การบวชในพระพุทธศาสนา GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 198
หน้าที่ 198 / 270

สรุปเนื้อหา

การบวชในพระพุทธศาสนาแบ่งออกเป็นสองประเภท ได้แก่ บรรพชา (การบวชเป็นสามเณร) และ อุปสมบท (การบวชเป็นพระภิกษุ) ในสมัยเริ่มต้นของพระพุทธศาสนาไม่มีสามเณร การผนวชครั้งแรกของเจ้าชายสิทธัตถะเป็นการบรรพชาที่เรียกว่า เสด็จออกบรรพชา หลังจากนั้นมีการบวชเป็นสามเณรซึ่งใช้ชื่อว่า บรรพชา สามเณรองค์แรกคือ สามเณรราหุล ซึ่งได้รับพุทธานุญาตในขณะที่พระพุทธเจ้ากลับไปที่กรุงกบิลพัสดุ์ นอกจากนี้ยังมีคำสอนของพระพุทธเจ้าที่กำหนดวิธีการบรรพชาสามเณรตามสูตรต่างๆ

หัวข้อประเด็น

-การบวชในพระพุทธศาสนา
-บรรพชา
-อุปสมบท
-สามเณร
-ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระพุทธศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองไปได้อีกยาวนาน และจะนำความร่มเย็นเป็นสุขมาสู่ตัวท่านและ หลานของท่านตลอดจนสังคมไทยและสังคมโลกด้วย 7.5 การบวชในพระพุทธศาสนา ลูก ในปัจจุบันการบวชในพระพุทธศาสนามี 2 แบบ คือ บวชเป็นสามเณรเรียกว่า “บรรพชา” และ บวชเป็นพระภิกษุเรียกว่า “อุปสมบท” บรรพชา แปลว่า การบวช อรรถกถากล่าวว่า บรรพชา ชื่อว่า ปลอดโปร่ง และไม่มีความห่วงใย ซึ่งตรงข้ามกับชีวิตของฆราวาสที่เป็นทางคับแคบไม่ปลอดโปร่งต่อการสร้างบารมีเพื่อกำจัดกิเลสไปสู่ อายตนนิพพาน อุปสมบท แปลว่า การเข้าถึง หมายถึง การบวชเป็นพระภิกษุและภิกษุณี ในยุคต้นของพระพุทธศาสนาพระสาวกทุกรูปล้วนเป็นพระภิกษุไม่มีพระสาวกที่เป็นสามเณร เมื่อ เจ้าชายสิทธัตถะทรงผนวชนั้นเรียกว่า เสด็จออกบรรพชา ต่อมาในภายหลังมีพุทธานุญาตให้มีการบวช เป็นสามเณร และให้ใช้คำว่า บรรพชา สำหรับการบวชเป็นสามเณร และใช้คำว่า อุปสมบท สำหรับการ บวชเป็นพระภิกษุ สามเณรองค์แรกในพระพุทธศาสนา คือ สามเณรราหุล ท่านได้รับพุทธานุญาตให้บวช เมื่อครั้งที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์เป็นครั้งแรก เพื่อแสดงธรรมโปรดพระพุทธบิดาและพระ ประยูรญาติ ครั้งนั้นพระนางพิมพาทรงแนะให้ราหุลกุมารไปทูลขอสมบัติจากพระพุทธองค์ อันเป็น ขุมทรัพย์คู่บุญที่เกิดขึ้นพร้อมกับการประสูติของพระองค์ พระพุทธองค์ทรงดำริว่า “กุมารนี้อยากได้ทรัพย์อันเป็นสมบัติของบิดา ทรัพย์นั้นไปตามวัฏฏะ มี ความคับแคบ ช่างเถิด เราจักให้อริยทรัพย์ 7 ประการ อันเราได้เฉพาะที่ควงไม้โพธิ์แก่เธอ จะทำเธอให้ เป็นเจ้าของมรดกอันเป็นโลกุตระ” จึงทรงมีพุทธบัญชาให้พระสารีบุตรบรรพชาพระโอรสราหุลเป็นสามเณร ด้วยวิธีไตรสรณคมน์ การบรรพชาด้วยวิธีนี้ ได้ใช้เป็นต้นแบบแห่งการบวชสามเณรตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา 7.5.1 วิธีการบรรพชาเป็นสามเณร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงวิธีการบรรพชาสามเณรไว้ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็แลภิกษุให้กุลบุตร บวชอย่างนี้ ชั้นต้น จึงให้โกนผมและหนวด แล้วให้ครองผ้าย้อมฝาด ให้ห่มผ้าเฉวียงบ่า ให้กราบเท้าภิกษุ ทั้งหลาย ให้นั่งกระโหย่ง ให้ประคองอัญชลี แล้วสั่งว่า จงว่าอย่างนี้ แล้วสอนให้ว่าสรณคมน์” สารัตถปกาสินี อรรถกถาสังยุตตนิกาย, มหาวารวรรคอรรถกถาปติสูตร, มก.เล่ม 31 หน้า 289. - พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) (2548), พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, หน้า 1405. 3 ธัมมปทัฏฐกถา อรรถกถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท, มก. เล่ม 40 หน้า 158. 4 พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค 1, มก. เล่ม 6 ข้อ 118 หน้า 281. 188 DOU บ ท ที่ 7 พระสงฆ์ : ส า ว ก ข อ ง พ ร ะ สัมมา สัมพุทธเจ้า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More