ข้อความต้นฉบับในหน้า
ๆ
พอดี คือมีสติดี ไม่ทำจนเลยเถิดไปจนเกิดความเสียหาย การรู้จักความพอดีนั้นสำคัญ แม้แต่
รับประทานอาหารหากกินมากจนเกินความพอดีก็จะอึดอัดทุกข์ทรมาน ไม่สบาย การปฏิบัติธรรมหรือ
ทำงานต่าง ๆ ก็เช่นกัน หากหักโหมเกินไปก็จะเกิดความเหนื่อยล้าไม่เป็นผลดี จะเข้าข่ายอัตตกิลมถานุโยค
คือ ปฏิบัติลำบากหรือการทรมานตนไป แต่ถ้าหย่อนยานจนเกินไป ก็จะเข้าข่ายกามสุขัลลิกานุโยค คือ ปล่อย
ไปตามกิเลสกาม ก็ไม่ได้ผลเช่นกัน ดังนั้นต้องยึดเอาความพอดีเป็นหลัก หรือที่เรียกว่าทางสายกลางคือ
มัชฌิมาปฏิปทา
โดยสรุปวิธีการศึกษาพระพุทธศาสนาที่กล่าวมาข้างต้นมี 4 ประการคือ สัปปุริสสังเสวะ คือ หา
ครูดีให้พบ (Who), สัทธรรมสวนะ คือ ฟังคำครูให้ชัด (What), โยนิโสมนสิการ คือ ตรองคำครูให้ลึก (Why)
และธัมมานุธัมมปฏิปัตติ คือ ทำตามครูให้ครบ (How).
นอกจากในพระพุทธศาสนาแล้ว What, Why และ How ก็เป็นคำถามที่นักวิทยาศาสตร์มักใช้
ถามตัวเองเวลาศึกษาทางวัตถุ โดยเฉพาะนักวิทยาศาสตร์ที่เก่ง ๆ ทั้งหลาย แม้แต่สตีเฟน ฮอว์กิ้ง (Stephen
William Hawking) ที่ถือกันว่าเป็นนักทฤษฎีฟิสิกส์ที่ฉลาดที่สุดในปัจจุบัน
สตีเฟน ฮอว์กิ้ง กล่าวไว้ว่า “เป้าหมายของผมคือ การค้นหาคำตอบที่ชัดเจนแจ่มแจ้งว่า เอกภพ
คืออะไร และทำไมต้องมีเอกภพ” และเคยกล่าวไว้ว่า “เด็กทุกคนมักตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พบเห็น
อยู่รอบ ๆ ตัว ถามว่ามันคืออะไร (What) ทำไมต้องเป็นอย่างนั้น (Why) มันเกิดขึ้นได้อย่างไร (How) แต่
เมื่อพวกเขาเติบโตขึ้นกลับถูกสั่งสอนว่าคำถามเหล่านี้เป็นเรื่องโง่เขลาหรือไม่พวกเขาก็ไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน
ตัวผมเองเป็นแค่เด็กที่ไม่ยอมโต ผมยังคงตั้งคำถามอยู่เสมอว่า ทำไม และ อย่างไร ซึ่งบางครั้งทำให้ผม
พบคำตอบที่ชัดเจน”
แต่ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์โดยส่วนใหญ่ขาดหลักปฏิบัติที่สำคัญคือ การนั่งสมาธิเจริญภาวนา
จึงไม่อาจเข้าถึงความจริงของโลกและชีวิตได้อย่างแจ่มแจ้งเหมือนกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือพระ
อรหันตสาวกทั้งหลาย
กิจกรรม
หลังจากนักศึกษาได้ศึกษา บทที่ 2 ความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา จบโดยสมบูรณ์แล้ว
โปรดทำแบบประเมินตนเองหลังเรียนบทที่ 2 ในแบบฝึกปฏิบัติบทที่ 2
แล้วจึงศึกษาบทที่ 3 ต่อไป
1
Stephen William Hawking (1988), A Brief History of Time : ประวัติย่อของกาลเวลา แปลโดย รอฮีม
ปรามาก (2546), หน้า 240, 248-249.
32 DOU บ ท ที่ 2 ค ว า ม รู้ ทั่ ว ไ ป ท า ง พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า
ท