ความหมายและแนวทางการบัญญัติสิกขาบทในพระพุทธศาสนา GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 220
หน้าที่ 220 / 270

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความหมายของการบัญญัติสิกขาบทในพระพุทธศาสนา อธิบายว่าสิกขาบทมีที่มาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและการประชุมสงฆ์เพื่อแจ้งให้ทราบถึงการบัญญัติอย่างเคร่งครัด โดยการที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่อนุญาตให้พระภิกษูบัญญัติข้อใหม่เพิ่มขึ้นจากที่ท่านบัญญัติไว้แล้ว ทั้งยังแสดงให้เห็นถึงขั้นตอนการบัญญัติพระวินัยตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด บทความนี้ยังเน้นว่าสิกขาบทเป็นพุทธบัญญัติและมีความแตกต่างจากกฎหมายทางโลกที่มีการประชุมความคิดเห็นของกลุ่มคนต่างๆ เพื่อการตัดสินใจ

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของสิกขาบท
-การปฏิบัติของพระภิกษุ
-การบัญญัติในพระพุทธศาสนา
-ข้อแตกต่างระหว่างสิกขาบทและกฎหมายทางโลก
-ขั้นตอนการบัญญัติพระวินัย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บัญญัติ ในที่นี้หมายถึง การบัญญัติสิกขาบทอันเป็นศีลแต่ละข้อของพระภิกษุนั่นเอง สมาทาน แปลว่า การถือเอารับเอาเป็นข้อปฏิบัติ ไม่บัญญัติสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้ หมายถึง การที่พระภิกษุไม่บัญญัติสิกขาบทเพิ่มเติมจากที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบัญญัติไว้ ไม่เพิกถอนสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้แล้ว หมายถึง การที่พระภิกษุไม่ถอนสิกขาบทที่พระสัมมา สัมพุทธเจ้าบัญญัติไว้แล้ว สมาทานประพฤติอยู่ในสิกขาบททั้งหลายตามที่ตถาคตบัญญัติไว้แล้ว หมายถึง การนำสิกขาบท ทุกข้อที่เป็นพุทธบัญญัติมาปฏิบัติอย่างเคร่งครัด สิกขาบททุกข้อของภิกษุและภิกษุณีนั้นเป็นพุทธบัญญัติทั้งสิ้น ไม่ได้เกิดจากการประชุมปรึกษา กับคณะสงฆ์ว่า ควรจะบัญญัติสิกขาบทข้อไหน อย่างไร การประชุมสงฆ์นั้นเป็นเพียงการแจ้งให้สงฆ์ ทราบว่า มีเหตุเกิดขึ้นและพระพุทธองค์ทรงบัญญัติสิกขาบทข้อนั้น ๆ อย่างไร พระภิกษุและภิกษุณีเมื่อ รับทราบแล้วจะได้ศึกษาและนำไปปฏิบัติ ในการบัญญัติสิกขาบทนั้นมีขั้นตอนดังนี้ เมื่อมีเหตุที่ไม่เหมาะสมจากการกระทำของพระภิกษุเกิดขึ้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็จะทรงเรียก ประชุมสงฆ์ สอบถามเรื่องราว ตำหนิผู้กระทำความผิด แจกแจงให้ทราบว่าการกระทำนั้นไม่เหมาะสม มี โทษอย่างไร แล้วทรงบัญญัติพระวินัยขึ้น ห้ามมิให้พระภิกษุกระทำพฤติกรรมอย่างนั้นอีก พร้อมกำหนดโทษว่า หากภิกษุรูปใดฝืนไปกระทำ จะมีโทษอย่างไร ส่วนภิกษุที่เป็นเหตุต้นบัญญัตินั้นถือว่ายังไม่ต้องรับโทษ เพราะ ในขณะกระทำการนั้นยังไม่มีบทบัญญัติห้าม พระองค์ไม่ปรับความผิดย้อนหลัง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง บัญญัติพระวินัยขึ้นทีละข้อตามเหตุที่เกิดขึ้นอย่างนี้ แม้ในส่วนของพระธรรมคำสอนทั้งมวลในพระพุทธศาสนา เช่น ความไม่ประมาท อริยสัจ 4 มรรค มีองค์ 8 ไตรสิกขา เป็นต้น ก็ล้วนมาจากพระพุทธองค์ทั้งสิ้น พระสาวกทำหน้าที่เพียงอธิบายขยายความ คำสอนของพระองค์เท่านั้น การที่สิกขาบททุกข้อเป็นพุทธบัญญัติจึงแตกต่างกับการบัญญัติกฎหมายทางโลก เพราะกฎหมาย ทางโลกเกิดจากการประชุมระดมความคิดของนักกฎหมาย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และ สมาชิกวุฒิสภา เป็นต้น ไม่ได้เกิดจากความคิดของใครคนใดคนหนึ่งเพียงผู้เดียว ถามว่า เหตุใดสิกขาบทต้องเป็นพุทธบัญญัติเท่านั้น เหตุใดพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงไม่อนุญาตให้ ภิกษุหรือภิกษุณีบัญญัติสิ่งที่พระองค์มิได้บัญญัติไว้บ้าง เพราะในปัจจุบันชาวโลกถือว่า การประชุมระดม ความคิดก็ดี การให้สมาชิกในองค์กรทุกคนช่วยกันเสนอความเห็นอันแตกต่างหลากหลายก็ดี จะช่วยให้ งานที่ทำบังเกิดผลดีมากกว่าการที่ใครคนใดคนหนึ่งคิดงานอยู่คนเดียวแล้วสั่งให้คนอื่นทำตาม - ราชบัณฑิตยสถาน (2525), พจนานุกรม, (ฉบับอิเล็กทรอนิกส์), 210 DOU บทที่ 7 พระสงฆ์ : ส า ว ก ข อ ง พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เ จ้ า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More