ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประจำวันของพระองค์ว่า “ในมัชฌิมยามพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตอบปัญหาแก่เทวดาทั้งหลาย” มัชฌิมยาม
คือเวลาประมาณ 22.00 น. - 02.00 น. คำว่าเป็นศาสดาของเทวดานี้หมายรวมเอารูปพรหมต่าง ๆ ด้วย
ๆ
พุทธคุณข้อนี้ถือว่าเป็นลักษณะพิเศษที่โดดเด่นอีกข้อหนึ่งในพระพุทธศาสนา เพราะศาสนา
เทวนิยมนั้นต่างอ้างเอาเทวดาเป็นที่พึ่งที่ระลึกทั้งสิ้น เช่น ศาสนาคริสต์นับถือพระเจ้าคือ “พระยะโฮวาห์
ซึ่งเป็นกายทิพย์” ส่วนมุสลิมก็นับถือพระอัลเลาะห์โดยเชื่อว่า “พระอัลเลาะห์มีรูปร่างตัวตนไม่ใช่เป็นนามธรรม
แต่เป็นร่างทิพย์ จึงไม่มีใครสามารถเห็นพระองค์ได้...” คำว่ากายทิพย์คือกายของเทวดานั่นเอง ในศาสนา
และเชื่อกันว่าความเป็นไปของชีวิตขึ้นอยู่กับพรหมลิขิต แต่
แม้แต่รูปพรหมทั้งหลายยังยกย่องพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พราหมณ์-ฮินดูนับถือพระพรหมเป็นที่พึ่งสูงสุด
มีหลักฐานบันทึกไว้ในพระไตรปิฎกจำนวนมากว่า
เป็นศาสดา
8) อธิบายพุทธคุณบทว่า พุทฺโธ
คำว่า พุทโธ แปลได้หลายนัย ในที่นี้จะแปลในนัยที่ว่า เป็นผู้บานแล้ว
คำว่าบานนั้นเปรียบด้วยดอกประทุมชาติ คือบานเหมือนดอกบัวที่บานแล้วเต็มที่ ในช่วงที่
พระองค์ทรงประกอบความเพียรอยู่ ยังไม่ได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณก็เปรียบเหมือนดอกบัวที่ยังตูมอยู่ แต่
เมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้ว จึงเปรียบเสมือนดอกบัวที่บานแล้ว
และการที่นำเอาดอกบัวบานมาเทียบความหมายแห่งคำว่าพุทโธนั้น ก็เพราะเหตุว่าในช่วง
ปฐมกัปซึ่งมีแผ่นดินตั้งขึ้นใหม่ ๆ มีกอบัวเกิดขึ้นพร้อมทั้งมีดอก 5 ดอก ท้าวสุทธาวาสพรหมหยั่งรู้ว่านี้เป็น
นิมิตว่า ในกัปนี้จะมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัสโปรดเวไนยสัตว์ 5 พระองค์ จึงกล่าวคำว่า “นะ, โม, พุท,
ธา ยะ” ไว้ นะ คือ พระกกุสันโธ โม คือ พระโกนาคมนะ, พุท คือ พระพุทธกัสสปะ, ธา คือ พระสมณโคดม
และ ยะ คือ พระศรีอาริยเมตไตรย์
9) อธิบายพุทธคุณบทว่า ภควา
คำว่า ภควา แปลได้หลายนัย แปลว่า “หัก” ก็ได้ แปลว่า “แจก” ก็ได้
ที่ว่า หัก นั้น หมายความว่า พระองค์หักเสียได้ซึ่งสังสารจักรกล่าวคือ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน
กรรมอันเป็นเสมือนตัวจักรที่พัดผันส่งต่อไปยังกันและกัน เป็นกำลังดันให้หมุนเวียนวนว่ายอยู่ในวัฏสงสาร
มิให้ออกจากภพ 3 พระองค์หักเสียได้แล้ว พระองค์จึงพ้นไปจากภพทั้ง 3 คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ
เสด็จออกสู่นิพพานไป
1
สุมังคลวิลาสินี อรรถกถาทีฆนิกาย สีลขันธวรรค, อรรถกถาพรหมชาลสูตร, มก.เล่ม 11 หน้า 151.
รศ.ฟื้น ดอกบัว (2539), ศาสนาเปรียบเทียบ, หน้า 195.
3 รศ.ฟื้น ดอกบัว (2539), ศาสนาเปรียบเทียบ, หน้า 203.
4 พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค 1, มก. เล่ม 6 ข้อ 8 หน้า 30.
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) (2538), พระธรรมเทศนา 69 กัณฑ์, กัณฑ์ที่ 2 พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ
พระสังฆคุณ หน้า 48.
106 DOU บ ท ที่ 5 พ ร ะ พุ ท ธ : พ ร ะ สัมมา สัมพุทธเจ้า