การดับตัณหาและนิพพานในพระพุทธศาสนา GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 159
หน้าที่ 159 / 270

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการดับตัณหาผ่านคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยยกตัวอย่างการเปรียบเทียบตัณหากับทะเลที่ไม่มีวันเต็ม การเข้าถึงพระนิพพานนั้นถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สอุปาทิเสสนิพพาน และ อนุปาทิเสสนิพพาน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการคลายจากตัณหาที่ทำให้เกิดทุกข์ การเรียนรู้และเข้าใจในธรรมะนั้นช่วยให้เรามีความสุขและใจสงบขึ้นได้จริง.

หัวข้อประเด็น

-การดับตัณหา
-นิพพาน
-ทุกขนิโรธอริยสัจ
-คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
-การมองโลกในแง่บวกและแง่ลบ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เรื่อยไป พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า “ภูเขาทองคำล้วน มีสีสุกปลั่ง ถึงสองเท่า ก็ยังไม่พอแก่บุคคล คนหนึ่ง” 1 ตัณหาจึงเปรียบเสมือนทะเลเพราะให้เต็มได้ยาก เรามักถูกสอนให้มองด้านดีว่า แก้วน้ำที่มีน้ำอยู่ครึ่งแก้วนั้น มีน้ำเหลือตั้งครึ่งแก้ว มากกว่าที่ มองว่าน้ำหายไปครึ่งแก้ว แต่จะมองด้านไหนก็ตาม ก็ทำให้เราคิดว่า ยังขาด ยังพร่อง ยังต้องการน้ำมา เติมให้เต็ม ตลอดชีวิตที่ผ่านมา เราจะรู้สึกว่า เรายังมีไม่พอ ต้องมีนั่น มีนี่เสียก่อน แล้วเราจะอิ่ม จะเต็ม สิ่งหนึ่งที่เราไม่เคยถูกสอนก็คือ ไม่ว่าเราจะพัฒนาความสามารถในการหาเงิน หาของ หาความรัก ได้มากสักเท่าไรก็ตาม น้ำในแก้วไม่มีวันเต็ม เพราะความอยากในใจเราไม่เคยหยุด แก้วของเราจะโตขึ้น เรื่อย ๆ ไม่เคยพอ 3) ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ “ความดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่งตัณหา” คำว่า นิโรธ แปลว่า ดับ ทุกขนิโรธอริยสัจ จึงมีความหมายว่า “ความจริงอันประเสริฐเรื่องการดับทุกข์” นิโรธเป็นไวพจน์ ของ “พระนิพพาน” กล่าวคือ เป็นคำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกัน ดังอรรถกถาที่ว่า “อเสสวิราคนิโรโธ ความดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือเป็นต้น ทั้งหมดเป็นไวพจน์ของ พระนิพพาน ตัณหามาถึงพระนิพพานย่อมคลาย ดับไม่เหลือ พระนิพพานจึงเรียกว่า ความดับ ด้วยคลาย ไม่เหลือแห่งตัณหานั้น อนึ่ง ตัณหามาถึงพระนิพพาน ย่อมละ สละคืน ปล่อย ไม่ติด พระนิพพานจึงเรียกว่า เป็นที่ละ สละ ปล่อย ไม่ติด แท้จริง พระนิพพานก็มีอย่างเดียวเท่านั้นแต่ชื่อของพระนิพพานนั้นมีมาก...” พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแบ่งนิพพานออกเป็น 2 ประการ คือ สอุปาทิเสสนิพพาน และ อนุปาทิเสสนิพพาน (1) สอุปาทิเสสนิพพาน หมายถึง ภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์ มีสังโยชน์ในภพนี้สิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ เป็นผู้มีราคะ โทสะ และโมหะสูญสิ้นแล้ว แต่ยังเป็นผู้เสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจ และไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่ เพราะความที่อินทรีย์ 5 ยังไม่บุบสลาย พระเดชพระคุณภาวนาวิริยคุณ อธิบายสอุปาทิเสสนิพพานไว้ว่า เป็นพระนิพพานในตัว บางครั้งก็เรียกว่า “นิพพานเป็น” หมายความว่า ในขณะที่อาสวะกิเลสสูญสิ้นไปหมดแล้ว แต่ยังมีชีวิตอยู่ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค, รัชชสูตร, มก. เล่ม 25 ข้อ 477 หน้า 53. ฐิตินารถ ณ พัทลุง (2530), เข็มทิศชีวิต, หน้า 78-79. * พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค, ตถาคตสูตร, มก. เล่ม 31 ข้อ 1665 หน้า 421. - ไวพจน์ แปลว่า คำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกัน หรือใกล้เคียงกันมาก เช่น มนุษย์กับคน บ้านกับเรือน รอกับคอย ป่ากับดง (ราชบัณฑิตยสถาน (2525). พจนานุกรม. (ฉบับอิเล็กทรอนิกส์).] บ 5 สุมังคลวิลาสินี อรรถกถาทีฆนิกาย มหาวรรค, อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร, มก. เล่ม 14 หน้า 357-359. * พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ, ธาตุสูตร, มก. เล่ม 45 หน้า 304 บ ท ที่ 6 พ ร ะ ธ ร ร ม : คำสั่ ง ส อ น ข อ ง พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เจ้า DOU 149
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More