วุฒิธรรมและสัตบุรุษในพระพุทธศาสนา GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 36
หน้าที่ 36 / 270

สรุปเนื้อหา

หลักธรรม 4 ประการของพระพุทธศาสนา ได้แก่ สัทธรรมสวนะ, โยนิโสมนสิการ, ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ และการคบสัตบุรุษ ซึ่งช่วยให้ชีวิตเจริญรุ่งเรืองทางโลกและทางธรรม ความสำคัญของสัตบุรุษในฐานะครูที่ดีช่วยให้เราเข้าใจพระธรรมและช่วยพัฒนาตนเองได้อย่างมาก ทั้งยังเป็นบทเรียนที่ทำให้เข้าใจว่าการศึกษาในพระพุทธศาสนานั้นต้องอิงการมีครูผู้รู้ที่สามารถนำทางไปสู่ความจริง การเรียนรู้ที่ถูกต้องและรวดเร็วนั้นมาจากการคบหาสัตบุรุษที่สามารถให้คำแนะนำและแสดงแนวทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ นี่คือเหตุผลที่ทำไมการมีครูดีถึงเป็นสิ่งสำคัญในการฝึกฝนตนเองให้เจริญเติบโตในศาสนา.

หัวข้อประเด็น

-วุฒิธรรม
-สัตบุรุษ
-ครูดี
-การปฏิบัติธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

2) สัทธรรมสวนะ ฟังคำสั่งสอนของท่าน 3) โยนิโสมนสิการ กระทำไว้ในใจโดยอุบายที่ชอบ 4) ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม” หลักธรรม 4 ประการนี้ชาวพุทธรู้จักกันในนามวุฒิธรรม หมายถึง ธรรมให้ถึงความเจริญ กล่าวคือ เมื่อปฏิบัติตามธรรมทั้ง 4 ประการนี้จะทำให้ชีวิตเจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม 2.6.1 สัปปุริสสังเสวะ : การคบสัตบุรุษ สัตบุรุษ แปลว่า คนสงบ คนดี คนมีศีลมีธรรม คำที่มีความหมายใกล้เคียงกันได้แก่ คำว่า กัลยาณมิตร หรือ มิตรดี และคำว่า บัณฑิต หมายถึง คนที่มีจิตใจผ่องใสเป็นปกติ เป็นผู้ที่คิดดี พูดดี ทำดี เป็นปกติ ซึ่ง ตรงข้ามกับคนพาล คือ คนไม่ดีซึ่งมีจิตใจที่ขุ่นมัวเป็นปกติ เป็นคนที่คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่วเป็นปกติ คำว่าสัตบุรุษนี้พระเดชพระคุณพระภาวนาวิริยคุณ รองเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายได้แปลเอาไว้ ด้วยภาษาที่เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่า “ครูดี” กล่าวคือ การจะศึกษาพระพุทธศาสนาก็ดี หรือ การจะศึกษาวิชา ความรู้ใด ๆ ก็แล้วแต่เบื้องต้นจะต้อง “หาครูดีให้พบ” ก่อน คือ ต้องตั้งคำถามว่า “ใคร” หรือ “Who” ที่ จะเป็นครูให้เราได้ เนื่องจากมนุษย์เกิดมาพร้อมกับความไม่รู้ จึงต้องอาศัยครูผู้ลืมตาขึ้นมาเรียนรู้โลกก่อนเป็นผู้สอน ให้การเรียนรู้ ทำให้เราเข้าใจสิ่งที่ศึกษาได้รวดเร็วกว่าการเรียนด้วยตนเอง เปรียบเสมือนการเดินทางไป ในที่แห่งใดแห่งหนึ่งที่เราไม่เคยไปด้วยลำพังตัวเองนั้น ยากที่เราจะคลำทางไปได้ถูกต้อง แม้จะมีแผนที่ หรือตำรานำทางก็ยังยาก แต่หากมีคนที่จัดเจนเส้นทางนำเราไปจะง่ายกว่ามาก นักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบ กฎธรรมชาติใหม่ ๆ จนนำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้าในทางโลกนั้น ก็ไม่ได้ศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองทุกอย่าง แต่เป็นการศึกษาของเก่าแล้วต่อยอดความรู้ออกไปทั้งสิ้น ไอน์สไตน์เคยเล่าไว้ว่า เมื่อเขาอายุได้ 12 ปี ได้ เรียนวิชาเรขาคณิตจากตำราของยูคลิด (Euclid's Geometry) เขาตื่นเต้นและพอใจมาก ถึงกับกล่าวออก มาว่า “ในวัยเด็กผู้ใดไม่เคยเรียนตำราเล่มนี้ ไม่มีทางที่จะเป็นนักสร้างทฤษฎีที่ยิ่งใหญ่ได้” สำหรับวิชาชีวิตคือพระพุทธศาสนานั้นก็ต้องอาศัยครูเหมือนกัน แม้แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์ปัจจุบันเอง ขณะที่ยังเป็นพระโพธิสัตว์ก็ต้องมีครูด้วย เท่าที่ปรากฏอยู่ในพุทธวงศ์พระโพธิสัตว์ของเรา ได้ออกบวชในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ 8 พระองค์ ล่าสุดคือในสมัยของ พระกัสสปพุทธเจ้า ดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า “ครั้งนั้น เราเป็นมาณพปรากฏชื่อว่า โชติปาละ..... ท่านฆฏิการ * พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค มก. เล่ม 31 ข้อ 1653 หน้า 402. * ทวี มุขธระโกษา (2548), นักวิทยาศาสตร์เอกของโลก, หน้า 322 26 DOU บ ท ที่ 2 ความ มรู้ทั่วไป ทาง พระ พุ ท ธ ศ า ส น า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More