ข้อความต้นฉบับในหน้า
บุญกิริยาวัตถุสามารถจัดเข้าในไตรสิกขาได้ดังนี้
บุญกิริยาวัตถุ
ทานมัย 0-
สีลมัย ๐
ภาวนามัย
-°
ไตรสิกขา
ศีลสิกขา
• จิตสิกขา
ปัญญาสิกขา
เหตุที่จัดทานอยู่ในปัญญานั้น เพราะว่าในสัมมาทิฏฐิระดับโลกิยะข้อที่หนึ่งคือ มีความเห็นชอบ
ว่าการให้ทานมีผล เมื่อมีความเห็นชอบอย่างนี้จึงเป็นเหตุให้บุคคลแต่ละคนให้ทานได้ ซึ่งสัมมาทิฏฐินี้จัดอยู่
ในหมวดปัญญาของไตรสิกขานั่นเอง
ส่วนสีลมัยนั้นสงเคราะห์เข้ากับศีลสิกขาได้โดยตรง สำหรับภาวนามัยสงเคราะห์เข้าในจิตสิกขา
เพราะจิตสิกขาก็คือการเจริญสมาธิภาวนานั่นเอง ส่วนปัญญานั้นก็เป็นผลที่เกิดจากการเจริญสมาธิภาวนา
จะเห็นว่า เมื่อได้ปฏิบัติทาน ศีล ภาวนา ก็เท่ากับว่าได้ปฏิบัติไตรสิกขา หรือมรรคมีองค์แปดไปในตัว
บุญกิริยาวัตถุ และ ไตรสิกขานี้เมื่อบุคคลได้บำเพ็ญแล้วจะเรียกว่าได้สร้าง “กุศลกรรม” ทั้งทาง
กาย ทางวาจา และทางใจ
2) ความสัมพันธ์ของบุญกิริยาวัตถุกับบารมี 10 ทัศ
บารมีก็คือบุญ แต่เป็นบุญที่เข้มข้นมาก กล่าวคือ บุญที่เราทำในแต่ละวันจะค่อย ๆ รวมตัวกัน
มากขึ้นเรื่อย ๆ และจะกลั่นตัวเป็นบารมี หรืออีกนัยหนึ่งบารมีคือการสร้างบุญโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน
จึงทำให้ได้บุญที่ได้มีความเข้มข้นกว่าบุญทั่ว ๆ ไป บุญชนิดนี้จึงเรียกว่าบารมี
การสร้างบุญกิริยาวัตถุคือทาน ศีล ภาวนาโดยเอาชีวิตเป็นเดิมนั้น เท่ากับว่าได้สร้างบารมีครบทั้ง
10 ทัศไปในตัวดังภาพแสดงความพันธ์ต่อไปนี้
บุญกิริยาวัตถุ
บารมี 10 ทัศ
ทานมัย ๐-
-o
ทานบารมี
เมตตาบารมี
อุเบกขาบารมี
สีลมัย 0-
0
ศีลบารมี
- ภาวนามัย 0-
-0
เนกขัมมบารมี
0
ปัญญาบารมี
4
วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี
บทที่ 6 พระ ธ ร ร ม : คำสั่ง ส อ น ข อ ง พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เจ้า
DOU 159