การอุปมาเรื่องสังสารวัฏและการพิสูจน์ความจริงทางพุทธศาสตร์ GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 71
หน้าที่ 71 / 270

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการเปรียบเทียบสังสารวัฏว่าเป็นคุกที่ไม่มีกำแพง และภพภูมิเป็นกรงขังที่ให้ผลกรรมต่างๆ ตามที่เราได้กระทำมา รวมถึงความรู้พื้นฐานที่ทุกคนสามารถพิสูจน์ได้ และการพิสูจน์ความจริงในด้านละเอียดที่ต้องใช้ “ใจ” ซึ่งวิทยาศาสตร์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ พร้อมเป็นการชี้ให้เห็นว่าความรู้เหล่านี้สำคัญต่อการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข หัวข้อที่สำคัญรวมถึงการทำความเข้าใจธรรมชาติชีวิตตามพระพุทธศาสนา, ความเชื่อมโยงระหว่างกรรมและผลกรรม, และวิธีการพิสูจน์ความจริงจากมุมมองของพระพุทธศาสนา.

หัวข้อประเด็น

-การอุปมาเรื่องสังสารวัฏ
-การพิสูจน์ความจริงทางพุทธศาสตร์
-ความรู้ด้านหยาบและละเอียด
-กรรมและผลกรรม
-การใช้ใจในการศึกษาพุทธศาสตร์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

มีการอุปมาไว้ว่า สังสารวัฏเปรียบเสมือนคุกและแต่ละภพภูมิคือกรงขัง ซึ่งมีทั้งกรงขังสำหรับ พวกมีโทษมาก และกรงขังสำหรับพวกมีโทษน้อย จะต่างจากกรงขังในโลกตรงที่เมื่อใครเข้าสู่ภพภูมิไหนแล้ว ก็ต้องติดอยู่ในภพภูมินั้น ๆ ไปจนกว่า จะไม่มีการรื้อคดีขึ้นมาพิจารณาใหม่ ใครเข้าไปรับกรรมในภพภูมิใด จะถึงกำหนดพ้นโทษตามเหตุที่ก่อมา น คุกคือสังสารวัฏนั้น ไม่จำเป็นต้องมีตำรวจไว้คอยไล่ล่าลากคอนักโทษเพื่อมาขังไว้ในคุก เนื่องจาก เมื่อพ้นจากเขตขังเดิมออกไป ก็เป็นแดนเชื่อมต่อกับเขตขังใหม่ทันทีอยู่แล้ว ราวกับสังสารวัฏเป็น ทัณฑสถานที่ไร้ทางออกอย่างสิ้นเชิง สรรพสัตว์โดยมากในโลกคือนักโทษที่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองติดคุกอยู่ ถึงแม้บางคนพอจะรู้แต่ก็ไม่รู้ทางออกจากคุกคือสังสารวัฏนี้ ส่วนใหญ่มัวแต่ติดใจเครื่องล่อในคุกคือกามคุณ 5 นาน ๆ สักครั้งที่จะมีมหาบุรุษกำเนิดขึ้นเสาะแสวงหาทางออกจากสังสารวัฏจนพบ และนำสรรพสัตว์ แหกคุกไปได้ครั้งละหยิบมือเท่านั้น 3.3.5 การพิสูจน์ความจริงเรื่องจักรวาลและภพภูมิ คำสอนในพระไตรปิฎกนั้นมีอย่างน้อย 2 ประเภทคือ ความรู้ด้านหยาบ และความรู้ด้านละเอียด ความรู้ด้านหยาบคือความรู้พื้นฐานทั่วไปที่มนุษย์ทุกคนสามารถศึกษาทดลองพิสูจน์ให้เห็นผลในเวลาอันรวดเร็ว เช่น การรักษาศีล 5 เป็นเหตุให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่อย่างเป็นสุข กล่าวคือ ไม่ต้องกังวลว่า จะถูกจับกุม เพราะเหตุแห่งการลักขโมย เนื่องจากเราไม่เคยลักขโมยของใคร ไม่ต้องกังวลกับการตามจำเรื่องที่ได้ โกหกเอาไว้ เพราะเราไม่เคยโกหกใคร ไม่ต้องกังวลว่า จะประมาทเพราะเหตุแห่งสุราเพราะเราไม่ได้ดื่มสุรา ฯลฯ ส่วนความรู้ด้านละเอียด เช่น เรื่องนรก สวรรค์ เปรต เรื่องนิพพาน โลกันตนรก หรือคำสอนที่ว่า คนที่เกิดมาร่ำรวยในชาตินี้นั้นเพราะในอดีตชาติได้ให้ทานแก่เนื้อนาบุญมามาก ส่วนคนที่ยากจนเพราะใน อดีตชาติไม่ค่อยได้ให้ทาน เป็นต้น เรื่องเหล่านี้ยากแก่การพิสูจน์ ชาวโลกโดยมากจึงไม่เชื่อ และนัก วิทยาศาสตร์โดยส่วนใหญ่ก็ไม่เชื่อในเรื่องนี้ โดยให้เหตุผลว่าไม่อาจพิสูจน์ได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ จริง ๆ แล้วทัศนะของวิทยาศาสตร์นั้นมีส่วนถูกอยู่เหมือนกัน กล่าวคือ เรื่องละเอียดจำพวก นรก สวรรค์ นิพพาน โลกันตนรก เป็นต้น ไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ แต่ต้องพิสูจน์ด้วย วิธีการทางพุทธศาสตร์คือ “พิสูจน์ด้วยใจ” ในวงการวิทยาศาสตร์นั้นใช้อินทรีย์เพียง 5 ประการ ในการศึกษาทดลองและพิสูจน์ความจริง ต่าง ๆ ในโลก คือ ตา หู จมูก ลิ้น และร่างกาย วิทยาศาสตร์กระแสหลักไม่ยอมรับอินทรีย์ที่ 6 คือ “ใจ” และ มักคิดว่าใจเป็นส่วนหนึ่งของสมองอันเป็นส่วนของร่างกาย แต่พระพุทธศาสนายอมรับเรื่อง “ใจ” และ ถือว่าใจนี้มีความสำคัญมาก ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของสมอง แต่เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่อิสระจากร่างกายดังได้กล่าวแล้ว ในการพิสูจน์ความจริงต่าง ๆ ในโลกนั้นจะต้องใช้อินทรีย์ที่เหมาะกับสิ่งนั้น ๆ จึงจะพิสูจน์ได้ เช่น 1 ดังตฤณ (2548). เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน, หน้า 165. บ ท ที่ 3 ธ ร ร ม ช า ติ ข อ ง ชี วิ ต ท า ง พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า DOU 61
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More