หลักธรรมและความไม่ประมาทในพระพุทธศาสนา GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 165
หน้าที่ 165 / 270

สรุปเนื้อหา

ในพระพุทธศาสนา หลักธรรมมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต โดยเริ่มจากความไม่ประมาทซึ่งเป็นหัวใจของการปฏิบัติธรรม โดยสามารถขยายออกเป็น 84,000 ข้อ แต่ถ้าย่อให้สั้นลงจะเหลือเพียง 3 ข้อคือ ละชั่ว ทำดี และทำใจให้ผ่องใส ซึ่งเรียกว่า ไตรสิกขา หรือ ศีลสิกขา จิตสิกขา และปัญญาสิกขา นอกจากนี้ยังมีมรรคมีองค์ 8 ที่ประกอบด้วย สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และ สัมมาสมาธิ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงในการปฏิบัติ รวมถึงการกำจัดอกุศลธรรมให้หมดสิ้น

หัวข้อประเด็น

-ความไม่ประมาท
-หลักธรรมในพระพุทธศาสนา
-ไตรสิกขา
-มรรคมีองค์ 8
-การพัฒนาศีล จิต และปัญญา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ความไม่ประมาท→ นิโรธ ละช้า นมมาวาจา ภากัมมันตะ สัมมากัม สัมมาอา สัมมาอาชีวะ สัมมาอาชีวะ ศีลสิกขา พัฒนากาย วาจา ศีล 5,8,10,227,311 ทําดี สัมมา สติ จิตสิกขา พัฒนาจิต ทําใจ ให้ใส สัมมาสังกัปปะ สัมมาทิฏฐิ สัมมาอาชีวะ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ฯลฯ ปัญญาสิกขา พัฒนาปัญญาให้ใส พระอภิธรรม 42,000 ข้อ พระวินัย 21,000 ข้อ พระสูตร 21,000 ข้อ หลักธรรมต่างๆ นั้นมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันทุกหมวด ไม่มีความขัดแย้งกัน สามารถย่อและ ขยายได้ หากย่อจนถึงที่สุดก็จะเหลือเพียงข้อเดียวคือ “ความไม่ประมาท” หากขยายความแล้วก็จะได้มากถึง “84,000 ข้อ หรือ พระธรรมขันธ์” แบ่งเป็นพระวินัย 21,000 ข้อ พระสูตร 21,000 ข้อ และพระอภิธรรม 42,000 ข้อ นอกจากนี้หลักธรรมทั้งหมดอาจจะแบ่งเป็น 3 ข้อก็ได้คือ ละชั่ว ทำดี และทำใจให้ผ่องใส ธรรม 3 ข้อนี้เรียกอีกชื่อว่า ไตรสิกขา คือ ศีลสิกขา จิตสิกขา และปัญญาสิกขา หากจะขยาย 3 ข้อนี้ให้เป็น 8 ข้อ ก็ได้เรียกว่า มรรคมีองค์ 8 ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และ สัมมาสมาธิ โดย สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ จัดอยู่ใน ปัญญาสิกขา สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และ สัมมาอาชีวะ จัดอยู่ใน ศีลสิกขา สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ จัดอยู่ในจิตสิกขา ส่วนกุศลกรรมบถ บุญกิริยาวัตถุ และบารมี 10 ทัศนั้น ก็ประชุมรวมอยู่ในมรรคมีองค์แปดนั่นเอง และยังมีธรรมอีกหมวดหนึ่งคือ อนุปุพพิกถา ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามักจะแสดงแก่อุบาสกอุบาสิกาอยู่เสมอ หลักธรรมหมวดนี้ก็จัดอยู่ในมรรคมีองค์แปดเช่นกัน ส่วนอกุศลธรรมที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎกก็จัดอยู่ในมรรคมีองค์ 8 ได้เช่นกัน แต่อยู่ในฐานะที่ มรรคมีองค์ 8 ต้องกำจัดให้หมดสิ้น ลำดับต่อไปจะกล่าวถึงหลักธรรมบางหมวดที่ยังไม่ได้กล่าวไว้หรือยังไม่ได้ลงรายละเอียดในบทที่ บทที่ 6 พ ร ะ ธ ร ร ม : คำสั่ ง ส อ น ข อ ง พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เจ้า DOU 155
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More