ความสำคัญของวันมาฆบูชาและโอวาทปาฏิโมกข์ GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 23
หน้าที่ 23 / 270

สรุปเนื้อหา

วันมาฆบูชาเป็นวันที่มีความสำคัญในพุทธศาสนา โดยเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงคำสอนโอวาทปาฏิโมกข์ ซึ่งเน้นการไม่ทำบาป การทำความดี และการทำจิตให้ผ่องแผ้ว ความรู้ในเรื่องนี้ช่วยให้เกิดความเข้าใจในพระรัตนตรัย อันประกอบด้วยพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งถือเป็นแก่นของพุทธศาสนา โดยเฉพาะในการปฏิบัติธรรมที่มีการสอนตลอด 45 ปี ก่อนพระองค์จะปรินิพพานอยู่ในบทเรียนที่เกี่ยวกับธรรมชาติของชีวิตในพระพุทธศาสนา

หัวข้อประเด็น

-วันมาฆบูชา
-โอวาทปาฏิโมกข์
-พระรัตนตรัย
-การปฏิบัติในพุทธศาสนา
-พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ข้อความต้นฉบับในหน้า

หรือที่ชาวพุทธรู้จักกันในนามวันมาฆบูชา โอวาทปาฏิโมกข์เป็นพุทธประเพณีที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุก พระองค์ทรงแสดงเหมือนกัน เช่น พระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้น ดังใจความตอนหนึ่งว่า สพฺพปาปสฺส อกรณ์ การไม่ทำบาปทั้งปวง กุสลสฺสูปสมฺปทา การยังกุศลให้ถึงพร้อม สจิตฺตปริโยทปนํ การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว เอต์ พุทธาน สาสนํ นี้เป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย คำว่า “พุทธาน สาสน์” ก็คือพุทธศาสนานั่นเอง คำว่า “สาสน์” เป็นภาษามคธหรือที่รู้จักกัน ทั่วไปว่าภาษาบาลี ส่วนคำว่า “ศาสนา” เป็นภาษาไทยซึ่งมาจากภาษาสันสฤตว่า “ศาสน เหตุที่กล่าวว่าหลักคำสอนสำคัญของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าด้วยเรื่องพระรัตนตรัยนั้นอ้างอิง จากมหาปรินิพพานสูตรคือ ก่อนพระพุทธองค์จะปรินิพพานทรงรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสงสัยเคลือบแคลงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มรรค หรือในข้อ ปฏิบัติ จะพึงมีแก่ภิกษุแม้รูปหนึ่ง พวกเธอจงถามเถิด อย่าได้มีความร้อนใจภายหลังว่า พระศาสดาอยู่ เฉพาะหน้าเราแล้ว เรายังมิอาจทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าที่เฉพาะพระพักตร์” เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้แล้วพวกภิกษุเหล่านั้นก็พากันนิ่งอยู่ แม้ครั้งที่สอง แม้ครั้ง ที่สาม ภิกษุเหล่านั้นก็พากันนิ่งอยู่... ในครั้งนั้นไม่มีภิกษุรูปใดถามข้อสงสัยเลย เพราะภิกษุทุกรูปในที่นั้นได้ บรรลุธรรมเป็นพระอริยสงฆ์กันหมดแล้ว พระดำรัสนี้เป็นการสอบถามภิกษุทั้งหลายว่าสิ่งที่พระองค์สอนมาตลอด 45 พรรษานั้น มีภิกษุ รูปใดสงสัยอะไรบ้าง ให้รีบถาม เพราะเมื่อพระองค์ปรินิพพานไปแล้ว จะไม่มีโอกาสถามอีก คล้าย ๆ กับ เวลาเราเรียนหนังสือในห้องเรียนก่อนหมดเวลาแต่ละคาบหรือก่อนปิดคอร์ส ครูก็จะถามว่าที่สอนมา ทั้งหมดมีใครสงสัยตรงไหนบ้างก็ให้ถาม ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า หลักคำสอนสำคัญตลอดพระชนม์ชีพของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีเพียง ประการเดียวคือ พระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ส่วนเรื่องมรรคและข้อปฏิบัติต่าง ๆ นั้น สงเคราะห์เข้าในหมวดพระธรรม พระรัตนตรัยจึงเป็น “แก่นของพระพุทธศาสนา” ซึ่งนักศึกษาจะได้เรียน อย่างละเอียดในบทที่ 4, 5, 6 และบทที่ 7 สำหรับบทที่ 3 กล่าวถึงธรรมชาติของชีวิตทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเนื้อหาจัดอยู่ในหมวดพระธรรม แต่เป็นความรู้ที่นักศึกษาต้องเข้าใจก่อนจึงนำมาอธิบายไว้ในบทที่ 3 2 - พระสุตฺตนฺตปิฎก ทีฆนิกายสฺส มหาวคฺโค ภาษาบาลี ฉบับสยามรัฐ เล่ม 10 ข้อ 54 หน้า 57. พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร มก. เล่ม 13 ข้อ 142 หน้า 321. บ ท ที่ 2 ค ว า ม เ ม รู้ ทั่ ว ไ ป ท า ง พระ พุ ท ธ ศ า ส น า DOU 13
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More