พระราชาและธรรมกาย GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 84
หน้าที่ 84 / 270

สรุปเนื้อหา

เรื่องนี้กล่าวถึงพระราชาและอำมาตย์ที่ตัดสินใจบวชอุทิศพระศาสดา หลังจากถวายทรัพย์ถึง 300,000 แก่พ่อค้า โดยพระราชาเสด็จออกบวชพร้อมกับอำมาตย์และบรรลุเป็นพระอรหันต์ ส่วนพระนางอโนชาเทวีและเหล่าภรรยาได้บวชตามอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีหลักฐานเกี่ยวกับธรรมกายในพระไตรปิฎกที่อธิบายความสำคัญและการดำเนินรอยตามของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในทางธรรมด้วย.

หัวข้อประเด็น

-พระราชาและการบวช
-พระเทวีอโนชา
-ธรรมกายในพระไตรปิฎก
-หลักฐานเกี่ยวกับธรรมกาย
-พระอรหันต์และการบวช

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ยินดีมาก ได้พระราชทานทรัพย์ถึง 300,000 แก่พ่อค้านั้น และทรงตัดสินพระทัยออกผนวชพร้อมกับ อำมาตย์ในวันนั้นเลย พระองค์ตรัสกับพวกพ่อค้าว่า “พระเทวีพระนามว่าอโนชา ก็จักพระราชทานทรัพย์ 3 แสนแก่ พวกท่าน พวกท่านจึงทูลอย่างนี้ว่า “พระราชาทรงสละความเป็นใหญ่ถวายพระองค์แล้ว พระองค์จงเสวย สมบัติตามสบายเถิด” ถ้าพระเทวีจักตรัสถามพวกท่านว่า “พระราชาเสด็จไปที่ไหน” พวกท่านจึงทูลว่า “พระ ราชาตรัสว่าจักบวชอุทิศพระศาสดาแล้ว” แม้เหล่าอำมาตย์ก็ส่งข่าวไปบอกภรรยาอย่างนั้นเหมือนกัน เมื่อพระราชาและเหล่าอำมาตย์ออกบวชแล้วไม่นานก็บรรลุเป็นพระอรหันต์กันทั้งหมด ฝ่ายพระนางอโนชาเทวีเมื่อทราบว่าพระราชาและอำมาตย์ทั้งหลายออกบวชแล้ว ได้เรียกภรรยา ของเหล่าอำมาตย์มาแล้วตรัสว่า “พระราชาทรงสดับข่าวแล้วบูชาพระรัตนตรัยด้วยทรัพย์ 3 แสน ทรง สละสมบัติดุจก้อนน้ำลาย ตรัสว่า “เราจักบวช” แล้วเสด็จออกไป ส่วนเราได้บูชาพระรัตนตรัยด้วยทรัพย์ 9 แสน ชื่อว่าสมบัตินี้มิได้นำทุกข์มาแด่พระราชาเท่านั้น ย่อมเป็นเหตุนำทุกข์มาแม้แก่เราเหมือนกัน ใคร จักคุกเข่ารับเอาก้อนน้ำลายที่พระราชาทรงบ้วนทิ้งแล้วด้วยปากเล่า เราไม่ต้องการด้วยสมบัติ แม้เราก็จัก ไปบวชอุทิศพระศาสดา” พระอริยสงฆ์กันทั้งหมด ต่อมาพระอโนชาเทวีและเหล่าภรรยาของอำมาตย์ก็ได้ออกบวชและบรรลุเป็น 4.4 หลักฐานเกี่ยวกับธรรมกาย หลักฐานเรื่องธรรมกายมีปรากฏอยู่หลายคัมภีร์คือทั้งในพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา วิสุทธิมรรค มิลินทปัญหา หนังสือปฐมสมโพธิกถา จารึกลานทอง ศิลาจารึก และหนังสือทางพระพุทธศาสนาอื่น ๆ นอกจาก นี้เรื่องธรรมกายยังปรากฏอยู่ในคัมภีร์ฝ่ายมหายานอีกจำนวนมาก ในที่นี้จะนำเสนอเฉพาะหลักฐานใน คัมภีร์ฝ่ายเถรวาท ดังนี้ 4.4.1 หลักฐานธรรมกายในพระไตรปิฎก ในพระไตรปิฎกมีคำว่าธรรมกายปรากฏอยู่ 5 แห่งดังนี้ 1) ในอัคคัญญสูตร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า คำว่า “ธรรมกาย” ก็ดี “พรหมกาย” ก็ดี “ธรรมภูต” ก็ดี “พรหมภูต” ก็ดี ล้วนเป็นชื่อของตถาคต 2) ในสรภังคเถรคาถา พระสรภังค์เถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี สิขี เวสสภู กกุสันธะ โกนาคมนะ และกัสสปะได้ทรงดำเนินไปโดยทางใดแล พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าโคดมก็ทรงดำเนินโดยทางนั้น พระพุทธเจ้าทั้ง 7 พระองค์ปราศจากตัณหาไม่ทรงยึดมั่น หยั่งถึง ความดับ เสด็จอุบัติโดยธรรมกาย ผู้คงที่ ได้ทรงแสดงธรรมนี้ คืออริยสัจ 4 อันได้แก่ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ - ธัมมปทัฏฐกถา อรรถกถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท มก., เล่ม 41 หน้า 312-313. - พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค อัคคัญญสูตร มจร., เล่ม 11 ข้อ 118 หน้า 88. 74 DOU บ ท ที่ 4 พ ร ะ รั ต น ต ร ย : แก่ น ข อ ง พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More