ข้อความต้นฉบับในหน้า
ในเมืองสาวัตถีมีพราหมณ์ผู้รู้ลักษณะสิริอยู่คนหนึ่ง พราหมณ์นั้นคิดว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐีเคย
ลำบากด้วยทรัพย์อยู่ช่วงหนึ่งแต่กลับร่ำรวยขึ้นใหม่ คงเป็นเพราะสิริในเรือนเป็นแน่ เราควรไปลักเอาสิริ
จากเรือนของท่านเศรษฐีมาเสีย
จากนั้นจึงไปยังเรือนของท่านเศรษฐีแล้วตรวจดูว่า สิริประดิษฐานอยู่ที่ไหน เห็นไก่ขาวปลอดดุจ
สังข์ที่ขัดแล้วตัวหนึ่งซึ่งเศรษฐีใส่ไว้ในกรงทอง พราหมณ์ตรวจดูก็รู้ว่า สิริประดิษฐานอยู่ที่หงอนของไก่นั้น
จึงขอไก่ตัวนั้น เศรษฐีกล่าวว่า “จับเอาไปเถอะพราหมณ์”
ในขณะที่ท่านเศรษฐีกล่าวว่า “ให้” เท่านั้น สิริก็เคลื่อนจากหงอนของไก่นั้นไปประดิษฐานอยู่ที่
ดวงแก้วมณีซึ่งวางอยู่เหนือหัวนอน พราหมณ์จึงขอแก้วมณีดวงนั้น.... สิริก็เคลื่อนไปประดิษฐานอยู่ที่ไม้เท้า
พราหมณ์จึงขอไม้เท้านั้น สิริก็เคลื่อนจากไม้เท้าไปประดิษฐานอยู่ที่ศีรษะของภรรยาเอกของเศรษฐีชื่อ
ว่าบุญญลักษณาเทวี
พราหมณ์คิดว่า “เราไม่อาจขอภรรยาเอกนี้ได้” จึงสารภาพกะเศรษฐีว่า “ข้าพเจ้ามาด้วยคิดว่า จัก
ลักสิริในเรือนของท่านไป เห็นสิริประดิษฐานอยู่ที่หงอนไก่ของท่าน เมื่อท่านให้ไก่แก่ข้าพเจ้าสิริก็เคลื่อนไป
ประดิษฐานที่แก้วมณี... ไม้เท้า... และศีรษะของนางบุญญลักษณาเทวี
ข้าพเจ้าคิดว่า “สิ่งนี้หนอเป็นสิ่งที่สละไม่ได้” จึงไม่อาจลักสิริของท่าน ของของท่านก็จงเป็นของ
ท่านเท่านั้น” เมื่อกล่าวแล้วก็ลุกจากอาสนะหลีกไป
ต่อมาท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้กราบทูลเหตุการณ์นี้แก่พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อพระศาสดาได้
ทรงสดับแล้วจึงตรัสว่า “แม้ในกาลก่อนสิริที่คนผู้มีบุญน้อยให้เกิดขึ้น ก็ไปอยู่แทบบาทมูลของคนผู้มีบุญ
เท่านั้น.... ผู้ไม่มีบุญจะเป็นผู้มีศิลปะหรือไม่ก็ตาม ย่อมขวนขวายรวบรวมทรัพย์ไว้เป็นอันมาก ผู้มีบุญย่อม
ใช้สอยทรัพย์เหล่านั้น โภคะเป็นอันมากย่อมล่วงเลยสัตว์เหล่าอื่นไปเสีย เกิดขึ้นในที่ทั้งปวงเทียวสำหรับผู้
มีบุญอันกระทำไว้... ไก่ แก้วมณี ไม้เท้า และหญิงชื่อว่าบุญญลักษณาเทวี ย่อมเกิดขึ้นแก่อนาถบิณฑิกเศรษฐี
ผู้ไม่มีบาป มีบุญอันกระทำไว้แล้ว”
การทำหน้าที่กัลยาณมิตร
ท่านเศรษฐีได้ทำหน้าที่กัลยาณมิตรแก่ทุกคนในครอบครัวคือ ทั้งภรรยา บุตร ธิดา ทาสและ
กรรมกรในเรือน ทุกคนพากันสร้างบุญตามท่านทั้งหมด คราวหนึ่งอนาถบิณฑิกเศรษฐีถึงกับจ้างบุตรชื่อ
กาละผู้ไม่ศรัทธาในพระรัตนตรัย ครั้งละ 100 กหาปณะบ้าง 1,000 กหาปณะบ้าง เพื่อให้ไปฟังธรรมจาก
พระศาสดา จนกระทั่งนายกาละได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน นอกจากนี้ท่านเศรษฐียังชวนเหล่าสหาย
ของท่านไปฟังธรรมยังวัดพระเชตวันอยู่เป็นประจำ เช่น สหายกลุ่มหนึ่งมีอยู่ 500 คน ซึ่งเป็นสาวกของ
นักบวชนอกพระพุทธศาสนา แต่ท่านเศรษฐีก็พยายามทำหน้าที่กัลยาณมิตร จนสหายเหล่านั้นบรรลุธรรม
เป็นพระโสดาบันกันทั้งหมด
1 ชาตกัฏฐกถา อรรถกถาชาดก ติกนิบาตรชาดก, มก. เล่ม 58 หน้า 273-280.
บ ท ที่ 8 อุ บ า ส ก อุบาสิกา : ผู้นั่ง ใกล้ พระรัตนตรัย DOU 233