ข้อความต้นฉบับในหน้า
จักไม่แปรปรวน จักมีเมตตาจิต ไม่มีโทสะ เราจักแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคลนั้น และเราจักแผ่เมตตาจิตอัน
ไพบูลย์ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทไปตลอดโลก”
ชาวพุทธได้รับการสั่งสอนสืบต่อกันมาว่า “เวรระงับไม่ได้ ด้วยการจองเวร” บ้าง “พึงสละทรัพย์
เพื่อรักษาอวัยวะ จึงสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต และพึงสละทั้งทรัพย์ อวัยวะ และชีวิตเพื่อรักษาธรรม” บ้าง
ในสมัยพุทธกาลพระเจ้าวิฑูฑภะยกทัพเพื่อไปฆ่าพวกศากยะซึ่งเป็นพระญาติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระญาติเหลานี้เป็นพุทธศาสนิกชน แม้ตนจะต้องตายก็ไม่ฆ่าผู้อื่น ต่างคิดกันว่า “พวกเราแม้มีฝีมือใน
การรบ แต่ไม่อาจปลงสัตว์อื่นจากชีวิตได้” ครั้งนั้นพระเจ้าวิฑูฑภะรับสั่งให้ฆ่าเจ้าศากยะตายเสียจำนวน
มากไม่เว้น ทารกแม้ยังดื่มนม
เหตุที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนเช่นนี้เพราะทรงรู้แจ้งว่า มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายตกอยู่ภายใต้
กฎแห่งกรรมทั้งกรรมในอดีตและกรรมในปัจจุบัน หากทำดีจะได้ดี หากทำชั่วจะได้ชั่ว ดังนั้นจึงต้องอดทน
ทำดีเรื่อยไป ไม่ก่อกรรมทำชั่วเพิ่ม ทุกข์โศกโรคภัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาจากกรรมในอดีตบ้างและใน
ปัจจุบันบ้าง เหตุที่ชาวศากยะต้องถูกฆ่าตายจำนวนมากก็เพราะ ในปางก่อน พวกเจ้าศากยะเหล่านี้ได้
โปรยยาพิษลงในแม่น้ำ ทำให้สัตว์น้ำตายจำนวนมาก ส่วนพระเจ้าวิฑูฑภะนั้นหลังจากฆ่าชาวศากยะตายได้
ไม่นาน ก็ถูกน้ำในแม่น้ำอจิรวดีหลากพัดไปสู่มหาสมุทรและสวรรคตในราตรีต่อมานั้นเอง ทั้งนี้ก็ด้วย
ผลกรรม ที่ได้ฆ่าชาวศากยะในครั้งนั้น
จากที่กล่าวมานี้คือลักษณะพิเศษโดยย่อของพระพุทธศาสนา 4 ประการซึ่งคนทั่วไปสามารถ
สัมผัสได้จากประศาสตร์อันยาวนานกว่า 2,500 ปี
2.6 วิธีการศึกษาพระพุทธศาสนา
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในนิพเพธิกปัญญสูตรว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 4 ประการนี้
อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา เป็นเครื่องชำแรกกิเลส
ธรรม 4 ประการนี้คือ
1) สัปปุริสสังเสวะ การคบสัตบุรุษ
1
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มก. เล่ม 18 ข้อ 272 หน้า 264-265
2
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก มก. เล่ม 62 ข้อ 382 หน้า 634.
3
ธัมมปทัฏฐกถา อรรถกถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท มก. เล่ม 41 หน้า 36-38.
4
ธัมมปทัฏฐกถา อรรถกถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท มก. เล่ม 41 หน้า 39-40.
บ ท ที่ 2
2 ค ว า ม มรู้ทั่วไป ทาง พระ พุ ท ธ ศ า ส น า DOU 25