เนมิตกนามและพระรัตนตรัยในพระพุทธศาสนา GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 82
หน้าที่ 82 / 270

สรุปเนื้อหา

เนมิตกนาม คือ ชื่อที่เกิดจากเหตุการณ์ที่เชื่อมโยงกับพระรัตนตรัย เช่น พุทฺโธ, ธมฺโม และสงฺโฆ ซึ่งแต่ละชื่อสื่อถึงคุณสมบัติเฉพาะของพระพุทธเจ้าที่ยิ่งใหญ่และอุดมด้วยความบริสุทธิ์ ศึกษาเนมิตกนามจากประวัติศาสตร์ เช่น พระนางมัลลิกาที่ได้ชื่อจากดอกมะลิ นอกจากนี้ พระรัตนตรัยภายในมีลักษณะที่ใสบริสุทธิ์ เหมือนแก้ว ซึ่งช่วยให้เราเป็นคนดีและเพียบพร้อมได้

หัวข้อประเด็น

-เนมิตกนาม
-พระรัตนตรัย
-คุณสมบัติของพระพุทธเจ้า
-หลักธรรมในพระพุทธศาสนา
-ความสำคัญของพระสงฆ์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

“เนมิตกนาม” คือ “เป็นชื่อที่เกิดขึ้นตามเหตุ” กล่าวคือ เป็นชื่อที่เกิดขึ้นเพราะได้เข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว ดังนี้ พุทฺโธ คือ พระพุทธเจ้า เป็นเนมิตกนาม เกิดขึ้นจาก พุทธรัตนะ ธมฺโม คือ พระธรรม เป็นเนมิตกนาม เกิดขึ้นจาก ธรรมรัตนะ สงฺโฆ คือ พระสงฆ์ เป็นเนมิตกนาม เกิดขึ้นจาก สังฆรัตนะ เนมิตกนามนั้นมีหลากหลาย เช่น เพราะเหตุที่จิตของพระพุทธองค์บริสุทธิ์ผุดผ่อง ปราศจาก กิเลสทั้งมวล จึงได้พระเนมิตกนามว่า “อร” พระสัทธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ มีเหตุผลรับสมกันอยู่เสมอไม่คลาดเคลื่อน จึงสมควรแล้ว ที่ได้พระเนมิตกนามว่า “สัมมาสัมพุทโธ” อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า “สัมมาสัมพุทโธ” เพราะตรัสรู้เองโดยชอบ และสอนให้ผู้อื่นตรัสรู้ตาม ในทางโลกก็มีเนมิตกนาม เช่น พระนางมัลลิกา เหตุที่มีพระนามอย่างนี้เพราะในขณะพระนาง เธอประสูตินั้น มีดอกมะลิร่วงลงมาจากอากาศ พระราชบิดาและพระประยูรญาติถือเอานิมิตดอกมะลินั้น ขนานนามธิดาองค์นั้นว่า มัลลิกา ซึ่งแปลว่า พระนางมะลิ คำว่า มัลลิกา จึงเป็นเนมิตกนาม หลวงปู่วัดปากน้ำกล่าวถึงพระรัตนตรัยภายในไว้ว่า “มีลักษณะใสเป็นแก้วจริง ๆ จึงเรียกว่า รัตนะ” ในหนังสือทิพยอำนาจของมหากุฏราชวิทยาลัยซึ่งเรียบเรียงโดยพระอริยคุณาธาร แห่งวัดเขาสวนกวางจังหวัด ขอนแก่น กล่าวถึงอินทรีย์ของพระอรหันต์ซึ่งเป็นผู้ที่ได้เข้าถึงพระรัตนตรัยภายในไว้ว่า “อินทรีย์ของพระ อรหันต์นั้นแหละ เรียกว่า อินทรีย์แก้ว ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ของท่านเป็นแก้ว คือ ใสบริสุทธิ์ดุจ แก้วมณีโชติ ผู้บรรลุถึงภูมิแก้วแล้ว ย่อมสามารถพบเห็นพระแก้ว คือ พระอรหันต์ที่นิพพานแล้วได้” สำหรับพระรัตนตรัยภายนอกคือ พระพุทธเจ้า พระธรรมคำสอนของพระองค์ และพระสงฆ์ สาวกของพระองค์นั้น เรียกว่า พระรัตนตรัยเหมือนกัน แต่เป็นการเรียกโดยเปรียบว่า ทั้ง 3 อย่างนี้ เปรียบเหมือนแก้ว ทำไมจึงต้องเอา พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์มาเปรียบด้วยแก้ว ที่ต้องเปรียบด้วยแก้ว เพราะแก้วเป็นวัตถุทำความยินดีให้บังเกิดแก่เจ้าของผู้ปกครองรักษา ถ้าผู้ใดมีแก้วมีเพชรไว้ในบ้านใน เรือนมากผู้นั้นก็อิ่มใจดีใจด้วยคิดว่าเราไม่ใช่คนจน แม้คนอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของเห็นแก้วเห็นเพชรเข้าแล้ว ที่จะ ไม่ยินดีไม่ชอบนั้นเป็นอันไม่มี ต้องยินดีต้องชอบด้วยกันทั้งนั้น หลวงปู่วัดปากน้ำกล่าวไว้อีกว่า พระรัตนตรัยภายใน คือ “พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ เป็นตัวจริงของพระพุทธศาสนา เป็นแก่นสารหลักของพระพุทธศาสนาทีเดียว เราเป็นพุทธ 3 1 ราชบัณฑิตยสถาน (2525), พจนานุกรม (ฉบับอิเล็กทรอนิกส์). *พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) (2538), พระธรรมเทศนา 69 กัณฑ์, กัณฑ์ 3 รตนตฺตยคมนปณามคาถา หน้า 65. *พระอริยคุณาธาร (2527), ทิพยอำนาจ, หน้า 507-512 72 DOU บ ท ที่ 4 พระรัตนตรัย : แก่ น ข อ ง พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More