ข้อความต้นฉบับในหน้า
พระอรหัตตผล เพราะฉะนั้น สังฆรัตนะจึงเป็นพระอริยสงฆ์ ไม่ได้หมายถึงพระภิกษุปุถุชนทั่ว ๆ ไป ซึ่งเรียกว่า
พระสมมติสงฆ์ อันเป็นพระสงฆ์โดยสมมติ พระอริยสงฆ์ที่ชาวพุทธรู้จักกันทั่วไปในสมัยพุทธกาล ได้แก่ พระ
สารีบุตรเถระ พระมหาโมคคัลลานเถระ พระอานนท์เถระ พระอนุรุทธเถระ ฯลฯ
4.2 ประเภทของพระรัตนตรัย
พระรัตนตรัยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ พระรัตนตรัยภายนอกและพระรัตนตรัยภายใน คนส่วนใหญ่
มักเข้าใจกันว่า พระรัตนตรัยหมายเอาเฉพาะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดา พระธรรมคือคำสอนของ
พระองค์ และพระสงฆ์คือพระอริยสงฆ์และสมมุติสงฆ์เท่านั้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงพระรัตนตรัยภายนอก
ความจริงยังมีพระรัตนตรัยภายในซึ่งมีอยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนชาติใดศาสนาใดก็ตามต่าง
ก็มีพระรัตนตรัยอยู่ในตัวทั้งสิ้น
พระรัตนตรัยภายนอกซึ่งชาวพุทธและคนทั่วไปรู้จักกันนั้นจะอธิบายในบทที่ 5, 6 และ บทที่ 7 ใน
บทนี้จะขยายความเรื่องพระรัตนตรัยภายในก่อนดังนี้
พระรัตนตรัยภายในประกอบด้วย พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ หลวงปู่วัดปากน้ำ
ภาษีเจริญได้อธิบายเรื่องพระรัตนตรัยภายในไว้อย่างชัดเจนดังนี้
พุทธรัตนะ คือ ธรรมกาย หมายถึง กายตรัสรู้ธรรมที่มีอยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคน ธรรมกายนี้
เป็นผู้ตรัสรู้อริยสัจ 4 ได้แก่ รู้ทุกข์, รู้เหตุของทุกข์หรือสมุทัย, รู้ความดับทุกข์หรือนิโรธ และ รู้เหตุของ
ความดับทุกข์หรือมรรคมีองค์ 81
ธรรมกายมีรูปเหมือนพระปฏิมากรเกตุดอกบัวตูม ใสเหมือนกระจกคันฉ่องส่องดูเงาหน้า
ได้ลักษณะมหาบุรุษครบทั้ง 32 ประการ งดงามไม่มีที่ติ
ธรรมรัตนะ คือ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย อยู่ศูนย์กลางกายพุทธรัตนะนั้น มีหน้าที่รักษา
พุทธรัตนะไว้ ธรรมรัตนะมีลักษณะเป็นดวง กลมรอบตัว และใสเหมือนกับธรรมกาย
สังฆรัตนะ คือ ธรรมกายละเอียดที่อยู่ในกลางธรรมรัตนะ มีหน้าที่รักษาธรรมรัตนะไว้
สำหรับธรรมกายที่เป็นตัวพุทธรัตนะข้างต้นนั้นเรียกว่า “ธรรมกายหยาบ”
ธรรมกายหยาบเป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะทั้งหลาย กล่าวคือ เมื่อเข้าถึงธรรมกายหยาบคือพุทธรัตนะ
แล้ว จะทำให้เข้าถึงธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะด้วย เพราะรัตนะทั้ง 3 ประการนี้เป็นหนึ่งเดียวกัน อาศัย
ซึ่งกันและกัน ไม่อาจจะแยกจากกันได้
รัตนะทั้ง 3 นี้เป็นพระรัตนตรัยที่แท้จริง และเป็นเหตุให้เกิดพระรัตนตรัยภายนอกซึ่งเป็นเพียง
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) (2538), พระธรรมเทศนา 69 กัณฑ์, กัณฑ์ 31 รัตนสูตร หน้า 381 และ กัณฑ์ 14
เขมาเขมสรณที่ปิคาถา หน้า 173-174.
- พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) (2538), พระธรรมเทศนา 69 กัณฑ์, กัณฑ์ 29 ภัตตานุโมทนากถา หน้า 343.
บ ท ที่ 4
4 พ ร ะ รั ต น ต ร ย : แ ก่ น ข อ ง พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า DOU 71