ข้อความต้นฉบับในหน้า
ทับกันอยู่เป็นชั้น ๆ สลับกับดวงบุญ เพราะในแต่ละวันมนุษย์แต่ละคนจะทำบาปบ้างบุญบ้างสลับกันไป
(3) การส่งผลของบุญและบาป
บุญและบาปอันเกิดจากกรรมที่เราทำจะติดตามเราไปข้ามภพข้ามชาติเปรียบประดุจเงาที่
ตามตัวเราไปทุกที่ และจะส่งผลให้เรามีวิถีชีวิตไปตามกรรมที่ทำไว้ และด้วยเหตุที่บุคคลแต่ละคนทำ
กรรมมาแตกต่างกัน จึงส่งผลให้มีชีวิตที่แตกต่างกัน ทั้งด้านรูปร่าง หน้าตา อายุ ผิวพรรณ ตำแหน่งหน้าที่
การงาน ทรัพย์สมบัติ รวมทั้งความสุขและความทุกข์ด้วย
ถ้าผู้ใดสร้างอกุศลกรรมไว้มากและก่อนตายมีจิตเศร้าหมองเพราะบาปเหล่านั้น จะต้องไป
อบายภูมิ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย หรือสัตว์ดิรัจฉาน ต้องทุกข์ทรมานอยู่ในอบายภูมิยาวนาน เมื่อได้
กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกเศษกรรมใดยังเหลืออยู่ก็จะส่งผลให้ชีวิตเป็นไปในลักษณะต่าง ๆ เช่น พิการ ตาบอด
หูหนวก เป็นใบ้ ปัญญาอ่อน ฯลฯ นี้เป็นผลมาจากบาปทั้งสิ้น
ๆ
ส่วนบุคคลใดที่สั่งสมกุศลกรรมไว้มาก สร้างบุญไว้มาก และก่อนตายมีจิตผ่องใสเพราะ
นึกถึงบุญได้ ก็จะได้ไปเกิดยังสวรรค์ หรือพรหมโลกก่อน และจะมีความแตกต่างกันทั้งเรื่องทิพยสมบัติ รัศมี
ผิวพรรณ อำนาจ และอายุ ฯลฯ คล้าย ๆ กับในโลกมนุษย์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกุศลกรรมที่ทำไว้ในอดีตนั่นเอง
เมื่อหมดบุญที่จะอยู่ในเทวโลกหรือพรหมโลกแล้วก็จะจุติมาเกิดในกำเนิดอื่นต่อไป แต่จะไปเกิดเป็นอะไรนั้น
ก็แล้วแต่กรรมจะจัดสรรอย่างไร เช่น อาจจะได้มาเกิดเป็นมนุษย์ หรือเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ ขึ้นอยู่กับว่า
บุญหรือบาปจะมีโอกาสได้ส่งผลก่อน
การเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารนี้ทุกคนถูกกิเลสคืออวิชชาครอบงำทำให้ไม่รู้ว่า มีการ
เกิดตายหลายชาติ มีการเสวยกรรมที่ทำด้วยโลภะ โทสะ โมหะ พวกเราเหมือนถูกหลอกกันตั้งแต่ลืมตา
ดูโลกว่า ชีวิตนี้มีครั้งเดียว เพราะฉะนั้นอยากได้อะไรก็รีบ ๆ โกยเสียจากชีวิตนี้ อย่ารีรอ อย่าเห็นใจใคร
มากกว่าตนเอง
ๆ
ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบ เต็มใจหรือไม่เต็มใจ แต่ชาวโลกทั้งหลายกำลังเล่นเกมแห่งความ
ไม่รู้กันอยู่ ในเกมนั้นเต็มไปด้วยกฏ เต็มไปด้วยเงื่อนสลับซับซ้อน และเต็มไปด้วยการให้รางวัลและการ
ลงโทษทุกแบบทุกระดับ
ความไม่รู้ว่ากรรมดีทำให้เป็นสุข กรรมชั่วทำให้เป็นทุกข์ ส่งผลให้เราทำกรรมดีบ้างชั่วบ้าง
เพียงเพื่อตอบโต้สถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นเฉพาะหน้า เหมือนเด็กไร้เดียงสาที่อาจเอาตะปูแหย่รูปลั๊กได้ทุก
เมื่อ โดยไม่ทราบว่ามหันตภัยชนิดใดรออยู่ในนั้น
การส่งผลของบุญและบาปจะอธิบายโดยย่อแค่นี้ก่อน และจะขยายความเพิ่มเติมในบทที่ 6
หัวข้อ 6.7 กฎแห่งกรรมในพระพุทธศาสนา แต่นักศึกษาจะได้เรียนเรื่องนี้อย่างละเอียดในวิชากฎแห่ง
กรรมต่อไป
ดังตฤณ (2548), เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน, หน้า 122-123.
58 DOU บ ท ที่ 3 ธ ร ร ม ช า ติ ข อ ง ชี วิ ต ท า ง พระ พุ ท ธ ศ า ส น า
บ