ความสำคัญของความพร้อมเพรียงในคณะสงฆ์ GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 219
หน้าที่ 219 / 270

สรุปเนื้อหา

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ความสำคัญกับความพร้อมเพรียงของคณะสงฆ์ โดยมีข้อบังคับให้ภิกษุร่วมประชุมทำสังฆกรรมพร้อมกัน และต้องรักษาศีลและวินัยตามที่กำหนดไว้ โดยห้ามถอนหรือบัญญัติสิ่งที่ไม่ถูกต้องตาม teachings พระองค์จะทรงแนะนำถึงการมีจิตเป็นหนึ่งเดียวเพื่อความเจริญรุ่งเรืองขององค์กรสงฆ์ การประชุมต้องมีความเป็นเอกฉันท์และทุกภิกษุต้องอยู่จนเสร็จสิ้นกิจกรรมเพื่อให้ผลสำเร็จ นอกจากนี้ยังมีการพิจารณาถึงความเห็นพ้องที่สำคัญในการประชุมพระสงฆ์

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของคณะสงฆ์
-การประชุมสังฆกรรม
-การร่วมมือของภิกษุ
-การรักษาศีล
-กระบวนการในการทำสังฆรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับความพร้อมเพรียงของคณะสงฆ์อย่างมาก โดยสังเกต ได้ว่า ทุกครั้งที่พระองค์ตรัสปฏิสันถารภิกษุที่มากราบช่วงหลังออกพรรษา พระองค์จะตรัสว่า “พวกเธอ เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาตหรือ” ในเวลาประชุมทำสังฆกรรมพระองค์ทรงกำหนดว่า ภิกษุทุกรูปต้องเข้าร่วมทำกิจกรรมพร้อมกัน เช่น ภิกษุในวัดเดียวกันจะต้องมาทำพร้อมกันห้ามแยกสวดโดยเด็ดขาด ดังพุทธ กรณีการฟังสวดพระปาฏิโมกข์ ดำรัสว่า “ภิกษุใดสวดพระปาฏิโมกข์แยกจากสงฆ์หมู่ใหญ่ต้องอาบัติทุกกฏ” หากภิกษุใดมาร่วมทำอุโบสถ ไม่ได้เพราะอาพาธ เป็นต้น พระองค์ทรงอนุญาตให้มอบปาริสุทธิ์ได้คือ บอกแก่เพื่อนสหธรรมิกว่าตนเองได้ รักษาศีลบริสุทธิ์ดีแล้วตลอดกึ่งเดือนที่ผ่านมา หรือถ้าเป็นสังฆกรรมอื่น ๆ ที่ต้องการความเห็นชอบจาก คณะสงฆ์นั้น หากมีภิกษุรูปใดไม่อาจไปร่วมประชุมได้เพราะเหตุจำเป็นจริง ๆ เช่น อาพาธ เป็นต้น ก็ต้อง มอบฉันทะคือความพอใจว่าตนเห็นด้วยตามมติของสงฆ์ไม่ว่าจะมีมติอย่างไรก็ไม่คัดค้าน เมื่อต้องการขอมติโดยธรรมเนียมสงฆ์แล้วจะใช้มติที่เป็นเอกฉันท์เสมอคือ ภิกษุทุกรูปต้องเห็น พ้องกัน ถ้าภิกษุคัดค้านแม้เพียงรูปเดียวก็ถือว่าไม่ผ่านมติสงฆ์ เช่น การอุปสมบท หากภิกษุเพียงรูปเดียว ในจำนวน 5 หรือ 10 รูป ไม่เห็นด้วย กุลบุตรนั้น ๆ ก็ไม่สามารถอุปสมบทได้ ในกรณีที่ภิกษุเกิดแตกความ สามัคคีกัน เช่น กรณีภิกษุเมืองโกสัมพีแตกสามัคคีกันและในภายหลังคืนดีกันได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็จะให้ทำสังฆสามัคคี โดยพิธีนี้ศักดิ์สิทธิ์มากภิกษุทุกรูปต้องเข้าร่วม จะมอบฉันทะไม่ได้เด็ดขาดดัง พุทธดำรัสว่า “ก็แลสังฆสามัคคีพึงทำอย่างนี้ คือภิกษุทั้งหลายทั้งที่อาพาธ ทั้งที่ไม่อาพาธ พึงประชุม พร้อมกันทุก ๆ รูป รูปไหนจะให้ฉันทะไม่ได้” การประชุมเพื่อทำสังฆกรรมต่าง ๆ นั้นพระภิกษุทุกรูปที่เข้าประชุมจะต้องอยู่ร่วมประชุมจนเสร็จ สังฆกรรมทุกครั้ง จะลุกออกไปก่อนไม่ได้ หากลุกไปก่อนถือว่าสังฆกรรมนั้นเป็นโมฆะคือ เปล่า ไม่เป็นผล คือ ทำเหมือนไม่ได้ทำ จะต้องเริ่มต้นทำสังฆกรรมใหม่ ดังนั้นพระภิกษุทุกรูปจะต้องพร้อมกันประชุมพร้อมกัน เลิกประชุมและพร้อมกันทำกิจที่พึงทำ สังฆกรรมและกิจกรรมต่าง ๆ ของสงฆ์จึงจะสำเร็จสมบูรณ์ และจะ ส่งผลให้องค์กรสงฆ์เจริญรุ่งเรือง 7.7.3 ไม่ถอนและไม่บัญญัติแต่ให้ปฏิบัติตามสิกขาบท พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ภิกษุทั้งหลายยังจักไม่บัญญัติสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้ จักไม่เพิก ถอนสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้แล้ว ยังจักสมาทานประพฤติอยู่ในสิกขาบทตามที่ตถาคตบัญญัติไว้แล้ว ตลอดกาล เพียงไร พึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้ บัญญัติ แปลว่า ข้อความที่ตราหรือกำหนดขึ้นไว้เป็นข้อบังคับเป็นหลักเกณฑ์ พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค, มก. เล่ม 2 ข้อ 228 หน้า 450. * พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค 2, มก. เล่ม 7 ข้อ 258 หน้า 490. 3 ราชบัณฑิตยสถาน (2525), พจนานุกรม, (ฉบับอิเล็กทรอนิกส์), บทที่ 7 พระสงฆ์ : ส า ว ก ข อ ง พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เจ้า DOU 209
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More