ความเข้าใจเกี่ยวกับศีลในพระพุทธศาสนา GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 205
หน้าที่ 205 / 270

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับศีลในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะ ปาริสุทธิศีล และการปฏิบัติตามศีล 227 ข้อ. มีการแบ่งประเภทศีลออกเป็นหลายหมวด รวมถึงการอาบัติที่เกิดขึ้นจากการล่วงละเมิดสิกขาบท โดยเน้นความสำคัญของการปฏิบัติตนตามหลักธรรมและวินัยที่ถูกต้อง.

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของศีลในพระพุทธศาสนา
-ประเภทของศีลและอาบัติ
-การปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัย
-การรักษาศีล 227 ข้อ
-คุณค่าของความถูกต้องในอาชีพของสงฆ์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เวลาได้ยินเสียง เวลาดมกลิ่น เวลาสัมผัส เวลาลิ้มรส หรือระลึกถึงอารมณ์ต่าง ๆ 3) อาชีวปาริสุทธิศีล หมายถึง การเลี้ยงชีพชอบ เลี้ยงชีพด้วยวิสัยของสมณะคือการปฏิบัติตน อยู่ในพระธรรมวินัย แล้วอาศัยปัจจัย 4 ที่ญาติโยมถวายด้วยศรัทธาเลี้ยงชีพ ไม่เลี้ยงชีพด้วยการประกอบ อาชีพอย่างฆราวาส หรือไม่หลอกลวงเขาเลี้ยงชีพ กล่าวคือ บวชแล้วไม่ได้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ แต่อาศัย ผ้าเหลืองเพื่อเลี้ยงชีพ เป็นต้น 4) ปัจจัยสันนิสสิตศีล หมายถึง ศีลที่ว่าด้วยการให้พิจารณาปัจจัย 4 ก่อนบริโภค คือ จีวร บิณฑบาต ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค โดยให้พิจารณาว่า เราบริโภคสิ่งเหล่านี้เพื่อให้ยังชีพอยู่ได้ จะได้มีเรี่ยวแรง และบำเพ็ญสมณธรรมได้สะดวก ไม่บริโภคด้วยตัณหา ปาริสุทธิศีล 4 นี้ยังมีรายละเอียดอีกมากในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะปาฏิโมกข์สังวรศีลคือศีล 227 สิกขาบทเท่านั้น ปาฏิโมกขสังวรศีล แบ่งออกเป็น 8 หมวดคือ ปาราชิก 4 สิกขาบท, สังฆาทิเสส 13 สิกขาบท อนิยต 2 สิกขาบท, นิสสัคคิยปาจิตตีย์ 30 สิกขาบท, ปาจิตตีย์ 92 สิกขาบท, ปาฏิเทสนียะ 4 สิกขาบท เสขิยวัตร 75 สิกขาบท และอธิกรณสมถะ 7 สิกขาบท รวมทั้งหมดเป็น 227 สิกขาบท คําว่า สิกขาบท มาจาก สิกขา + บท “บท” คือ ข้อ และ “สิกขา” คือ ศึกษา สิกขาบทจึงแปลว่า ข้อศึกษา หมายถึง ศีลแต่ละข้อนั่นเอง สิกขาบทเหล่านี้จะเรียงลำดับจากโทษหนักไปหาโทษเบา กล่าวคือ ปาราชิกมีโทษหนักที่สุด ส่วน สิกขาบทอื่นจะมีโทษลดหย่อนลงมาเรื่อยๆ โดยเสขิยวัตรจะมีโทษเบาที่สุด ส่วนอธิกรณสมถะนั้นเป็นวิธี ระงับอธิกรณ์ ไม่ได้มีการกำหนดโทษเหมือนสิกขาบทหมวดอื่น เพราะไม่ได้เป็นสิกขาบทที่ต้องถือปฏิบัติ โดยทั่วไปแต่จะใช้เฉพาะการระงับอธิกรณ์หรือคดีความที่เกิดขึ้นเท่านั้น 1) ปาราชิก แปลว่า ผู้พ่ายแพ้ พ่ายแพ้ในที่นี้คือพ่ายแพ้ต่อเส้นทางของนักบวชเพราะปาราชิก เป็นสิกขาบทหนักที่ภิกษุใดล่วงละเมิดจะขาดจากความเป็นภิกษุทันที ไม่ว่าจะมีผู้อื่นรู้หรือไม่รู้ก็ตาม แม้ยัง ครองผ้าเหลืองอยู่ก็ถือว่าไม่ได้เป็นพระภิกษุแล้ว แต่เป็นฆราวาสที่เอาผ้าเหลืองมาห่อไว้เท่านั้น ดังนั้นผู้ที่ ล่วงละเมิดสิกขาบทปาราชิกเข้าแล้วจึงต้องลาสิกขาออกไป และจะไม่ได้รับอนุญาตให้บวชเป็นภิกษุอีก การล่วงละเมิดหรือทำผิดสิกขาบทแต่ละข้อเรียกว่า “อาบัติ” หรือ “ต้องอาบัติ” ผู้ที่ล่วงละเมิด สิกขาบทปาราชิกก็จะเรียกว่า “ต้องอาบัติปาราชิก” จะเห็นว่าสิกขาบทปาราชิกนั้นมีชื่อสิกขาบทกับชื่อ อาบัติเหมือนกัน แต่บางสิกขาบท เช่น หมวดเสขิยวัตรนั้นชื่อสิกขาบทกับชื่ออาบัติไม่เหมือนกัน กล่าวคือ หมวดเสขิยวัตรมีชื่ออาบัติว่า “ทุกกฎ 2) สังฆาทิเสส แปลว่า สิกขาบทที่ต้องอาศัยสงฆ์ในกรรมเบื้องต้นและกรรมที่เหลือ หมายความ ว่าเป็นสิกขาบทที่ภิกษุผู้ล่วงละเมิดเข้าแล้วจะต้องอาศัยสงฆ์ช่วยจัดการแก้ไขให้ สังฆาทิเสสนั้นมีโทษหนัก รองลงมาจากปาราชิก ผู้ล่วงละเมิดไม่ถึงกับขาดจากความเป็นภิกษุ ยังสามารถแก้ไขได้ ส่วนผู้ที่ต้องอาบัติ ปาราชิกไม่สามารถแก้ไขได้ บทที่ 7 พระสงฆ์ : ส า ว ก ข อ ง พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เจ้า DOU 195
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More