พุทธศาสนาและกายภายใน GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 95
หน้าที่ 95 / 270

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาพูดถึงความสามารถในการสร้างกายด้วยจิตและอิทธิที่เกิดจากการเจริญสมาธิในพุทธศาสนา โดยแสดงให้เห็นถึงความเป็นจริงของกายภายในตามคำสอนของพระพุทธองค์ รวมถึงความหมายของการเคารพและบูชาพระรัตนตรัยและวิธีการเข้าถึงกายภายในผ่านการปฏิบัติสมาธิภาวนา นักเรียนสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมในหลักสูตรสมาธิที่มีอยู่ มากมายอยู่ในเอกสารต่างๆ ของพุทธศาสนา

หัวข้อประเด็น

-กายภายใน
-ความเข้มแข็งของจิต
-อิทธิทางจิต
-การบูชาพระรัตนตรัย
-การเจริญสมาธิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

kayam) and draws that body out of this body. Just as one were to remove a reed from the grass (mu"ja-) sheath, so too from the mind-made body is extracted a perfected mind-made body.” 35 1 แปลว่า : ด้วยจิตที่ตั้งมั่นดีแล้วนั้น ท่านจะสามารถผลิตกายขึ้นด้วยจิต หรือกายสิทธิ์ (mind-made or psychic Body) (mano-mayam kayam) ได้ หรือถอดกายออกมาจากกายเดิม เหมือนเราถอนต้นอ้อ ออกจากกอหญ้า (munja) และภายในกายที่สร้างขึ้นด้วยใจนี้ก็ยังถอดออกได้อีกเป็นกายที่สมบูรณ์ "With concentrated mind (and perhaps due to the perfected mindmade or psychic body) comes the ability to demonstrate the various psychic powers (iddhi-) such as becom- ing many, walking on water, and flying cross-legged."² แปลว่า : ด้วยจิตที่ตั้งมั่น (และอาจเป็นเพราะกายภายใน) ทำให้มีความสามารถทางจิต หรือ อิทธิ (iddhi) เกิดขึ้น เช่น แยกร่าง เดินบนน้ำ และเหาะในท่านั่งขัดสมาธิ เรื่อง “รูปอันเกิดแต่ใจ” ซึ่งหมายถึง “กายภายใน” ดังกล่าวนี้ พระพุทธองค์ยังตรัสไว้อีกใน หลายพระสูตร ได้แก่ อัมพัฏฐสูตร, โสณทัณฑสูตร, กูฏทันตสูตร, มหาลิสูตร, ชาลิยสูตร, มหาสีหนาทสูตร, สุภสูตร, เกวัฏฏสูตร, โลหิจจสูตร โดยพระพุทธองค์ได้ตรัสในลักษณะเดียวกันกับในสามัญญผลสูตร นั่นแสดงว่ากายภายในเป็นกายที่มีอยู่จริง และสามารถเข้าถึงได้ด้วยการเจริญสมาธิภาวนาจนใจหยุดนิ่ง ดังกล่าว วิธีการเข้าถึงพระรัตนตรัยภายในนั้นอธิบายโดยย่อไว้เพียงเท่านี้ก่อน นักศึกษาสามารถเรียน เพิ่มเติมได้ในกลุ่มวิชาสมาธิ ซึ่งแบ่งเนื้อหาออกเป็น 8 เล่ม คือ MD 101 สมาธิ 1 : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ สมาธิ จนถึง MD 408 สมาธิ 8 : วิปัสสนากัมมัฏฐาน 4.10 ความเคารพและการบูชาพระรัตนตรัย 4.10.1 ความเคารพคืออะไร ความเคารพ หมายถึง ความตระหนัก ซาบซึ้ง รู้ถึงคุณความดีที่มีอยู่จริงของบุคคลอื่น ยอมรับ นับถือความดีของเขาด้วยใจจริง แล้วแสดงความนับถือต่อผู้นั้นด้วยการแสดงความอ่อนน้อม อ่อนโยน อย่างเหมาะสม ทั้งต่อหน้าและลับหลัง James Santucci (2003, Spring), Educational Concepts and Practices in Early Southern Buddhism. Hsi Lai Journal of Humanistic Buddhism. (4) P : 54-64 | Dr.James Santucci : Chair Department of Comparative Religion California State University ] 23 James Santucci. (2003, Spring), Educational Concepts and Practices in Early Southern Buddhism. Hsi Lai Journal of Humanistic Buddhism. (4) P : 54-64 บทที่ 4 พ ร ะ รั ต น ต ร ย : แก่ น ข อ ง พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า DOU 85
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More