การครองผ้าย้อมฝาดและการห่มผ้าเฉวียงบ่า GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 199
หน้าที่ 199 / 270

สรุปเนื้อหา

การครองผ้าย้อมฝาดและการห่มผ้าเฉวียงบ่า เป็นหลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่สำคัญ การกล่าวคำขอสู่สรณคมน์รวมถึงคำสอนที่ไว้ใจได้ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โดยจะต้องกล่าวถึงสามครั้งเพื่อยืนยันเจตนาอย่างแท้จริง นอกจากนี้ สามเณรจะต้องรับสิกขาบท 10 ประการ อันได้แก่ การเว้นจากการฆ่าสัตว์ การขโมย การกล่าวเท็จ และอื่นๆ เพื่อรักษาความบริสุทธิ์ในชีวิตทางธรรม

หัวข้อประเด็น

-การครองผ้าย้อมฝาด
-การห่มผ้าเฉวียงบ่า
-สรณคมน์
-ไตรสรณคมน์
-สิกขาบท 10 ประการ
-พระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

การครองผ้าย้อมฝาดและการห่มผ้าเฉวียงบ่า คือ การนุ่งห่มผ้าสบงจีวรนั่นเอง การกล่าวคำขอถึงสรณคมน์หรือไตรสรณคมน์คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นั้น พระภิกษุผู้ รับบวชจะกล่าวนำ และผู้ขอบวชจะกล่าวตาม ดังนี้ พุทธ์ สรณ์ คจฺฉามิ แปลว่า ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ธมฺม สรณ์ คจฺฉามิ แปลว่า ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง สงฆ์ สรณ์ คัจฉามิ แปลว่า ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง ทุติยมฺปิ พุทธ์ สรณ์ คจฺฉามิ แปลว่า ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่ 2 ทุติยมฺปิ ธมฺม สรณ์ คจฉามิ แปลว่า ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่ 2 ทุติยมฺปิ สงฆ์ สรณ์ คจฺฉามิ แปลว่า ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่ 2 ตติยมฺปิ พุทฺธ์ สรณ์ คจฺฉามิ แปลว่า ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่ 3 ตติยมฺปิ ธัมม สรณ์ คัจฉามิ แปลว่า ข้าพเจ้าถึงพระธรรม เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่ 3 ตติยมฺปิ สงฆ์ สรณ์ คัจฉามิ แปลว่า ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่ 31 เหตุที่ต้องกล่าวถึง 3 ครั้งเช่นนี้ เพราะบางครั้งผู้ขอบวชอาจเอ่ยปากโดยเผลอสติ หรือกล่าวผิด พลาด ฉะนั้นจะถือคำพูดเพียงครั้งเดียวมาเป็นหลักฐานยืนยันความตั้งใจจริงยังไม่ได้ ต้องกล่าวถึง 3 ครั้ง เป็นการย้ำเจตนาว่า มิได้พูดเพราะเผลอสติ เมื่อกล่าวจบ 3 ครั้ง ถือว่าสำเร็จเป็นสามเณร จากนั้นจึงให้ สามเณรรับสิกขาบท 10 ประการ คือ 1) ปาณาติปาตา เวรมณี แปลว่า เว้นจากการทำสัตว์ที่มีชีวิตให้ตกล่วงไป 2) อทินนาทานา เวรมณี แปลว่า เว้นจากถือเอาพัสดุอันเจ้าของมิได้ให้ 3) อพฺรหฺมจริยา เวรมณี แปลว่า เว้นจากกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ 4) มุสาวาทา เวรมณี แปลว่า เว้นจากการกล่าวเท็จ 5) สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี แปลว่า เว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท 6) วิกาลโภชนา เวรมณี แปลว่า เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล 7) นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนา เวรมณี แปลว่า เว้นจากฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และ ดูการเล่นที่เป็นข้าศึก. 8) มาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฑนวิภูสนฏฐานา เวรมณี แปลว่า เว้นจากการทัดทรงตกแต่ง ด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องลูบไล้ต่าง ๆ 9) อุจจาสยนมหาสยนา เวรมณี แปลว่า เว้นจากที่นั่งและที่นอนอันสูงและใหญ่ 10) ชาตรูปรชตปฏิคฺคหนา เวรมณี แปลว่า เว้นจากการรับทองและเงิน - พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค 1, มก. เล่ม 6 ข้อ 118 หน้า 280-282. 2 วินัยปิฎก มหาวคฺโค, ภาษาบาลี ฉบับสยามรัฐ เล่ม 4 ข้อ 120 หน้า 170. บทที่ 7 พระสงฆ์ : ส า ว ก ข อ ง พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เจ้า DOU 189
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More