ข้อความต้นฉบับในหน้า
พอถูกส่วนก็จะเข้าถึงดวงธรรม 6 ดวงเช่นกัน แล้วก็จะเข้าถึงกายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหมหยาบ...
กายรูปพรหมละเอียด... กายอรูปพรหมหยาบ.... กายอรูปพรหมละเอียด ... ธรรมกายโคตรภูหยาบ
ธรรมกายโคตรภูละเอียด.... ธรรมกายสกทาคามีหยาบ... ธรรมกายสกทาคามีละเอียด... ธรรมกายอนาคามี
หยาบ..... ธรรมกายอนาคามีละเอียด..... ธรรมกายอรหัตหยาบ..... ธรรมกายอรหัตละเอียด ในแต่ละกาย
เหล่านี้จะมี ดวงธรรม 6 ดวงคั่นอยู่เป็นชั้น ๆ ตามลำดับคือดวงปฐมมรรค ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา
ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
เมื่อเข้าถึงพระธรรมกายแล้วก็ได้ชื่อว่าเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว เพราะพระธรรมกายเป็นบ่อเกิด
แห่งรัตนะทั้งหลายดังได้กล่าวแล้วว่า
พุทธรัตนะ คือ ธรรมกายหยาบ
ธรรมรัตนะ คือ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายหยาบอยู่ ณ ศูนย์กลางธรรมกายนั้น
สังฆรัตนะ คือ ธรรมกายละเอียดที่อยู่อยู่ที่ศูนย์กลางธรรมรัตนะนั้น
พระรัตนตรัยนั้นมีหลายระดับตั้งแต่ธรรมกายโคตรภูจนถึงธรรมกายอรหัต
ตลอดเส้นทางของการปฏิบัติสัมมาสมาธิเพื่อให้เข้าถึงพระรัตนตรัยภายในนั้น สิ่งสำคัญที่ต้องทำ
มีเพียงอย่างเดียวคือ การหยุดใจอย่างสบาย ๆ และต่อเนื่องไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เมื่อหยุดใจได้
ถูกส่วนแล้ว ใจก็จะเคลื่อนเข้าไปภายในเรื่อย ๆ จนเข้าถึงพระธรรมกายในที่สุด
ๆ
แต่การที่ใครจะก้าวขึ้นสู่ความเป็นพระอริยสงฆ์หรือพระอริยบุคคลระดับต่าง ๆ ได้หรือไม่นั้น ก็
ขึ้นอยู่กับบารมีที่สั่งสมมา หากมีบารมีเพียงพอก็สามารถจะบรรลุเป็นพระอริยบุคคลในระดับต่าง ๆ ตั้งแต่
พระโสดาบันขึ้นไปได้ ถ้าบารมียังไม่มากพออย่างน้อย ๆ ก็จะได้เป็นโคตรภูบุคคล คือเข้าถึงและเป็นอัน
หนึ่งอันเดียวกับธรรมกายโคตรภูได้ ซึ่งหลวงปู่วัดปากน้ำยืนยันอยู่เสมอว่า หากเอาจริงคือตั้งใจปฏิบัติ
อย่างจริงจังแล้วจะเข้าถึงได้ทุกคน
ดวงปฐมมรรค แปลว่า หนทางเบื้องต้นมรรคผลนิพพาน คำว่า “ปฐมมรรค” เป็นคำที่ปรากฏ
อยู่ในคัมภีร์โบราณทางพระพุทธศาสนาชื่อ “คัมภีร์มูลกัจจาย” ส่วนในพระไตรปิฎกเรียกดวงปฐมมรรคว่า
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรือ เอกายนมรรค แปลว่า ทางเอกสายเดียว คือ เป็นทางสายเดียวที่จะนำไป
สู่มรรคผลนิพพาน ส่วนทางอื่นไม่อาจไปสู่มรรคผลนิพพานได้
ดวงปฐมมรรคนี้เกิดขึ้นจาก “การประชุมพร้อมกันของมรรคมีองค์ 8 หรือ เรียกว่ามรรคสมังคี
ผู้ที่ทำให้มรรคทั้ง 8 องค์รวมกันเป็นหนึ่งเรียกว่า “บุคคลผู้พรั่งพร้อมมรรคสมังคี” หรือ หากเป็นผู้ที่
เข้าถึงมรรคสมังคีในระดับโลกุตระก็จะเรียกว่า “อริยมรรคสมังคีบุคคล”
1
- ทตตชีโว ภิกฺขุ (2537), ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร, หน้า 170.
อัฏฐสาลินี อรรถกถาธรรมสังคณี, มก. เล่ม 76 หน้า 514.
* พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค, มก. เล่ม 68 ข้อ 147 หน้า 754.
บ ท ที่ 4
4 พ ร ะ รั ต น ต ร ย : แ ก่ น ข อ ง พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า DOU 83