ข้อความต้นฉบับในหน้า
ให้ลูกทั้ง 3 คนเพียง 5% เท่านั้น ปัจจุบัน (พ.ศ. 2551) บิลล์ เกตส์มีสินทรัพย์ทั้งหมดประมาณ 58,000 ล้าน
ดอลลาร์ (ประมาณ 1.8 ล้านล้านบาท) เท่ากับว่าเขาจะยกสินทรัพย์ให้มูลนิธิเพื่อการกุศลถึง 55,100 ล้าน
ดอลลาร์ หรือ ประมาณ 1.7 ล้านล้านบาท
มีคนเคยถามบิลล์ เกตส์ว่าทำไมถึงไม่ยกทรัพย์สมบัติทั้งหมดให้กับลูกทั้ง 3 คน เกตส์ตอบว่า เงิน
จำนวนมหาศาลขนาดนี้ หากยกให้ลูกจะไม่ทำให้เกิดประโยชน์แก่สังคมและกับลูกทั้งสาม เพราะปรัชญาใน
การดำรงชีวิตของเขาก็คือ นำทรัพย์สมบัติที่มีคืนให้กับสังคม
มหาเศรษฐีโลกผู้ใจบุญอีกท่านหนึ่งคือวอร์เร็น บัฟเฟ็ทท์ เขาออกมาประกาศในเดือนมิถุนายน พ.ศ.
2549 ว่า จะบริจาคเงินประมาณ 37,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1.158 ล้านล้านบาท) ซึ่งคิดเป็น 85%
ของสินทรัพย์ที่มีอยู่ตอนนั้นให้แก่มูลนิธิการกุศล 5 แห่ง และไม่นานมานี้เขาก็ได้บริจาคเงิน 31,000 ล้าน
ดอลลาร์ให้กับมูลนิธิของบิลเกตส์ไปแล้ว
นอกจากนี้ในสหรัฐอเมริกายังมีมหาเศรษฐีผู้ใจบุญอีกมากมาย เช่น กอร์ดอน มัวร์ และเบตตี้ มัวร์
ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอินเทล, เอลิ และเอดิธ บรอด ผู้ก่อตั้งบริษัทซันอเมริกา, เจมส์ และเวอร์จิเนียร์ สโตเวอร์ส
ผู้ก่อตั้งบริษัทอเมริกาเซนจูรี่, ไมเคิล และซูซาน เดลล์ ผู้ก่อตั้งบริษัทเดลล์ คอมพิวเตอร์, ครอบครัว
วอลล์ตัน แห่งศูนย์การค้าวอลล์มาร์ต, เท็ด เทอร์เนอร์ ผู้ก่อตั้งสำนักข่าวซีเอ็นเอ็น, เจฟฟรี สกอลล์
ผู้ก่อตั้งตัวกลางในการซื้อขายทางอินเทอร์เน็ต ชื่อ อีเบย์ (eBay) จอห์น อาร์ อาล์ม ประธานบริษัทโคคา-
โคลา เอ็นเตอร์ไพรส์ เป็นต้น
นอกจากในสหรัฐอเมริกาแล้วปัจจุบันมหาเศรษฐีทั่วโลกได้ทยอยตั้งมูลนิธิการกุศลของตนเองขึ้นมา
ซึ่งกำลังผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดไปทั่วโลก เช่น ในเยอรมนี ปัจจุบันมูลนิธิของเอกชนในเยอรมนีได้เพิ่มขึ้นจาก
4,000 แห่ง ในปี พ.ศ. 2540 เป็น 13,000 แห่งในปี พ.ศ. 2549 และจากข้อมูลของธนาคารชั้นนำแห่งหนึ่ง
ในสวิตเซอร์แลนด์ ระบุว่าลูกค้าระดับมหาเศรษฐีประมาณ 1 ใน 4 แสดงความจำนงที่จะบริจาคเงินส่วน
หนึ่งเพื่อการกุศล ขณะที่ 40% กำลังพิจารณาในเรื่องนี้ และ 15% เริ่มนำเรื่องบริจาคมาพูดถึงแล้ว
นิตยสารดิ อีโคโนมิสต์ ฉบับวันที่ 25 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ได้ตั้งข้อสังเกตถึงสาเหตุหลัก
ของการให้ของมหาเศรษฐีเหล่านี้ว่าคนรวยมักต้องการตอบแทนต่อบางสิ่งที่ช่วยให้พวกเขาประสบความสำเร็จ
เช่น บริจาคเงินแก่โรงเรียนที่ตนเคยเรียน บางคนให้การสนับสนุนโรงพยาบาลหรือการวิจัยยารักษาโรคซึ่ง
เคยทำร้ายคนใกล้ชิดของพวกเขา หรือบางคนก็ช่วยเหลือประเทศยากจนซึ่งพวกเขาเคยไปเยือน ส่วน
สาเหตุรองของการให้ อาจมาจากมาตรการจูงใจทางภาษี เพราะบางประเทศเงินบริจาคสามารถนำไปหัก
ภาษีเงินได้
27
พิษณุ นิลกลัด (2549), มติชนสุดสัปดาห์ (ออนไลน์),
* ไทยรัฐ (2549), มหาเศรษฐีมะกันบริจาคให้การกุศลแทบหมดตัว (ออนไลน์),
ประชาชาติธุรกิจ (2549), นายทุน นักบุญ ปฏิวัติโลกแห่งการให้ (ออนไลน์),
* ประชาชาติธุรกิจ (2549), นายทุน นักบุญ ปฏิวัติโลกแห่งการให้ (ออนไลน์)
172 DOU บ ท ที่ 6 พระ ธ ร ร ม : คำสั่ง ส อ น ข อ ง พ ร ะ สัมมา สัมพุทธเจ้า