต์
คำว่า อรห์ แปลได้ 2 นัย คือ แปลว่า “ไกล” และ แปลว่า “ควร”
นัยแรกคือ ไกล หมายถึง ไกลจากกิเลส กล่าวคือ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นผู้ไกล คือ
ทรงดำรงอยู่ในพระคุณอันไกลแสนไกลจากกิเลส ซึ่งตรงข้ามกับปุถุชนที่ยังอยู่ใกล้ชิดกับกิเลส
นัยที่สองคือ ควร หมายถึง เป็นผู้ควรแก่ปัจจัย 4 และ เป็นผู้ควรได้รับการเทิดทูนบูชาไว้
เหนือสิ่งใดทั้งหมด ควรยึดมั่นพระองค์ท่านเป็นแบบอย่างแล้วตั้งใจปฏิบัติตามพระองค์
2) อธิบายพุทธคุณบทว่า สมฺมาสมฺพุทฺโธ
คำว่า สมฺมาสมฺพุทฺโธ ก็คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
คำว่า สมฺมาสมฺพุทฺโธ แปลว่า ตรัสรู้ธรรมทั้งปวงโดยชอบ และ ด้วยพระองค์เอง คือ
ไม่มีใครสอน หรือนัยหนึ่งว่า ตรัสรู้เองโดยถูกต้อง
คำสอนคือพระธรรมนั้นมาจากพระรัตนตรัยในตัวของพระพุทธองค์เอง ไม่ได้มีใครที่ไหน
มาดลบันดาลให้รู้ ส่วนในศาสนาเทวนิยมนั้นคำสอนหรือความรู้มาจากพระเจ้า ศาสดาเป็นเพียงสื่อกลาง
ในการถ่ายทอดความรู้มาสู่ศาสนิก เช่น พระเยซูกล่าวว่า “เรารู้จักพระเจ้า เพราะเรามาจากพระองค์ และ
พระองค์ทรงใช้เรามา... คำสอนของเราไม่ใช่ของเราเอง แต่เป็นของพระองค์ผู้ใช้เรามา” มุฮัมหมัดก็ได้
รับคำสอนคือเทวโองการจากพระอัลเลาะห์ใน 3 ทางคือ การดลบันดาลใจให้ทราบ พระองค์มาเข้าฝัน หรือ
ส่งเทวทูตมาบอก
ในศาสนายูดายบันทึกไว้ว่า โมเสสพาชาวยิวออกจากอียิปต์ข้ามทะเลแดงเพื่อไปสู่
คานาอันหรืออิสราเอลในปัจจุบัน เมื่อข้ามทะเลแดงแล้วได้เดินทางไปอีก 3 เดือนแต่ยังไม่ถึงคานาอัน ทำให้
พวกยิวท้อแท้กระด้างกระเดื่องไม่เชื่อฟังโมเสส และแตกความสามัคคีกัน โมเสสเห็นว่าขืนปล่อยไว้
เหตุการณ์จะลุกลามไปใหญ่ จึงขึ้นไปอยู่บนภูเขาซีไนยถึง 40 วัน เมื่อกลับลงมาโมเสสบอกชาวยิวว่า ตนได้
ขึ้นไปพบกับพระเจ้า ๆ สั่งให้นำคำสั่งสอนของพระองค์มาให้ชาวยิวทุกคนปฏิบัติ ใครจะขัดขืนไม่ได้ นั่นคือ
1
2
วัตถุปมสุตติ สุตฺตนฺตปิฏเก มชฺฌิมนิกายสฺส มูลปณฺณาสก์ ภาษาบาลี ฉบับสยามรัฐ เล่ม 12 ข้อ 95 หน้า 67-67.
* ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล พุทธคุณกถา อรรถกถาพระวินัยปิฎก, มก.เล่ม 1 หน้า 185,
3
พระภาวนาวิริยคุณ (2551), พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ, หน้า 35, 43
เวรัญชกัณฑวรรณนา อรรถกถาพระวินัยปิฎก, มก. เล่ม 1 หน้า 191.
4 รศ.ฟื้น ดอกบัว (2539), ศาสนาเปรียบเทียบ, หน้า 70.
5
รศ.ฟื้น ดอกบัว (2539), ศาสนาเปรียบเทียบ, หน้า 205
102 DOU บ ท ที่ 5 พ ร ะ พุ ท ธ : พ ร ะ สัมมา สัมพุทธเจ้า