อานุภาพของอุบาสกในพระพุทธศาสนา GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 238
หน้าที่ 238 / 270

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจบทบาทและอำนาจของอุบาสกในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะในยุคของพระเจ้าอโศกมหาราช ที่ทำให้พระพุทธศาสนาขยายตัวไปสู่ระดับสากล ผ่านการส่งสมณทูตไปยังประเทศต่าง ๆ ควบคู่กับการทรงอุปถัมภ์การสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ 3 ซึ่งเป็นการเก็บรักษาพระพุทธพจน์ให้คงอยู่ถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังกล่าวถึงประวัติศาสตร์ความเสื่อมโทรมของพระพุทธศาสนาในประเทศจีนในช่วงเวลาต่าง ๆ ที่นำไปสู่การล้มสลายของพระพุทธศาสนาในบางยุคที่ขาดการอุปการะจากผู้นำ สร้างความเข้าใจถึงอานุภาพของศรัทธาและการสนับสนุนที่ส่งผลต่อการดำรงอยู่ของศาสนา

หัวข้อประเด็น

-อานุภาพของอุบาสก
-บทบาทพระเจ้าอโศกมหาราช
-ประวัติศาสตร์แห่งความเสื่อมโทรมของพระพุทธศาสนา
-การเผยแผ่พระศาสนาสู่โลก
-การสนับสนุนจากผู้นำสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

และเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระวิหาร ได้ประทับยืนอยู่ ณ ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ภิกษุที่ประชุมกันใน ขณะนั้นมีประมาณ 80 โกฏิ นางภิกษุณีมีประมาณเก้าล้านหกแสน เฉพาะภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์นับได้ประมาณ 100,000 รูป นี้คือตัวอย่างอานุภาพและความสำคัญของอุบาสกในพระพุทธศาสนา นอกจากนี้พระเจ้าอโศกมหาราชยังให้การอุปภัมภ์การสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ 3 ณ เมือง ปาฏลีบุตรในปี พ.ศ. 236 เพื่อรวบรวมรักษาสืบทอดพระพุทธพจน์ให้สืบมาจนถึงยุคปัจจุบัน และที่สำคัญ พระองค์ทรงอุปถัมภ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ระดับสากลครั้งแรก โดยส่งสมณทูต 9 สายไปประกาศ พระศาสนายังประเทศต่าง ๆ หากยุคของพระองค์ไม่มีการเผยแผ่พระศาสนาออกจากอินเดีย ป่านนี้อาจ ไม่มีพระพุทธศาสนาเหลือแล้วก็เป็นได้ อาจจะสูญสลายไปพร้อมกับศรัทธาของชาวอินเดียเมื่อประมาณ พ.ศ. 1700 แล้ว และเหตุที่พระพุทธศาสนาในมาตุภูมิคืออินเดียฟื้นคืนชีพขึ้นมาได้อีกครั้ง ก็เพราะชาวพุทธ ต่างชาติที่ได้รับมรดกธรรมจากสมณทูต 9 สาย กลับไปช่วยฟื้นฟูขึ้นใหม่ หากยุคใดก็ตามพระพุทธศาสนาขาดการอุปภัมภ์จากบุคคลในกลุ่มผู้นำของสังคม ยุคนั้นถือได้ว่า เป็นยุคเสื่อมทีเดียว ยิ่งถ้าผู้นำประเทศเป็นมิจฉาทิฏฐิด้วยแล้ว ถือได้ว่าเป็นมหันตภัยที่ร้ายแรงยิ่ง ดังที่ เคยเกิดมาแล้วในหลายประเทศ ได้แก่ ประเทศจีน เป็นต้น ระหว่าง พ.ศ. 1118-1123 ในรัชกาลพระเจ้าชวน มหันตภัยใหญ่หลวงได้เกิดขึ้นกับพระพุทธ ศาสนาในแคว้นจิ๋ว คือมีการยกเลิกพระพุทธศาสนาและลัทธิเต๋า บังคับให้พระสงฆ์ลาสิกขา 2,000,000 รูป ยึดวัด 40,000 แห่ง และหลอมพระพุทธรูปเพื่อเอาทองคำและทองแดงไปทำทองแท่งและเหรียญกษาปณ์ ในยุคพระเจ้าเฮียนจง ห้ามมีการสร้างวัด หล่อพระพุทธรูปและพิมพ์พระสูตรโดยไม่ได้รับอนุญาต ใน พ.ศ. 1302 มีกฎออกมาว่า ผู้ที่จะบวชต้องสวดพระสูตรได้ 1,000 หน้า หรือเสียค่าบวชให้หลวง 100,000 อีแปะ ต่อมา พ.ศ. 1385 ในรัชสมัยจักรพรรดิจง พระองค์เลื่อมใสในลัทธิเต๋า แต่งตั้งนักบวชเต๋าเป็น เสนาบดี ใน พ.ศ. 1389 มีการโต้วาทีกันระหว่างพระภิกษุกับนักบวชเต๋าหน้าพระที่นั่ง ฝ่ายพระภิกษุได้รับ ชัยชนะ พระเจ้าจงไม่พอพระทัยทรงบังคับให้ภิกษุและภิกษุณีลาสิกขากว่า 260,000 รูป ริบที่ดินของสงฆ์ ยุบวัด หลอมพระพุทธรูป เผาคัมภีร์ ฯลฯ เป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาเสื่อมโทรมไปหลายร้อยปี บางยุค หน่วยราชการขายบัตรอุปสมบท คนมีศรัทธาแต่ไม่มีเงินก็ไม่อาจบวชได้ และใน พ.ศ. 1689 พระภิกษุ ทั่วไปจะต้องเสียภาษีทุกรูป ยกเว้นผู้พิการหรือมีอายุ 60 ปี แต่ทั้งนี้ก็มีหลายยุคที่พระพุทธศาสนาใน * ปฐมสมันตปาสาทิกา แปล อรรถกถาพระวินัยปิฎก, มก. เล่ม 1 หน้า 87-89. *พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) (2550), พระพุทธศาสนาในเอเชีย, หน้า 58. พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) (2550), พระพุทธศาสนาในเอเชีย, หน้า 61-62 *พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) (2550), พระพุทธศาสนาในเอเชีย, หน้า 62-64. 228 DOU บ ท ที่ 8 อุ บ า ส ก อุบาสิกา : ผู้นั่งใก ง ใกล้ พระรัตนตรัย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More