ความหมายและการสร้างบุญในพระพุทธศาสนา GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 39
หน้าที่ 39 / 270

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับความหมายของบุญในพระพุทธศาสนา โดยเริ่มจากการนิยามบุญและความสำคัญของการทำความดี รวมไปถึงการตรึกตรองความรู้ที่ได้รับจากครูและการตั้งคำถามเพื่อเข้าใจวัตถุประสงค์ของธรรมะได้อย่างลึกซึ้ง นอกจากนี้ยังชี้ให้เห็นถึงผลดีของการสร้างบุญที่ส่งผลต่อจิตใจและพฤติกรรมของผู้ที่ปฏิบัติด้วย

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของบุญ
-การสร้างบุญในชีวิตประจำวัน
-โยนิโสมนสิการ
-การตรึกตรองความรู้
-วัตถุประสงค์ของธรรมะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ภาษาอังกฤษเรียกว่า “What” แล้วเดี๋ยวเราก็จะได้คำจำกัดความออกมา ยกตัวอย่างเช่น วันนี้เราฟังหลวงพ่อเทศน์เรื่องบุญ ดังนั้นประเด็นก็คือ “เรื่องบุญ” เมื่อจับ ประเด็นได้แล้วต่อไปก็เป็นเรื่องคำจำกัดความของคำว่า “บุญ” โดยการถามว่า บุญคืออะไร ก็ต้องตอบว่า บุญ คือ “ธาตุบริสุทธิ์และละเอียด มีลักษณะเป็นดวง กลมรอบตัว ใส สว่าง เกิดขึ้นจากการทำความดี ได้แก่ การให้ทาน รักษาศีล และเจริญสมาธิภาวนา ฯลฯ บุญเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะค่อยๆ ชำระล้างใจให้บริสุทธิ์จาก กิเลสไปเรื่อย ๆ จนหมดในที่สุด และบุญนั้นจะบันดาลความสุขความสำเร็จให้เกิดขึ้นแก่ผู้ที่เป็นเจ้าของ” ๆ การจะให้คำจำกัดความเรื่องอะไรก็ตามเราจะต้องศึกษาเรื่องนั้น ๆ ให้กว้างขวางและลึกซึ้งเสียก่อน จึงจะสามารถให้คำจำกัดความที่ถูกต้อง กระชับ และชัดเจนได้ หากศึกษาไม่ครบถ้วนและไม่ละเอียดพอจะ มีโอกาสให้คำจำกัดความผิดพลาดได้ อุปมาเหมือนคนตาบอดหลายคนคลำช้างคนละส่วนกัน แต่ละคน ไม่ได้ศึกษาช้างทั้งตัว จึงทำให้มโนภาพในใจเกี่ยวกับช้างของแต่ละคนไม่ถูกต้องและไม่เหมือนกัน หรือ ดังเรื่องที่เราเคยได้ยินได้ฟังมาแต่โบราณว่า เด็กคนหนึ่งไปฟังพระเทศน์ ขณะฟังนั้นหลับบ้างตื่นบ้าง ได้ยิน พระท่านเทศน์ว่า “การนอนตื่นสายก็ดี การเกียจคร้านทำการงานก็ดี” จับใจความได้เท่านี้ที่เหลือหลับจึง ไม่ได้ยินว่าพระท่านเทศน์อะไรอีกบ้าง เมื่อกลับไปบ้านจึงทำตามที่พระท่านเทศน์คือ นอนตื่นสายและไม่ ช่วยพ่อแม่ทำงาน เพราะเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่ดี 2.6.3 โยนิโสมนสิการ : กระทำไว้ในใจโดยอุบายที่ชอบ โยนิโสมนสิการ หมายถึง กระทำไว้ในใจโดยอุบายที่ชอบ ในหัวข้อนี้พระเดชพระคุณพระภาวนา วิริยคุณ รองเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายกล่าวไว้ว่า เมื่อเราได้พบครูดีแล้ว ได้ฟังคำครูชัดเจนแล้ว แต่จะ เข้าใจความรู้ของครูได้ลึกซึ้งมากน้อยแค่ไหน ก็อยู่ที่การนำความรู้กลับมาไตร่ตรองให้ลึกซึ้ง เพราะยิ่งมี ความลึกซึ้งมากเท่าไร่ การคิด การพูด การกระทำย่อมได้ผลมากยิ่งขึ้นเท่านั้นด้วย เรื่องนั้น ๆ การตรองคำครูให้ลึกคือ การไตร่ตรองให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องถึงวัตถุประสงค์ของธรรมะใน วิธีการค้นหาวัตถุประสงค์ก็ทำได้ง่าย ๆ ด้วยการตั้งคำถามว่า ทำไม หรือ ที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Why” ถามคำถามที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า ทำไม ๆ ๆ ๆ ไปสัก 20-30 คำถาม เดี๋ยวก็สามารถมองเห็นชัดถึง วัตถุประสงค์ของธรรมะเรื่องนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราศึกษาเรื่องบุญ เราต้องตอบให้ได้ก่อนว่า บุญคืออะไร เมื่อเราตอบได้แล้ว คำถามต่อไปที่ต้องถามก็คือ ทำไมต้องสร้างบุญ พอเราถามอย่างนี้แล้ว การค้นคว้าแบบเจาะลึกไปให้ถึง วัตถุประสงค์นั้น ๆ ก็จะเกิดขึ้น แล้วเราก็จะพบคำตอบมากมาย เช่น 1) บุญสามารถกลั่นกาย วาจา ใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์ได้ ทำให้เรามีความสุขใจทุกครั้งที่ได้ทำบุญ ส่งผลให้มีบุคลิกภาพดี มีอารมณ์ดี ใบหน้ายิ้มแย้มเบิกบาน มีใจผ่องใสเป็นปกติ ทำให้เป็นที่รักของคนหมู่มาก ท บ ท ที่ 2 ค ว า ม มรู้ทั่วไป ท า ง พระ พุ ท ธ ศ า ส น า DOU 29
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More